รูปปั้นแห่งเอกภาพ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รูปปั้นแห่งเอกภาพ
Statue of Unity, as dedicated on October 31, 2018 (cropped).jpg
รูปปั้นแห่งเอกภาพในวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 2018
Map
พิกัด21°50′17″N 73°43′09″E / 21.8380°N 73.7191°E / 21.8380; 73.7191พิกัดภูมิศาสตร์: 21°50′17″N 73°43′09″E / 21.8380°N 73.7191°E / 21.8380; 73.7191
ที่ตั้งนิคมเกวฑิยา เขตนรรมทา รัฐคุชราต อินเดีย
ผู้ออกแบบราม วันชี สุตาร
ประเภทรูปปั้น
วัสดุโครงคร่าวเหล็ก, คอนกรีตเสริมแรง, วัสดุหุ้มทองสัมฤทธิ์[1]
ความสูง
  • รูปปั้น: 182 เมตร (597 ฟุต)
  • รวมฐาน: 240 เมตร (790 ฟุต)[1]
เริ่มก่อสร้าง31 ตุลาคม ค.ศ. 2014 (2014-10-31)
สร้างเสร็จตุลาคม 2018
การเปิด31 ตุลาคม 2018; 4 ปีก่อน (2018-10-31)
อุทิศแด่สรทารวัลลภ ภาอี ปเฏล
เว็บไซต์statueofunity.in

รูปปั้นแห่งเอกภาพ (อังกฤษ: Statue of Unity; ฮินดี: स्टैच्यू ऑफ यूनिटी) เป็นรูปปั้นขนาดใหญ่ของวัลลภ ภาอี ปเฏล (ค.ศ. 1875–1950) รัฐบุรุษและนักเรียกร้องเอกราชอินเดีย และเป็นรูปปั้นที่สูงที่สุดในโลก โดยมีความสูง 182 เมตร (597 ฟุต) หรือสองเท่าของอนุสาวรีย์เทพีเสรีภาพ[2] ตั้งอยู่ในรัฐคุชราต ประเทศอินเดีย บนเกาะกลางแม่น้ำเกาะหนึ่ง หันหน้าสู่เขื่อนสรทารสโรวรซึ่งกั้นแม่น้ำนรรมทาในนิคมเกวฑิยา ห่างจากนครวโฑทราไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ 100 กิโลเมตร (62 ไมล์)[3]

โครงการรูปปั้นนี้ได้รับการประกาศเป็นครั้งแรกใน ค.ศ. 2010 ส่วนการก่อสร้างเริ่มขึ้นในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2014 โดยบริษัทลาร์เซนแอนด์ทูโบรซึ่งทำสัญญาก่อสร้างมูลค่าราว 29,890 ล้านรูปี (420 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) รูปปั้นได้รับการออกแบบโดยราม วันชี สุตาร ประติมากรชาวอินเดีย และทำพิธีเปิดโดยนเรนทระ โมที นายกรัฐมนตรีอินเดีย เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 2018 ซึ่งเป็นวันครบรอบวันเกิด 143 ปีของปเฏล[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Gujarat: Sardar Patel statue to be twice the size of Statue of Liberty". CNN-IBN. 30 October 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 October 2013. สืบค้นเมื่อ 30 October 2013. {{cite news}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |dead-url= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  2. Ashwani Sharma (1 November 2014). "14 Things You Did Not Know about Sardar Patel, the Man Who United India". Topyaps. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 January 2015. สืบค้นเมื่อ 16 May 2014. {{cite news}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |dead-url= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  3. "Gujarat: Statue of Unity expected to attract 10,000 tourists daily". The Times of India. 31 October 2018. สืบค้นเมื่อ 10 November 2018.
  4. "PM Unveils Sardar Patel's 2,900-Crore Statue of Unity Today: 10 Facts". MSN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 October 2018. สืบค้นเมื่อ 31 October 2018. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |dead-url= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)

ข้อมูลเพิ่มเติม[แก้]