จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กลอนสังขลิก จัดเป็นกลอนชาวบ้านประเภทเพลงเด็ก โดยส่วนใหญ่เป็นบทร้องเล่น ลักษณะเด่นอยู่ที่การส่งสัมผัสไม่เหมือนกับกลอนสุภาพ [1]
กลอนสังขลิกบังคับสัมผัส 2 แห่ง ได้แก่ สัมผัสระหว่างวรรคแรกกับวรรคหลังในบาทเดียวกันแห่งหนึ่ง และสัมผัสท้ายบาทแรกกับท้ายวรรคแรกของบาทต่อไปอีกแห่งหนึ่ง เกี่ยวเนื่องกันไปเรื่อยๆ จนตลอดบท
จำนวนคำในวรรคมีตั้งแต่วรรคละ 3 คำ ถึงวรรคละ 5 คำ กำหนดบาทละ 2 วรรค บทหนึ่งจะมีกี่บาทก็ได้
จากบทร้องเล่นของเด็กไทยสมัยเก่า ในประชุมลำนำ ของ หลวงธรรมาภิมณฑ์
เด็กหัวปลาก
|
|
อยากข้าวเหนียว
|
นอนคนเดียว
|
|
เหนี่ยวไขว่คว้า
|
นอนกะป้า
|
|
ทำโล้เล้
|
นอนกะเจ๊
|
|
เจ๊วุ่นวาย
|
โยเอยโยช้า
|
|
ทำนาหนองปล้อง
|
แม่ควายมีท้อง
|
|
ออกลูกเป็นพันธ์
|
ขนมทอดมัน
|
|
สองอันสิบเบี้ย
|
ไปซื้อไก่เตี้ย
|
|
ทำขวัญต้นโพธิ์
|
ขะโมยลักโถ
|
|
ลักโอท่านไป
|
เขาจับตัวได้
|
|
ที่เมืองดู้ดี้
|
น่าแข้งเป็นฝี
|
|
จมูกเป็นไฝ
|
เขาตีด้วยไม้
|
|
กลัวหรือไม่กลัว
|
ไม้ขมับบับหัว
|
|
กลัวแล้วกลัวแล้วฯ
|
|
|
|
หลวงธรรมาภิมณฑ์[2] ได้ประดิษฐ์แบบของกลอนสังขลิกไว้ 8 ชนิด ตามจำนวนคำในวรรค ตั้งแต่กลอน 2 ถึงกลอน 9 แต่ไม่ค่อยเป็นที่แพร่หลายนัก
- ↑ สุภาพร มากแจ้ง. กวีนิพนธ์ไทย 1. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์, 2535.
- ↑ ธรรมาภิมณฑ์, หลวง. ประชุมลำนำ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี, 2514.