Suprachiasmatic nucleus

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก SCN)
Suprachiasmatic nucleus
Suprachiasmatic nucleus มีป้ายว่า SC มีสีน้ำเงิน อยู่ตรงกลางด้านซ้าย ส่วนไขว้ประสาทตา (optic chiasm) มีป้ายสีดำว่า OC อยู่ต่อมาทางด้านล่าง
เส้นประสาทตาข้างซ้ายและลำเส้นใยประสาทตา (Suprachiasmatic nucleus ไม่มีป้าย แต่อยู่ในแผนผัง)
รายละเอียด
ตัวระบุ
ภาษาละตินnucleus suprachiasmaticus
MeSHD013493
นิวโรเนมส์384
นิวโรเล็กซ์ IDbirnlex_1325
TA98A14.1.08.911
TA25720
FMA67883
ศัพท์ทางกายวิภาคของประสาทกายวิภาคศาสตร์

suprachiasmatic nucleus (พหูพจน์: nuclei ตัวย่อ SCN) เป็นเขตเล็ก ๆ ในไฮโปทาลามัสอยู่ติดกับด้านบนของส่วนไขว้ประสาทตา (optic chiasm) มีหน้าที่ในการควบคุมจังหวะรอบวัน (circadian rhythm) มีนิวรอนประมาณ 20,000 ตัวที่เป็นเหตุของการทำงานในระบบประสาทและทางฮอร์โมน เพื่อควบคุมการทำงานของร่างกายให้เป็นวงจรรอบ 24 ช.ม.[1] ในงานวิจัยหนึ่งในหนู ปรากฏว่า SCN มักจะฝ่อลงเมื่ออายุมากขึ้น[2]

SCN มีลักษณะเป็นรูปกรวย มีขนาดเท่าเมล็ดข้าว และมีการทำงานร่วมกับเขตในสมองอื่น ๆ มากมาย มีเซลล์หลายประเภท และใช้เพปไทด์ (รวมทั้ง vasopressin และ vasoactive intestinal peptide) และสารสื่อประสาทหลายประเภท

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. Fahey, Jonathan (2009-10-15). "How Your Brain Tells Time". Out Of The Labs. Forbes.
  2. http://www.jneurosci.org/content/32/17/5891.full

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]