Shigella

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Shigella sp.)

Shigella เป็นชื่อสกุลของแบคทีเรียในวงศ์ Enterobacteriaceae เป็น แบคทีเรียกลุ่มแกรมลบ (Gram negative bacteria) มีรูปร่างเป็นท่อน ไม่สร้างสปอร์ ไม่เคลื่อนไหว เป็นแบคทีเรียก่อโรค (pathogen) ที่ติดต่อผ่านทางอาหารทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ (food poisoning) ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อ (infection) ทำให้เกิดโรคบิด หรือshigellosis

ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญของ shigella

Shigella เป็นแบคทีเรียในกลุ่มfacultative anaerobe คือเจริญได้ทั้งในภาวะที่มีออกซิเจนและไม่มีออกซิเจน water activity ต่ำสุดที่เจริญได้คือ 0.96 เจริญได้ที่อุณหภูมิระหว่าง 6.1- 47.1 องศาเซลเซียส ค่า pH ที่เจริญได้ดีอยู่ระหว่าง 4.8-9.2 โรคและอาการของโรค

Shigella ทำให้เกิดโรคบิด (bacillary dysentery) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่ง คือ Shigellosis มีทั้งทำให้เกิดถ่ายอุจจาระมีเลือดออก (bloody diarrhea) และไม่มีเลือด (non-bloody diarrhea) การติดเชื้อได้จากการรับประทานอาหาร หรือน้ำดื่มที่มีเชื้อปนอยู่ จำนวนเชื้อที่ทำให้เกิดโรค (infective dose) 10-100เซลล์ ซึ่งปริมาณน้อยว่าแบคทีเรียก่อโรคในระบบทางเดินอาหารชนิดอื่นๆ

Shigella สามารถเข้าไปแบ่งตัวและสามารถทำลายเซลล์เยื่อบุผนังลำไส้ใหญ่ เมื่อเซลล์ตายจะทำให้เกิดการอักเสบ เป็นหนองและเกิดแผลในลำไส้เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกาย ภายใน 1-4 วัน จะมีไข้ ท้องเดิน อาเจียน และมีเลือดปนออกมาในอุจจาระภายใน 12-72 ชั่วโมง ภายหลังจากเริ่มมีอาการ ส่วนมากเป็นอยู่ 3-7 วัน

คนเป็นพาหะของ Shigella ได้ดี ยังไม่เคยมีรายงานว่าพบในสัตว์ ผู้ป่วย Shigellosis ที่หายแล้ว หรือผู้ได้รับเชื้อแต่ยังไม่เกิดโรค (inapparent infections) จำนวนหนึ่ง จะมีเชื้อในอุจจาระต่อไปเป็นเวลาหลายเดือน แต่ที่จะเป็นพาหะเรื้อรังแบบ Salmonella Typhi นั้นมีน้อย การแพร่ระบาดของ Shigella มักเป็นการกระจายแบบบุคคลสู่บุคคล ส่วนการติดเชื้อมักพบการปนเปื้อนในอาหารและน้ำ รวมไปถึงยังพบได้ในกลุ่ม Homosexual ได้ด้วย Shigella ทั้ง 4 serogroup จะเป็นสาเหตุให้เกิดท้องร่วงได้ทั้งหมด

ข้อมูลในอเมริกายังคงมีรายงาน Shigella ประมาณ 20,000 รายต่อปี แต่มีการประมาณว่าจะมีการติดเชื้อนี้สูงถึง 400,000 รายที่ตรวจไม่พบ โดย 20% ในอเมริกาจะเกิดขึ้นในกลุ่มที่มีการเดินทางระหว่างประเทศ

ในสหรัฐพบS. sonnei มากที่สุด รองลงไปตามลำดับคือ S. flexneri, S. dysenteriae, S. boydii

สำหรับประเทศไทยพบ S.sonnei มากที่สุด รองลงมาได้แก่ S. flexneri จากรายงานกองระบาดวิทยาปี 2539 รายงานว่ามีผู้ป่วยโรคบิดที่เกิดจากเชื้อ Shigella มีจำนวน 3.4 ต่อประชากรแสนคน พบว่ามีอัตราป่วยสูงสุดในปีพ.ศ. 2530 และเริ่มลดลงในปีพ.ศ. 2532 ในระยะ 10 ปี ที่ผ่านมาอัตราป่วยด้วยโรคบิดลดลงประมาณ 2.7 เท่า

ส่วนในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา มักพบ S. flexneri และ S. dysenteriae ส่วนในกลุ่มประเทศพัฒนามักพบ S. sonnei

แหล่งที่พบ

Shigella พบในทางเดินอาหารของคน และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม คนที่เป็นพาหะเป็นแหล่งแพร่เชื้อที่สำคัญ และพบได้จากน้ำและอาหารที่ไม่สะอาดได้สามารถอยู่ในอุจจาระที่ติดตามเสื้อผ้า และโถส้วมได้นานหลายวัน การควบคุมป้องกัน

- หุงต้มอาหาร ให้ร้อนจัด อุ่นให้เดือด และเก็บรักษาอาหารที่ทำให้สุกแล้วที่อุณหภูมิต่ำ หลีกเลี่ยงการเก็บรักษาอาหารช่วงอุณหภูมิที่เป็นอันตราย คือ 4-55 องศาเซลเซียส

- ผลิตอาหารให้ถูกสุขลักษณะ ตามหลักGMP (Good Manufacturing Practice) ควบคุมให้พนักงาน หรือบุคคล ที่สัมผัสกับอาหารให้มีสุขอนามัยที่ดี (personal hygiene) จัดให้มีการล้างมือฟอกสบู่ ภายหลังเข้าห้องน้ำ

- ป้องกันการเกิดปนเปื้อนข้าม (cross contamination) โดยเฉพาะอาหารที่ปรุงสุก อาหารพร้อมรับประทาน กับอาหารดิบ

- ไม่อนุญาตให้ผู้ป่วยโรคบิดเข้าทำงานสัมผัสอาหาร