ข้ามไปเนื้อหา

กองทัพอากาศสหรัฐในประเทศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฐานทัพอากาศสหรัฐในประเทศไทย
ส่วนหนึ่งของ สงครามเวียดนาม
กองทัพอากาศสหรัฐในประเทศไทยตั้งอยู่ในประเทศไทย
ฐานดอนเมือง
ฐานดอนเมือง
ฐานโคราช
ฐานโคราช
ฐานนครพนม
ฐานนครพนม
ฐานตาคลี
ฐานตาคลี
ฐานอู่ตะเภา
ฐานอู่ตะเภา
ฐานอุบล
ฐานอุบล
ฐานอุดร
ฐานอุดร
แผนที่หน่วยทหารอากาศสหรัฐในประเทศไทย
วันที่เมษายน พ.ศ. 2504 – 2518
สถานที่
ผล คืนพื้นที่ให้รัฐบาลไทยแล้ว

กองทัพอากาศสหรัฐ ได้เข้ามาตั้งฐานทัพอากาศในประเทศไทยระหว่าง พ.ศ. 2504 ถึง 2518 ในช่วงสงครามเวียดนาม เพื่อใช้เป็นฐานปฏิบัติการโจมตีประเทศเวียดนามเหนือ มีการประมาณการว่าการทิ้งระเบิดกว่าร้อยละ 80 ต่อเวียดนามเหนือมาจากฐานทัพอากาศในประเทศไทย[1] จำนวนทหารอเมริกันภาคพื้นดินสูงสุดในปี พ.ศ. 2511 คือ 11,494 คน และทหารอากาศสูงสุดในปี พ.ศ. 2512 คือ 33,500 จำนวนเครื่องบินสหรัฐในปี พ.ศ. 2512 มีประมาณ 600 เครื่อง[2] นับว่าเป็นฐานปฏิบัติการทางทหารขนาดใหญ่มาก ใหญ่กว่าฐานสหรัฐในเวียดนามใต้เสียอีก จนมีการเปรียบเปรยว่าไทยกลายเป็น เรือบรรทุกเครื่องบินที่ไม่มีวันจม ของกองทัพสหรัฐ[3]

สหรัฐเข้ามาตั้งฐานทัพในประเทศไทยภายใต้ "ข้อตกลงสุภาพบุรุษ" (สัญญาปากเปล่า) ระหว่างไทยและสหรัฐ[1] [2] หน่วยทหารสหรัฐหน่วยแรกเดินทางจากฟิลิปปินส์มาถึงท่าอากาศยานดอนเมืองในเดือนเมษายน พ.ศ. 2501 ตามมาด้วยการลำเลียงวัสดุภัณฑ์และเครื่องจักรหนักจำนวนมากมายังอู่ตะเภาเพื่อนำไปใช้ก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานและฐานทัพอากาศในประเทศไทย ซึ่งในทางนิตินัยถือว่าฐานทัพเหล่านี้เป็นฐานทัพของไทย และมีผู้บังคับการฐานเป็นทหารไทย ด่านเข้าออกฐานทัพถูกควบคุมโดยสารวัตรทหารไทยโดยมีสารวัตรทหารอเมริกันเป็นผู้ช่วยถืออาวุธ แต่หน่วยทหารสหรัฐในไทยรับคำสั่งจากกองบัญชาการของสหรัฐ สหรัฐใช้ฐานทัพในไทย 7 แห่ง คือ ดอนเมือง โคราช นครพนม ตาคลี อู่ตะเภา อุบลราชธานี และอุดรธานี

ช่วยปลายสงครามเวียดนาม รัฐบาลสหรัฐถูกกดดันอย่างหนักจากชาวอเมริกันให้ถอนทหารออกจากเวียดนาม และเมื่อกรุงไซ่ง่อนถูกยึด ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลสหรัฐและรัฐบาลไทยก็ขุ่นมัว ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2518 รัฐบาลสหรัฐประกาศการถอนกำลังพลสหรัฐทั้งหมด (ทหาร 28,000 นาย และอากาศยาน 300 เครื่อง) ออกจากประเทศไทยภายใน 12 เดือน

รายชื่อฐาน

[แก้]
  • ฐานทัพอากาศดอนเมือง (Don Muang Royal Thai Air Force Base) ระหว่าง พ.ศ. 2504–2513
    • หน่วยทหารสหรัฐ: กองยุทธบำรุงที่ 631 (631st Combat Support Group) ระหว่าง พ.ศ. 2505–2513
  • ฐานทัพอากาศโคราช (Korat Royal Thai Air Force Base) ระหว่าง พ.ศ. 2505–2518
    • หน่วยทหารสหรัฐ: กองบินขับไล่ทางยุทธวิธีที่ 388 (388th Tactical Fighter Wing) ระหว่าง พ.ศ. 2508–2518
    • หน่วยทหารสหรัฐ: กองบินลาดตระเวนที่ 553 (553rd Reconnaissance Wing) ระหว่าง พ.ศ. 2510-2514
  • ฐานทัพเรือนครพนม (Nakhon Phanom Royal Thai Navy Base) ระหว่าง พ.ศ. 2505–2519
    • หน่วยทหารสหรัฐ: กองบินปฏิบัติการพิเศษที่ 56 (56th Special Operations Wing) ระหว่าง พ.ศ. 2510–2518
  • ฐานทัพอากาศตาคลี (Takhli Royal Thai Air Force Base)ระหว่าง พ.ศ. 2504–2514; 2515–2517
    • หน่วยทหารสหรัฐ: กองบินขับไล่ทางยุทธวิธีที่ 355 (355th Tactical Fighter Wing) ระหว่าง พ.ศ. 2508–2514
  • สนามบินทหารเรืออู่ตะเภา (U-Tapao Royal Thai Navy Airfield) พ.ศ. 2508–2519
    • หน่วยทหารสหรัฐ: กองบินยุทธศาสตร์ที่ 4258 (4258th Strategic Wing) ระหว่าง พ.ศ. 2509–2513
    • หน่วยทหารสหรัฐ: กองบินยุทธศาสตร์ที่ 307 (307th Strategic Wing) ระหว่าง พ.ศ. 2513–2518
  • ฐานทัพอากาศอุบล (Ubol Royal Thai Air Force Base) ระหว่าง พ.ศ. 2508–2517
    • หน่วยทหารสหรัฐ: กองบินขับไล่ทางยุทธวิธีที่ 8 (8th Tactical Fighter Wing) ระหว่าง พ.ศ. 2508–2517
  • ฐานทัพอากาศอุดร (Udorn Royal Thai Air Force Base) ระหว่าง พ.ศ. 2507–2519
    • หน่วยทหารสหรัฐ: กองบินลาดตระเวนทางยุทธวิธีที่ 432 (432nd Tactical Reconnaissance Wing) ระหว่าง พ.ศ. 2509–2518

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 R. Sean Randolph, The United States and Thailand Alliance Dynamics, 1950 – 1985, (Institute of East Asian Studies, University of California, Berkeley, 1986), Chapter 3, pp. 49 - 81.
  2. 2.0 2.1 จุฬาพร เอื้อรักสกุล, สงครามเวียดนาม[ลิงก์เสีย], สถาบันพระปกเกล้า.
  3. สุรชาติ บำรุงสุข, สุรชาติ บำรุงสุข : 41 ปีแห่งการเคลื่อนไหว (2) ขวาไทย-ฐานทัพฝรั่ง, มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 13 - 19 ตุลาคม 2560, วันพฤหัสที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2560.