ข้ามไปเนื้อหา

กล้วยน้ำว้า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กล้วยน้ำว้า
ต้นกำเนิดลูกผสมMusa acuminata × Musa balbisiana
กลุ่มพันธุ์ปลูกABB Group[1]
พันธุ์ปลูกกล้วยน้ำว้า (CV. Kluai “Namwa”)

กล้วยน้ำว้า เป็นกล้วยพันธุ์หนึ่ง พัฒนามาจากลูกผสมระหว่างกล้วยป่ากับกล้วยตานี บริโภคกันอย่างแพร่หลาย ปลูกง่าย รสชาติดี สำหรับกล้วยน้ำว้าแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ตามสีของเนื้อ คือ น้ำว้าแดง น้ำว้าขาว และน้ำว้าเหลือง คนไทยรับประทานกล้วยน้ำว้าทั้งผลสด ต้ม ปิ้ง และนำมาประกอบอาหาร นอกจากนี้ยังมีกล้วยน้ำว้าดำ ซึ่งเปลือกมีสีครั่งปนดำ แต่เนื้อมีสีขาว รสชาติอร่อยคล้ายกล้วยน้ำว้าขาว สำหรับกล้วยตีบเหมาะที่จะรับประทานผลสด เพราะเมื่อนำไปย่าง หรือต้มจะมีรสฝาด[2]

กล้วยน้ำว้ามีชื่อพื้นเมืองอื่นเช่น กล้วยน้ำว้าเหลือง กล้วยใต้ หรือ กล้วยอ่อง เดิมจัดเป็นชนิด Musa sapientum L. [H][3]

คุณค่าทางอาหารและยา

[แก้]

กล้วยน้ำว้าเมื่อเทียบกับกล้วยหอมและกล้วยไข่ กล้วยน้ำว้าจะให้พลังงานมากที่สุด กล้วยน้ำว้าห่ามและสุกมีธาตุเหล็กในปริมาณสูง ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง ป้องกันโรคโลหิตจาง มีแคลเซียม ฟอสฟอรัส และวิตามินซีช่วยบำรุงกระดูก ฟัน และเหงือกให้แข็งแรง ช่วยให้ผิวพรรณดี มีเบต้าแคโรทีน ไนอาซีนและใยอาหาร ช่วยให้ระบบขับถ่ายคล่องขึ้น กินกล้วยน้ำว้าสุก จะช่วยระบายท้องและสามารถรักษาโรคเลือดออกตามไรฟันในเด็กเล็กได้ ช่วยลดอาการเจ็บคอ เจ็บหน้าอกที่มีอาการไอแห้งร่วมด้วย โดยกินวันละ 4-6 ลูก แบ่งกินกี่ครั้ง ก็ได้ กินกล้วยก่อนแปรงฟันทุกวันจะทำให้ไม่มีกลิ่นปาก และผิวพรรณดี เห็นผลได้ใน 1 สัปดาห์ กล้วยน้ำว้าดิบและห่ามมีสารแทนนิน เพคตินมีฤทธิ์ฝาดสมาน รักษา อาการท้องเสียที่ไม่รุนแรงได้ โดยกินครั้งละครึ่งผล หรือ 1 ผล อาการท้องเสียจะทุเลาลง นอกจากนี้จากการศึกษาวิจัยยังพบว่า มีผลในการรักษาโรคกระเพาะได้อีกด้วย

    • คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยน้ำว้า**
  • น้ำ 75.7 กรัม
  • พลังงาน 85 แคลอรี่
  • โปรตีน 1.1 กรัม
  • ไขมัน 0.2 กรัม
  • คาร์โบไฮเดรต 22.2 กรัม
  • เถ้า 0.8 กรัม
  • แคลเซียม (Ca) 8.0 กรัม
  • เหล็ก (Fe) 0.7 มิลลิกรัม
  • โพแทสเซียม (K) 370 มิลลิกรัม
  • แมกนีเซียม (Mg) 33 มิลิกรัม
  • วิตามินเอ 190 IU
  • วิตามินซี 10 มิลลิกรัม
  • ไทอามีน (Thiamine) 0.05 มิลลิกรัม
  • ไรโบฟลาวิน (Riboflavin) 0.06 มิลลิกรัม
  • ไนอาซีน (Niacin) 0.7 มิลลิกรัม[4]

การแปรรูปกล้วยน้ำว้า

[แก้]

กล้วยน้ำว้าสามารถแปรรูปได้หลากหลาย อย่างกล้วยน้ำว้าสุกสามารถใช้ทำเป็นขนม ของหวานต่าง ๆ เช่น กล้วยเชื่อม กล้วยบวชชี มีลักษณะสีเหลืองทั้งเปลือก และเนื้อ มีรสหวาน เหนียวนุ่ม นำมารับประทานเป็นผลไม้ และทำขนมหวาน แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น กล้วยตาก หรือ ข้าวต้มมัด เป็นต้น

อ้างอิง

[แก้]
  1. กล้วยน้ำว้า กรมส่งเสริมการเกษตร
  2. พันธุ์กล้วยในประเทศไทย, สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 30
  3. เต็ม สมิตินันทน์ ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เก็บถาวร 2010-05-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, พ.ศ. 2549
  4. [1]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  1. กล้วยนํ้าว้า กล้วยใต้ กล้วยอ่อง กล้วยตานีอ่อง กล้วยมะลิอ่อง ผลไม้เครือมากสรรพคุณ