กระดูกหักแบบคอลลิส
กระดูกหักแบบคอลลิส | |
---|---|
ชื่ออื่น | Colles fracture, Pouteau fracture[1] |
ภาพเอ็กซ์เรย์แสดงกระดูกหักคอลลิส | |
สาขาวิชา | เวชศาสตร์ฉุกเฉิน, ออร์โทพีดิกส์ |
อาการ | เจ็บ, บวม, ผิดรูป, ฟกช้ำ[2] |
การตั้งต้น | ทันที[2] |
สาเหตุ | ล้มลงบนมือข้างที่กางออก (outstretched hand)[2] |
ปัจจัยเสี่ยง | กระดูกพรุน[2] |
วิธีวินิจฉัย | เอ็กซ์เรย์[2] |
การรักษา | คาสต์, ผ่าตัด[3] |
พยากรณ์โรค | ฟื้นฟูใน 1 ถึง 2 ปี[2] |
ความชุก | ความเสี่ยง ~15% ตลอดช่วงชีวิต[3] |
กระดูกหักคอลลิส (อังกฤษ: Colles' fracture) เป็นรูปแบบหนึ่งของกระดูกต้นแขนส่วนปลายหักที่ซึ่งปลายของกระดูกเรเดียสที่หักมีการงอออกไปด้านหลัง[2] อาการอาจประกอบด้วยอาการเจ็บ, บวม, ผิดรูป และฟกช้ำ[2] ผลข้างเคียงอาจรวมถึงการบาดเจ็บของเส้นประสาทมีเดียน[1]
กระดูกหักแบบนี้มักเกิดขึ้นเป็นผลจากการล้มโดยเอามือลง และมือข้างที่ลงเกิดการกางออกมาก (outstretched hand)[2] ความเสี่ยงการเกิดโรคนี้รวมถึงภาวะกระดูกพรุน[2] การวินิจฉัยยืนยันใช้เอ็กซ์เรย์[2] ในการหักของกระดูกแบบนี้ ส่วนปลายของกระดูกอัลนาอาจหักด้วย[4]
การรักษาอาจรวมถึงการทำคาสต์หรือการผ่าตัด[3] การรีดักชั่นและการทำคาสต์สามารถทำได้ในผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่อายุมากกว่า 50 ปี[5] การควบคุมอาการปวดสามารถทำได้ระหว่างการรีดักชั่นโดยใช้ยาระงับปวดและยาชาตามกระบวนการ (procedural sedation and analgesia) หรือโดยการบล็อกฮีมาโตมา[5] กระดูกที่หักสามารถประสานกันได้ในเวลาหนึ่งถึงสองปี[2]
ราว 15% ของประชากรเกิดกระดูกหักแบบคอลลิสสักครั้งหนึ่งในชีวิต[3] พบผู้ป่วยกระดูกหักแบบนี้มากกว่าในผู้ใหญ่ตอนต้นและคนสูงวัย เมื่อเทียบกับเด็กและผู้ใหญ่ตอนกลาง[3] และพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย[3] ชื่อของภาวะนี้ตั้งตาม แอบราฮัม คอลลิส ซึ่งบรรยายภาวะนี้ครั้งแรกในปี 1814[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Distal forearm 23-A2.2 CRIF". www2.aofoundation.org (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 October 2017. สืบค้นเมื่อ 13 October 2017.
- ↑ 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 2.11 "Distal Radius Fractures (Broken Wrist)". orthoinfo.aaos.org. March 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 July 2017. สืบค้นเมื่อ 12 October 2017.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 Blakeney, WG (18 November 2010). "Stabilization and treatment of Colles' fractures in elderly patients". Clinical Interventions in Aging. 5: 337–44. doi:10.2147/CIA.S10042. PMC 3010169. PMID 21228899.
- ↑ Pfenninger, John L.; Fowler, Grant C. (2010). Pfenninger and Fowler's Procedures for Primary Care E-Book: Expert Consult (ภาษาอังกฤษ). Elsevier Health Sciences. p. 1292. ISBN 978-1455700929. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-13.
- ↑ 5.0 5.1 Oussedik, S; Haddad, F (September 2005). "Manipulation and immobilization of Colles' fractures". British Journal of Hospital Medicine. 66 (9): M34-5. doi:10.12968/hmed.2005.66.Sup2.19718. PMID 16200794.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- แม่แบบ:Chorus
- Colles Fracture Wheeless' Textbook
การจำแนกโรค | |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |