กระดูกหักแบบคอลลิส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กระดูกหักแบบคอลลิส
ชื่ออื่นColles fracture, Pouteau fracture[1]
ภาพเอ็กซ์เรย์แสดงกระดูกหักคอลลิส
สาขาวิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน, ออร์โทพีดิกส์
อาการเจ็บ, บวม, ผิดรูป, ฟกช้ำ[2]
การตั้งต้นทันที[2]
สาเหตุล้มลงบนมือข้างที่กางออก (outstretched hand)[2]
ปัจจัยเสี่ยงกระดูกพรุน[2]
วิธีวินิจฉัยเอ็กซ์เรย์[2]
การรักษาคาสต์, ผ่าตัด[3]
พยากรณ์โรคฟื้นฟูใน 1 ถึง 2 ปี[2]
ความชุกความเสี่ยง ~15% ตลอดช่วงชีวิต[3]

กระดูกหักคอลลิส (อังกฤษ: Colles' fracture) เป็นรูปแบบหนึ่งของกระดูกต้นแขนส่วนปลายหักที่ซึ่งปลายของกระดูกเรเดียสที่หักมีการงอออกไปด้านหลัง[2] อาการอาจประกอบด้วยอาการเจ็บ, บวม, ผิดรูป และฟกช้ำ[2] ผลข้างเคียงอาจรวมถึงการบาดเจ็บของเส้นประสาทมีเดียน[1]

กระดูกหักแบบนี้มักเกิดขึ้นเป็นผลจากการล้มโดยเอามือลง และมือข้างที่ลงเกิดการกางออกมาก (outstretched hand)[2] ความเสี่ยงการเกิดโรคนี้รวมถึงภาวะกระดูกพรุน[2] การวินิจฉัยยืนยันใช้เอ็กซ์เรย์[2] ในการหักของกระดูกแบบนี้ ส่วนปลายของกระดูกอัลนาอาจหักด้วย[4]

การรักษาอาจรวมถึงการทำคาสต์หรือการผ่าตัด[3] การรีดักชั่นและการทำคาสต์สามารถทำได้ในผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่อายุมากกว่า 50 ปี[5] การควบคุมอาการปวดสามารถทำได้ระหว่างการรีดักชั่นโดยใช้ยาระงับปวดและยาชาตามกระบวนการ (procedural sedation and analgesia) หรือโดยการบล็อกฮีมาโตมา[5] กระดูกที่หักสามารถประสานกันได้ในเวลาหนึ่งถึงสองปี[2]

ราว 15% ของประชากรเกิดกระดูกหักแบบคอลลิสสักครั้งหนึ่งในชีวิต[3] พบผู้ป่วยกระดูกหักแบบนี้มากกว่าในผู้ใหญ่ตอนต้นและคนสูงวัย เมื่อเทียบกับเด็กและผู้ใหญ่ตอนกลาง[3] และพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย[3] ชื่อของภาวะนี้ตั้งตาม แอบราฮัม คอลลิส ซึ่งบรรยายภาวะนี้ครั้งแรกในปี 1814[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Distal forearm 23-A2.2 CRIF". www2.aofoundation.org (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 October 2017. สืบค้นเมื่อ 13 October 2017.
  2. 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 2.11 "Distal Radius Fractures (Broken Wrist)". orthoinfo.aaos.org. March 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 July 2017. สืบค้นเมื่อ 12 October 2017.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 Blakeney, WG (18 November 2010). "Stabilization and treatment of Colles' fractures in elderly patients". Clinical Interventions in Aging. 5: 337–44. doi:10.2147/CIA.S10042. PMC 3010169. PMID 21228899.
  4. Pfenninger, John L.; Fowler, Grant C. (2010). Pfenninger and Fowler's Procedures for Primary Care E-Book: Expert Consult (ภาษาอังกฤษ). Elsevier Health Sciences. p. 1292. ISBN 978-1455700929. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-13.
  5. 5.0 5.1 Oussedik, S; Haddad, F (September 2005). "Manipulation and immobilization of Colles' fractures". British Journal of Hospital Medicine. 66 (9): M34-5. doi:10.12968/hmed.2005.66.Sup2.19718. PMID 16200794.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก