ข้ามไปเนื้อหา

กรีฑาโลก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก World Athletics)
กรีฑาโลก
ก่อตั้ง17 กรกฎาคม 1912
ประเภทสมาพันธ์กีฬา
สํานักงานใหญ่โมนาโก
สมาชิก
214 สมาพันธ์
ประธาน
เซบาสเตียน โค
เว็บไซต์WorldAthletics.org

กรีฑาโลก (อังกฤษ: World Athletics) หรือในชื่อก่อนหน้า สหพันธ์สมาคมกรีฑานานาชาติ (อังกฤษ: International Association of Athletics Federations; IAAF) เป็นองค์กรกีฬาประเภทกรีฑา ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1912 โดยมีการประชุมครั้งแรกที่กรุงสต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน โดยมีตัวแทนจากชาติต่าง ๆ เข้าร่วม 17 ชาติในชื่อ สหพันธ์กรีฑาสมัครเล่นนานาชาติ (International Amateur Athletics Federation) จนในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1993 ย้ายสำนักงานมาอยู่ที่โมนาโก

ในปี ค.ศ. 1982 IAAF ผ่านกฎเกณฑ์เกี่ยวกับค่าตอบแทนที่ได้รับในการร่วมการแข่งขันกรีฑานานาชาติ อย่างไรก็ตาม องค์กรได้นำคำว่า "สมัครเล่น" ออกในปี ค.ศ. 2001 มาเป็นชื่อในปัจจุบัน

ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2019 สหพันธ์ได้มีมติให้เปลี่ยนชื่อเป็น กรีฑาโลก (อังกฤษ: World Athletics) ชื่อใหม่นี้มีแผนจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการหลังจากการแข่งขันกรีฑาชิงแชมป์โลก 2019[1]

การปกครอง

[แก้]

ประธาน

[แก้]
พรีโม เนบิโอโล ประธาน IAAF คนที่สี่

นับตั้งแต่ก่อตั้งกรีฑาโลก มีประธานมาแล้ว 6 คน ได้แก่

ชื่อ ประเทศ ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง (ค.ศ.)
ซิกฟริด เอ็ดสตรอม ธงของประเทศสวีเดน สวีเดน 1912–1946
ลอร์ด เบิร์กลีย์  สหราชอาณาจักร 1946–1976
เอเดรียน พอลเลน ธงของประเทศเนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ 1976–1981
พรีโม เนบีโอโล ธงของประเทศอิตาลี อิตาลี 1981–1999
ลามีน ดิแอค ธงของประเทศเซเนกัล เซเนกัล 1999–2015
ลอร์ด โคอี  สหราชอาณาจักร 2015–ปัจจุบัน

พื้นที่ดูแลของสมาคม

[แก้]
แผนที่โลกแบ่งตามพื้นที่ดูแลของสมาคมทั้ง 6

กรีฑาโลกมีสมาชิกทั้งหมด 214 สหพันธ์ แบ่งออกเป็น 6 สมาคมตามพื้นที่[2][3]

  AAA – สมาคมกรีฑาเอเชีย ในทวีปเอเชีย
  CAA – สมาพันธ์กรีฑาแอฟริกา ในทวีปแอฟริกา
  CONSUDATLE – กรีฑาอเมริกาใต้ ในทวีปอเมริกาใต้
  EAA – สมาคมกรีฑายุโรป ในทวีปยุโรป
  NACAC – สมาคมกรีฑาอเมริกาเหนือ อเมริกากลาง และแคริบเบียน ในทวีปอเมริกาเหนือ
  OAA – สมาคมกรีฑาโอเชียเนีย ในโอเชียเนีย

อ้างอิง

[แก้]
  1. Associated Press (2019-06-09). "Track body IAAF to rebrand as World Athletics". ESPN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-09. สืบค้นเมื่อ 2019-06-09.
  2. "IAAF National Member Federations". IAAF.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 August 2015. สืบค้นเมื่อ 8 August 2015.
  3. "The organisational framework for athlet" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 25 May 2010. สืบค้นเมื่อ 20 May 2010.. IAAF.