กลุ่มอาการตูแร็ต
กลุ่มอาการตูแร็ต | |
---|---|
ชื่ออื่น | Tourette's syndrome, Tourette's disorder, Gilles de la Tourette syndrome (GTS) |
สาขาวิชา | กุมารเวชศาสตร์, ประสาทวิทยา |
อาการ | การกระตุก[1] |
การตั้งต้น | วัยเด็ก[1] |
ระยะดำเนินโรค | ระยะยาว[2] |
สาเหตุ | พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม[2] |
วิธีวินิจฉัย | ประวัติผู้ป่วยและอาการ[1] |
การรักษา | การให้ความรู้, การบำบัดพฤติกรรม[1][3] |
ยา | โดยปกติไม่มีการรักษา, บางครั้งอาจใช้ยาระงับอาการทางจิตและตัวรับอดรีเนอร์จิก แอลฟา-2เอ[1] |
พยากรณ์โรค | การกระตุกจะลดลงหรือหายไปในช่วงวัยรุ่นตอนปลาย[2] |
ความชุก | ประมาณ 1%[1] |
กลุ่มอาการตูแร็ต (อังกฤษ: Tourette syndrome) เป็นความผิดปกติด้านพัฒนาการระบบประสาทที่พบในวัยเด็ก[4] มีลักษณะอาการกระตุกของกล้ามเนื้อหลายครั้งและการส่งเสียงโดยไม่ได้ตั้งใจอย่างน้อยหนึ่งครั้ง โดยก่อนเกิดการกระตุก ผู้ป่วยจะมีอาการไม่พึงประสงค์ที่เรียกว่า premonitory urge ซึ่งหยุดได้ยาก[5] อาการทั่วไปอื่น ๆ ที่พบได้แก่กะพริบตา ไอ กระแอมและการแสดงสีหน้า[6]
กลุ่มอาการตูแร็ตเป็นหนึ่งในความผิดปกติทางการกระตุก สาเหตุของกลุ่มอาการยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ยังไม่พบวิธีวินิจฉัยที่เฉพาะเจาะจง ดังนั้นบางครั้งจึงมีการวินิจฉัยผิดเป็นความผิดปกติทางการกระตุกอื่น ๆ โดยทั่วไปผู้ป่วยกลุ่มอาการตูแร็ตจะมีอาการกระตุกลดลงเมื่อเป็นวัยรุ่น[7] ในรายที่ผู้ป่วยเป็นผู้ใหญ่มักพบได้น้อย แพทย์มักไม่ให้การรักษาอาการกระตุกเนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีอาการกระตุกเล็กน้อย แต่จะใช้วิธีให้ความรู้และบำบัดพฤติกรรม[1][8] ผู้ป่วยกลุ่มอาการตูแร็ตอาจมีอาการของโรคซนสมาธิสั้นและโรคย้ำคิดย้ำทำร่วมด้วย[9]
ความชุกของกลุ่มอาการตูแร็ตอยู่ที่ประมาณ 1%[1] กลุ่มอาการตูแร็ตเป็นความผิดปกติที่ไม่ส่งผลต่อสติปัญญาและการคาดหมายคงชีพ กลุ่มอาการนี้ตั้งชื่อโดยฌ็อง-มาร์แต็ง ชาร์โก ตามชื่อฌอร์ฌ ฌีล เดอ ลา ตูแร็ต แพทย์ชาวฝรั่งเศส ผู้อธิบายโรคนี้เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1885[10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 Stern JS. "Tourette's syndrome and its borderland" (PDF). เก็บถาวร ธันวาคม 1, 2018 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Pract Neurol. 2018 Aug;18(4):262–70. doi:10.1136/practneurol-2017-001755 PMID 29636375.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Tourette syndrome fact sheet. เก็บถาวร ธันวาคม 1, 2018 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน National Institute of Neurological Disorders and Stroke. July 6, 2018. Retrieved on November 30, 2018.
- ↑ Singer HS. "Tourette syndrome and other tic disorders". Handb Clin Neurol. 2011;100:641–57. doi:10.1016/B978-0-444-52014-2.00046-X PMID 21496613. Also see Singer HS. "Tourette's syndrome: from behaviour to biology". Lancet Neurol. 2005 Mar;4(3):149–59. doi:10.1016/S1474-4422(05)01012-4 PMID 15721825.
- ↑ Jankovic J. Movement Disorders, An Issue of Neurologic Clinics. The Clinics: Radiology: Elsevier, 2014, p. viii
- ↑ Reese, Hannah E.; Scahill, Lawrence; Peterson, Alan L.; Crowe, Katherine; Woods, Douglas W.; Piacentini, John; Walkup, John T.; Wilhelm, Sabine (2014). "The Premonitory Urge to Tic: Measurement, Characteristics, and Correlates in Older Adolescents and Adults". Behavior Therapy. 45 (2): 177–186. doi:10.1016/j.beth.2013.09.002. สืบค้นเมื่อ June 6, 2019.
- ↑ "Tourette syndrome". MedlinePlus. สืบค้นเมื่อ June 6, 2019.
- ↑ "Tourette syndrome". Mayo Clinic. สืบค้นเมื่อ June 6, 2019.
- ↑ Peterson BS, Cohen DJ. "The treatment of Tourette's Syndrome: multimodal, developmental intervention". J Clin Psychiatry. 1998;59 Suppl 1:62–72; discussion 73–74. PMID 9448671. Quote: "Because of the understanding and hope that it provides, education is also the single most important treatment modality that we have in TS." Also see Zinner 2000.
- ↑ O’Rourke, Julia A.; Scharf, Jeremiah; Platko, Jill; Stewart, S. Evelyn; Illmann, Cornelia; Geller, Daniel A.; King, Robert A.; Leckman, James F.; Pauls, David L. (2011). "The Familial Association of Tourette's Disorder and ADHD: the impact of OCD Symptoms". Neuropsychiatric Genetics, Part B. 156 (5): 553–560. doi:10.1002/ajmg.b.31195. สืบค้นเมื่อ June 6, 2019.
- ↑ "Tourette syndrome". Britannica.com. สืบค้นเมื่อ June 6, 2019.