Trophozoite
บทความนี้มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษ เนื่องจากยังไม่มีชื่อภาษาไทยที่กระชับ เหมาะสม, ไม่ปรากฏคำอ่านที่แน่ชัด หรือไม่ปรากฏคำแปลที่ใช้ในทางวิชาการ |
Trophozoite (G. trope, nourishment + zoon, animal) คือระยะที่มีการกระตุ้นและการกินอาหารในวัฏจักรชีวิตของ โปรโตซัว บางชนิด เช่น Plasmodium falciparum ที่เป็นสาเหตุของ โรคมาลาเรีย และโปรโตซัวในกลุ่ม Giardia[1] รูปแบบที่สัมพันธ์กับระยะ trophozoite คือ ซิสต์ ที่มีผนังหนา ซึ่งแตกต่างจากระยะซิสต์ที่เป็นระยะพักและเป็นระยะป้องกันตัวของโปรโตซัว Trophozoite มักพบในของเหลวในร่างกายและเนื้อเยื่อของโฮสต์ และในหลายกรณีเป็นรูปแบบของโปรโตซัวที่ก่อให้เกิดโรคในโฮสต์[2] ในโปรโตซัว Entamoeba histolytica ซึ่งจะบุกรุกเยื่อบุผิวของลำไส้ของโฮสต์ ทำให้เกิดโรคบิด ซึ่งช่วยให้ trophozoite สามารถเดินทางไปที่ตับและนำไปสู่การเกิดฝีในตับ[3]
ระยะของวัฏจักรชีวิต
[แก้]Plasmodium falciparium
[แก้]สิ่งมีชีวิตที่เป็นสาเหตุของ โรคมาลาเรีย คือโปรโตซัวที่มีชื่อว่า Plasmodium falciparium ซึ่งมีซึ่งมี ยุงก้นปล่อง ตัวเมียเป็น พาหะ[4] โรคมาลาเรียถูกบันทึกว่าเป็นโรคที่พบได้บ่อยที่สุดในแอฟริกาใต้สะฮารา และบางประเทศในเอเชียที่มีจำนวนผู้เสียชีวิตสูงที่สุด[5] การศึกษาพบว่าความชุกของโรคนี้เพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2015[6] โปรโตซัวชนิดนี้ยังมีสายพันธุ์ย่อยอื่น ๆ อีก โดยบางสายพันธุ์ทำให้เกิดโรคในมนุษย์ โดยในปี 2021 มีผู้เสียชีวิตจากโรคมาลาเรีย (Plasmodium falciparium) มากกว่า 91,000 ราย ซึ่งเพิ่มขึ้น 77% จากปี 2020 ตามรายงานขององค์การอนามัยโลก (WHO) [7]
วัฏจักรชีวิตของโรคมาลาเรียแบ่งออกเป็นสองระยะ:
- ในมนุษย์: ยุงเพศเมียที่ติดเชื้อ (โดยปกติคือชนิด Anopheles) กัดมนุษย์และฉีด sporozoites เข้าไปในกระแสเลือดขณะดูดเลือด[8] Sporozoite เดินทางไปที่ตับและบุกรุกเซลล์ตับ (hepatocyte) ใน Exo-erythrocytic Cycle[9] Sporozoite ในเซลล์ตับที่ติดเชื้อแตกออกเป็น schizont และเข้าสู่กระแสเลือด (Erythrocytic Cycle) Schizont เจริญเติบโตและแบ่งตัวแบบไม่อาศัยเพศเพื่อสร้าง merozoites นับพันในระยะ trophozoite เริ่มต้น ซึ่งทำให้เกิดอาการของโรคมาลาเรียในมนุษย์ สิ่งเหล่านี้เจริญเติบโตและผ่านการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศที่เรียกว่า gametogenesis เพื่อผลิต gametocytes (เกิดในรูปแบบเพศชายและหญิง) [10] ในระยะ trophozoite ปลายของกระแสเลือด ซึ่งถูกยุงตัวอื่นดูดเลือดแล้วนำไปสู่การสืบพันธุ์ต่อไป[11][12]
- ในยุง: Gametocyte ซึ่งมีทั้งไมโครแกมเมโทไซต์ที่มีแฟลเจลลา (เพศผู้) และเมกะแกมเมโทไซต์ที่ไม่มีแฟลเจลลา (เพศเมีย) ถูกยุงกินเข้าไปขณะดูดเลือด จากนั้นจะเข้าสู่ระยะซิสต์, sporozoite, และผ่านการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ หลังจากผ่านไป 10-18 วัน sporozoite เคลื่อนไปยังต่อมน้ำลายของยุง ในการดูดเลือดครั้งต่อไปของยุงในมนุษย์ Sporozoite ถูกฉีดเข้าไปพร้อมกับน้ำลายที่มีสารกันเลือดแข็ง ซึ่งจะเดินทางไปที่ตับเริ่มวัฏจักรใหม่[13]
Balantidium coli
[แก้]Balantidium coli เป็นสาเหตุของ โรคบาแลนติดิเอซิส (Balantidiasis) ใน apicomplexan life cycle Trophozoite ผ่านการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ (schizogony) และพัฒนาไปเป็น schizont ซึ่งมี merozoites
Giardia
[แก้]ระยะ trophozoite ของ Giardia จะตั้งรกรากและเพิ่มจำนวนในลำไส้เล็ก Trophozoites จะพัฒนาเป็นซิสต์ซึ่งเป็นระยะชีวิตที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ[14]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Yaeger RG (1996). Baron S (บ.ก.). Protozoa: Structure, Classification, Growth, and Development. University of Texas Medical Branch at Galveston. ISBN 9780963117212.
- ↑ Aguirre García M, Gutiérrez-Kobeh L, López Vancell R (February 2015). "Entamoeba histolytica: adhesins and lectins in the trophozoite surface". Molecules. 20 (2): 2802–2815. doi:10.3390/molecules20022802. PMC 6272351. PMID 25671365.
- ↑ López-Soto F, León-Sicairos N, Reyes-López M, Serrano-Luna J, Ordaz-Pichardo C, Piña-Vázquez C, และคณะ (December 2009). "Use and endocytosis of iron-containing proteins by Entamoeba histolytica trophozoites". Infection, Genetics and Evolution. 9 (6): 1038–1050. Bibcode:2009InfGE...9.1038L. doi:10.1016/j.meegid.2009.05.018. PMID 19539057.
- ↑ White NJ, Pukrittayakamee S, Hien TT, Faiz MA, Mokuolu OA, Dondorp AM (February 2014). "Malaria". Lancet. 383 (9918): 723–735. doi:10.1016/s0140-6736 (13) 60024-0. PMID 23953767.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่า|doi=
(help) - ↑ "Pan American Health Organization (PAHO) Regional Office of the World Health Organization (WHO)". The Grants Register 2018. London: Palgrave Macmillan UK. 2018. pp. 584. doi:10.1007/978-1-349-94186-5_904. ISBN 978-1-137-59209-5.
- ↑ Dhiman S (February 2019). "Are malaria elimination efforts on right track? An analysis of gains achieved and challenges ahead". Infectious Diseases of Poverty. 8 (1): 14. doi:10.1186/s40249-019-0524-x. PMC 6375178. PMID 30760324.
- ↑ Walker NF, Nadjm B, Whitty CJ (February 2014). "Malaria". Medicine (ภาษาอังกฤษ). 42 (2): 100–106. doi:10.1016/j.mpmed.2013.11.011.
- ↑ Kooij TW, Matuschewski K (December 2007). "Triggers and tricks of Plasmodium sexual development". Current Opinion in Microbiology. 10 (6): 547–553. doi:10.1016/j.mib.2007.09.015. PMID 18006365.
- ↑ Mitchell CM, McLemore L, Westerberg K, Astronomo R, Smythe K, Gardella C, และคณะ (August 2014). "Long-term effect of depot medroxyprogesterone acetate on vaginal microbiota, epithelial thickness and HIV target cells". The Journal of Infectious Diseases. 210 (4): 651–655. doi:10.1093/infdis/jiu176. PMC 4172039. PMID 24652495.
- ↑ Wipasa J, Elliott S, Xu H, Good MF (October 2002). "Immunity to asexual blood stage malaria and vaccine approaches". Immunology and Cell Biology. 80 (5): 401–414. doi:10.1046/j.1440-1711.2002.01107.x. PMID 12225376. S2CID 24675596.
- ↑ Rajagopalan PK (2019-04-02). "Malaria Remains Unshaken and the Mighty Mosquito Remains Unbeaten". Journal of Communicable Diseases. 51 (1): 43–49. doi:10.24321/0019.5138.201906 (inactive 31 January 2024). ISSN 0019-5138. S2CID 134359453.
{{cite journal}}
: CS1 maint: DOI inactive as of มกราคม 2024 (ลิงก์) - ↑ Gazzinelli RT, Kalantari P, Fitzgerald KA, Golenbock DT (November 2014). "Innate sensing of malaria parasites". Nature Reviews. Immunology. 14 (11): 744–757. doi:10.1038/nri3742. PMID 25324127. S2CID 23050925.
- ↑ "Malaria: Control, Elimination, and Eradication". Human Parasitic Diseases. 8: 11–15. 2016. doi:10.4137/hpd.s16590. ISSN 1179-5700.
- ↑ Einarsson E, Ma'ayeh S, Svärd SG (December 2016). "An up-date on Giardia and giardiasis". Current Opinion in Microbiology. 34: 47–52. doi:10.1016/j.mib.2016.07.019. PMID 27501461.