กวารีโน กวารีนี
กวารีโน กวารีนี | |
---|---|
เกิด | 17 มกราคม ค.ศ. 1624 โมเดนา ดัชชีโมเดนาและเรจโจ |
เสียชีวิต | 6 มีนาคม ค.ศ. 1683 มิลาน ดัชชีมิลาน | (59 ปี)
สัญชาติ | อิตาลี |
ผลงานสำคัญ |
กามิลโล-กวารีโน กวารีนี (อิตาลี: Camillo-Guarino Guarini หรือ Guarino Guarini; 17 มกราคม ค.ศ. 1624 – 6 มีนาคม ค.ศ. 1683) เป็นสถาปนิกชาวอิตาลีของสถาปัตยกรรมแบบบาโรกแบบพีดมอนต์ นอกจากจะมีผลงานที่ตูรินแล้ว กวารีนียังมีอิทธิพลและผลงานในประเทศอื่น ๆ ในทวีปยุโรปรวมทั้งในประเทศฝรั่งเศส ประเทศโปรตุเกส และซิซิลี
กวารีโน กวารีนีเป็นพระลัทธิเธียไทน์ (Theatine) ในนิกายโรมันคาทอลิก และนอกจากจะเป็นสถาปนิกแล้วกวารีนีก็ยังเป็นนักคณิตศาสตร์ และ นักประพันธ์ด้วย[1][2]
ประวัติ
[แก้]กวารีนีเป็นพระใหม่ในลัทธิเธียไทน์เมื่อปี ค.ศ. 1639 ประจำอยู่ที่สำนักสงฆ์ซานซิลเวสโตรอัลกวีรีนาเล (San Silvestro al Quirinale) ที่กรุงโรมและกลับมาโมดีนาเมื่อปี ค.ศ. 1647 ซึ่งเป็นที่ที่รับการบวชเป็นพระเมื่อปี ค.ศ. 1648 จากนั้นก็ได้รับเลี่อนตำแหน่งขึ้นเป็นลำดับอย่างรวดเร็ว กวารีนีเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีคนแรก ต่อมาก็ได้เป็นผู้ดูแลงาน และในที่สุดก็ได้เป็น provost เมื่อปี ค.ศ. 1654 แต่เจ้าชายอัลฟอนโซ (Alfonso IV d'Este) สนับสนุนพระองค์อื่นจึงตั้งขึ้นเป็น provost แทนกวารีนีผู้ต้องออกจากเมืองโมดีนา ชีวิตในช่วงสองสามปีนี้ไม่มีหลักฐานทางเอกสารบ่งไว้ ในปี ค.ศ. 1656 กวารีนีเป็นสมาชิกของสำนัก Theatine ที่เมืองปาร์มา และกวารีนีก็ได้ไปเยี่ยมเมืองปรากและเมืองลิสบอน ก่อนที่จะพิมพ์หนังสือเรื่อง "La Pietà trionfante" ที่เมืองเมสซีนาในปี ค.ศ. 1660 ซึ่งเป็นเมืองที่กวารีนีเป็นผู้บรรยายคณิตศาสตร์[3]
กวารีนีเขียนหนังสือคณิตศาสตร์ทั้งในภาษาละตินและภาษาอิตาลี รวมทั้ง "Euclides adauctus" ซึ่งเป็นหนังสือเรขาคณิต เมื่อปี ค.ศ. 1665 กวารีนีพิมพ์หนังสือปรัชญาทางคณิตศาสตร์ "Placita Philosophica" ซึ่งเป็นหนังสือที่ "Euclides adauctus" แย้งทฤษฎีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของ นิโคลัส โคเปอร์นิคัสและกาลิเลโอ กาลิเลอี
กล่าวกันว่ากวารีนีได้รับอิทธิพลทางสถาปัตยกรรมมาจากฟรันเชสโก บอร์โรมีนี และว่ากันว่ากวารีนีเป็นสถาปนิกคนแรกให้กับดุ๊กฟีลีแบร์แห่งซาวอย (Philibert of Savoy) กวารีนีออกแบบสิ่งก่อสร้างจำนวนมากทั้งสิ่งก่อสร้างสาธารณะและส่วนบุคคลที่ตูริน รวมทั้งวังหลายวังของดุ๊กแห่งซาวอย, วัดหลวงซานโลเรนโซ (ค.ศ. 1666-ค.ศ. 1680), ชาเปลHoly Shroudที่เป็นที่เก็บ ผ้าห่อพระศพพระเยซูแห่งตูริน (Shroud of Turin) ภายในมหาวิหารเซนต์จอห์นแบ็พทิสต์ที่ตูริน (ค.ศ. 1668) ซึ่งสร้างต่อจากงานที่เริ่มโดยคาร์โล ดิ คาสเตลลามอนเต (Carlo di Castellamonte) วังการิญญาโน (Palazzo Carignano) (ค.ศ. 1679-ค.ศ. 1685) วังรักโกนีจี (Castle of Racconigi) และสิ่งก่อสร้างอีกหลายแห่งทั้งสิ่งก่อสร้างสาธารณะและคริสต์ศาสนสถานที่โมดีนา เมสซีนา เวโรนา เวียนนา ปราก ลิสบอน และปารีส ระหว่างปี ค.ศ. 1657 ถึงปี ค.ศ. 1659 กวารีนีพำนักอยู่ที่ประเทศสเปนเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับสิ่งก่อสร้างแบบมัวร์ ซึ่งกวารีนีนำลักษณะบางอย่างมาใช้ในสิ่งก่อสร้างที่ตูริน ในบรรดาผู้ที่ทำงานสืบต่อจากกวารีนีก็รวมทั้งฟีลิปโป จูวารา (Filippo Juvarra) ผู้เป็นลูกศิษย์ของกวารีนีเองและแบร์นาโด วิตโตเน (Bernardo Vittone) ผู้เป็นลูกศิษย์ของจูวารา ผู้ซึ่งเป็นผู้เขียน "Architettura Civile" เมื่อปี ค.ศ. 1737
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Guarino Guarini. Encyclopædia Britannica on-line
- ↑ O'Connor, John J.; Robertson, Edmund F., "กวารีโน กวารีนี", MacTutor History of Mathematics archive, University of St Andrews.
- ↑ Meek, H.A. (1988). Guarino Guarini and his Architecture. Yale. pp. 6–11, 19. ISBN 0-300-04748-7.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Wittkower, Rudolf (1980). Art and Architecture in Italy, 1600–1750. Pelican History of Art. Penguin. pp. 403–415. ISBN 0-300-07939-7.