เอสเอที
การทดสอบการใช้เหตุผลเอสเอที (SAT Reasoning Test) เป็นข้อสอบมาตรฐานสำหรับการรับบุคคลเข้าศึกษาในสถานบันอุดมศึกษาในระบบการศึกษาของสหรัฐอเมริกา เอสเอทีได้รับการพัฒนาโดย College Board ซึ่งองค์การองค์กรที่ไม่แสวงผลกำไรในสหรัฐอเมริกา ก่อนหน้านี้ข้อสอบได้รับการพัฒนาโดย Educational Testing Service[1] แต่ในปัจจุบันองค์กรดังกล่าวมีหน้าที่ในการจัดสอบเท่านั้น ข้อสอบใช้ในการวัดความสามารถของเด็กในการศึกษาในระดับอุดมศึกษาโดยจัดสอบครั้งแรกในปี 1926 โดยมีการเปลี่ยนชื่อหลายครั้งหลังจากนั้น ข้อสอบนี้เคยมีชื่อว่า ข้อสอบความถนัดทางการศึกษา (Scholastic Aptitude Test) จากนั้นเปลี่ยนเป็น ข้อสอบทางการศึกษา (Scholastic Assessment Test) แต่ในตอนนี้เอสเอทีไม่มีความหมายดังกล่าวอีกต่อไป ข้อสอบเอสเอทีนั้นทดสอบความสามารถในการใช้เหตุผลเช่นเดียวกับข้อสอบความถนัดทั่วไปที่จัดสอบโดยสทศ.
ข้อสอบปัจจุบันได้รับการจัดสอบเป็นครั้งแรกในปี 2005 ปัจจุบัน (2014) ค่าสอบคือ $52.50 ($98.50 สำหรับการสอบนอกสหรัฐฯ) ทั้งนี้ไม่รวมค่าสมัครสอบสาย[2] ข้อสอบแบ่งออกเป็นสามส่วนด้วยกัน ซึ่งคือการอ่านจับใจความ (Critical Reading) การใช้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ (Math) และการเขียน (Writing) คะแนนเต็มแต่ละ Part คือ 800 คะแนนคะแนนรวมของทั้งสามส่วนนี้เป็นคะแนนที่ผ่านการปรับเทียบโดยคะแนนต่ำสุดที่เป็นไปได้คือ 600 และสูงสุดคือ 1600
ข้อสอบและการสอบ
[แก้]ข้อสอบเอสเอทีประกอบไปด้วยข้อสอบสามความถนัด แบ่งออกเป็น 10 ส่วน โดยสอบการอ่านจับใจความ การใช้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ และการเขียนทั่วไป คะแนนของแต่ละวิชาอยู่ระหว่าง 200-800 แต่ละวิชามีสามส่วนโดยแต่ละส่วนมีจำนวนข้อมากมายแตกต่างกันไป ส่วนที่ 10 ซึ่งคือส่วนสุดท้ายเป็นส่วนสาธิตโดยอาจจะเป็นวิชาใดก็ได้ ส่วนที่ 10 นี้ใช้ในการปรับเทียบคะแนนโดยใช้การแจกแจงแบบปกติและปรับเทียบคะแนนจริงเป็นคะแนนระหว่าง 200-800
ข้อสอบการอ่านจับใจความทดสอบความรู้ศัพท์ภาษาอังกฤษและการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลจากบทคัดย่อ โดยบทคัดย่อแต่ละบทนำมาจากเอกสารในหลากหลายวิชา
ข้อสอบการใช้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ทดสอบความสามารถใช้คณิตศาสต์เบื้องต้นซึ่งส่วนที่ยากที่สุดทดสอบความรู้ด้านพีชคณิตและทฤษฎีจำนวน ข้อสอบเหมือนกับส่วนอื่น คือเป็นข้อส่วนปรนัย ทั้งนี้ข้อสอบในวิชาคณิตศาสตร์นี้มีข้อสอบปรนัยแบบเติมตัวเลข นักเรียนสามารถใช้เครื่องคำนวณระหว่างการสอบได้
ข้อสอบการเขียนทดสอบความรู้ด้านไวยากรณ์และการเขียนที่ดี มีข้อสอบเลือกส่วนที่ผิด ข้อสอบเติมประโยคที่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ และข้อสอบเขียนเรียงความโดยเป็นส่วนเดียวของข้อสอบที่เป็นข้อสอบอัตนัย ทั้งนี้ ข้อสอบส่วนเขียนเรียงความเป็นส่วนที่ถูกวิจารณ์ว่าไม่เหมาะสมมาที่สุดเพราะการเขียนส่วนใหญ่ไม่มีเนื้อความ นักเรียนอาจเขียนข้อมูลที่ผิดแต่หากเขียนโดยใช้ไวยากรณ์และศัพท์ที่ดีแล้ว นักเรียนก็อาจได้คะแนนสูงได้
คะแนนสอบ
[แก้]หลังจากตรวจข้อสอบเสร็จแล้ว คะแนนจะถูกปรับเทียบโดยใช้การแจกแจงแบบปกติแล้วรายงานให้ผู้สอบผ่านทางอินเทอร์เน็ตและส่งให้กับมหาวิทยาลัยในเวลาประมาณหนึ่งเดือน
นอกจากการสอบเอสเอทีนี้แล้ว ยังมีข้อสอบรายวิชาเอสเอทีซึ่งเป็นข้อสอบซึ่งสอบความรู้เฉพาะเจาะจง เช่นข้อสอบคณิตศาสตร์ในข้อสอบเอสเอทีรายวิชา (Subject Tests) สอบความรู้ด้านสถิติ ลิมิต ฟังก์ชัน และเมทริกซ์...ทั้งนี้ยากกว่าข้อสอบการใช้เหตุผลเอสเอทีมาก ข้อสอบรายวิชายังมีข้อสอบวิทยาศาสตร์ สังคม และภาษาต่างประเทศ
ปัญหาของข้อสอบ
[แก้]ข้อสอบเอสเอทีได้รับการวิจารณ์อย่างกว้างขวางว่าไม่ได้สอบความสามารถของผู้สอบจริงๆ เพราะไอคิวกับคะแนนสอบไม่มีความเกี่ยวข้องกัน นอกจากนี้ ยังมีการวิจารณ์ว่าข้อสอบเอสเอทีลำเอียงทางเชื้อชาติและรายรับ เด็กอเมริกาผิวขาวและเอเซียสอบได้คะแนนดีกว่าเด็กอเมริกาผิวสีมาก ผู้สอบที่มีฐานะทางสังคมดีกว่ามักจะได้คะแนนสูงกว่าอีกด้วย ทั้งนี้ เริ่มมีมหาวิทยาลัยที่ยกเลิกการใช้คะแนนเอสเอทีแล้ว
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "About the College Board". College Board. สืบค้นเมื่อ May 29, 2007.
- ↑ "SAT Fees: 2010–11 Fees". College Board. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-07. สืบค้นเมื่อ September 5, 2010.
อ่านต่อ
[แก้]- Coyle, T. R. & Pillow, D. R. (2008). "SAT and ACT predict college GPA after removing g". Intelligence. 36 (6): 719–729. doi:10.1016/j.intell.2008.05.001.
- Coyle, T.; Snyder, A.; Pillow, D.; Kochunov, P. (2011). "SAT predicts GPA better for high ability subjects: Implications for Spearman's Law of Diminishing Returns". Personality and Individual Differences. 50 (4): 470–474. doi:10.1016/j.paid.2010.11.009.
- Frey, M. C.; Detterman, D. K. (2003). "Scholastic Assessment or g? The Relationship Between the Scholastic Assessment Test and General Cognitive Ability" (PDF). Psychological Science. 15 (6): 373–378. doi:10.1111/j.0956-7976.2004.00687.x. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2004-11-01. สืบค้นเมื่อ 2011-11-13.
- Gould, Stephen Jay (1996). The Mismeasure of Man (Rev/Expd ed.). W. W. Norton & Company. ISBN 0-393-31425-1.
- Hoffman, Banesh (1962). The Tyranny of Testing. Orig. pub. Collier. ISBN 0-486-43091-X. (and others)
- Hubin, David R. (1988). The Scholastic Aptitude Test: Its Development and Introduction, 1900–1948. Ph.D. dissertation in American History at the University of Oregon.
- Owen, David (1999). None of the Above: The Truth Behind the SATs (Revised ed.). Rowman & Littlefield. ISBN 0-8476-9507-7.
- Sacks, Peter (2001). Standardized Minds: The High Price of America's Testing Culture and What We Can Do to Change It. Perseus. ISBN 0-7382-0433-1.
- Zwick, Rebecca (2002). Fair Game? The Use of Standardized Admissions Tests in Higher Education. Falmer. ISBN 0-415-92560-6.
- Gladwell, Malcolm (December 17, 2001). "Examined Life: What Stanley H. Kaplan taught us about the S.A.T." The New Yorker.