กรณีพิพาทเกาะลีกีตันและเกาะซีปาตัน
อำนาจอธิปไตยเหนือเกาะลีกีตันและเกาะซีปาตัน (คดีระหว่างอินโดนีเซียกับมาเลเซีย) | |
---|---|
Sovereignty over Ligitan and Sipadan Islands (Indonesia v. Malaysia) | |
สาระแห่งคดี | |
คำร้อง | ขอให้ศาลวินิจฉัยว่าอำนาจอธิปไตยเหนือเกาะลีกีตันและเกาะซีปาตันเป็นของรัฐใด |
คู่ความ | |
ผู้ร้อง | ความตกลงร่วมระหว่างมาเลเซียกับอินโดนีเซีย |
ผู้ร้องสอด | ประเทศฟิลิปปินส์ |
ศาล | |
ศาล | ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ |
ตุลาการ | Gilbert Guillaume, Shi Jiuyong, Shigeru Oda, Raymond Ranjeva, Géza Herczegh, Carl-August Fleischhauer, Abdul Koroma, Vladlen Stepanovich Vereshcheti, Rosalyn Higgins, Gonzalo Parra-Aranguren, Pieter Kooijmans, Francisco Rezek, Awn Shawkat Al-Khasawneh, Thomas Buergenthal, Nabil Elaraby, Thomas Franck (ad hoc judge appointed by Indonesia) and Christopher Weeramantry (ad hoc judge appointed by Malaysia) |
วินิจฉัย | |
" ศาลยกทั้งสองเกาะให้แก่มาเลเซียโดยยึดหลัก "การยึดครองประสิทธิผล" " | |
ลงวันที่ | 17 ธันวาคม 2545 |
เว็บไซต์ | |
General List No. 102 |
กรณีพิพาทเกาะลีกีตันและเกาะซีปาตันเป็นความขัดแย้งระหว่างมาเลเซียกับอินโดนีเซีย โดยทั้งสองประเทศต่างอ้างสิทธิในพื้นที่ทับซ้อน บริเวณเกาะซีปาดันและเกาะลีกีตันซึ่งมีเนื้อที่เพียง 10.4 และ 7.4 เฮกตาร์ ฝ่ายอินโดนีเซียอ้างว่าเกาะนี้เป็นของอินโดนีเซียตามข้อตกลงระหว่างอังกฤษกับเนเธอร์แลนด์ เมื่อ พ.ศ. 2434 เกี่ยวกับการแบ่งเขตแดนบริเวณกาลีมันตัน ซึ่งกำหนดเขตแดนของทั้งสองประเทศที่เกาะเซอบาติก ทำให้เกาะทั้งสองอยู่ในเขตของอินโดนีเซีย ส่วนมาเลเซียกล่าวอ้างว่าเกาะทั้งสองอยู่ในอำนาจของมาเลเซียเพราะตกทอดมาจากสมัยสุลต่านซูลูครองอำนาจ และตกทอดไปยังสเปน จากนั้น อังกฤษมารับช่วงต่อตั้งแต่ พ.ศ. 2421
ความขัดแย้งนี้เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2510 และได้ต่อรองโดยยุติข้อการเข้าไปในพื้นที่พิพาทตั้งแต่ พ.ศ. 2512 และได้ส่งเรื่องให้ศาลโลกพิจารณา ศาลโลกได้มีคำพิพากษาเมื่อ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2545 ให้เกาะทั้งสองอยู่ภายใต้อธิปไตยของมาเลเซีย เพราะมาเลเซียมีการเข้าไปจัดการเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของเกาะทั้งสอง ตั้งแต่ยังเป็นอาณานิคมของอังกฤษ และเข้าไปดูแลอย่างต่อเนื่องหลังจากได้รับเอกราช
อ้างอิง
[แก้]- สิทธา เลิศไพบูลย์ศิริ. พรมแดนอินโดนีเซีย-มาเลเซีย ความทับซ้อนในจินตกรรมสู่ความขัดแย้งรูปธรรม ใน อุษาคเนย์ที่รัก. สุเจน กรรพพฤกษ์ม สิทธา เลิศไพบูลย์ศิริ, บรรณาธิการ. กทม. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หน้า 211 - 213