โรนัลด์ เซิร์ล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Ronald Searle)
โรนัลด์ เซิร์ล

โรนัลด์ เซิร์ล ในปี ค.ศ. 2011
เกิดโรนัลด์ วิลเลียม ฟอร์ดแฮม เซิร์ล
3 มีนาคม ค.ศ. 1920(1920-03-03)
เคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ
เสียชีวิต30 ธันวาคม ค.ศ. 2011(2011-12-30) (91 ปี)[1]
ดรากียอง วาร์ พรอว็องส์ ประเทศฝรั่งเศส
สัญชาติอังกฤษ
มีชื่อเสียงจากภาพประกอบ, ศิลปินด้านกราฟิก, การ์ตูน

โรนัลด์ วิลเลียม ฟอร์ดแฮม เซิร์ล, ซีบีอี, อาร์ดีไอ (อังกฤษ: Ronald William Fordham Searle; 3 มีนาคม ค.ศ. 1920 – 30 ธันวาคม ค.ศ. 2011)[1] เป็นทั้งศิลปินและนักเขียนการ์ตูนการเสียดสี, ศิลปินการ์ตูนช่อง, ประติมากร, นักออกแบบเหรียญ และนักวาดภาพประกอบชาวอังกฤษ บางทีเขาอาจเป็นที่จดจำได้ดีที่สุดในฐานะผู้ให้กำเนิดเซนต์ทรินเนียนส์สกูล และจากการร่วมมือกับเจฟฟรีย์ วิลลันส์ ในซีรีส์โมเลสเวิร์ธ[2]

ประวัติ[แก้]

อินเดอะจังเกิล – ภาพเหมือนตนเอง ที่ช่องเขาขาด ป่าประเทศไทย เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1943

เซิร์ลเกิดที่เมืองเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ โดยพ่อของเขาเป็นคนงานที่ทำการไปรษณีย์ผู้ซ่อมสายโทรศัพท์[3] เขาเริ่มวาดรูปเมื่ออายุห้าขวบและออกจากโรงเรียน (โรงเรียนกลาง – ปัจจุบันคือโรงเรียนพาร์กไซด์) เมื่ออายุ 15 ปี เขาฝึกที่วิทยาลัยศิลปะและเทคโนโลยีเคมบริดจ์ (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยแองเกลียรัสกิน) เป็นเวลาสองปี[4]

ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1939 โดยตระหนักว่าสงครามเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เขาจึงละทิ้งการเรียนศิลปะเพื่อเข้ากรมทหารช่างหลวง ส่วนในเดือนมกราคม ค.ศ. 1942 เขาถูกส่งไปประจำการที่สิงคโปร์ หลังจากต่อสู้ในแหลมมลายูหนึ่งเดือน เขาก็ถูกจับเชลยพร้อมกับทอม ฟอร์ดแฮม เซิร์ล ซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องของเขาเมื่อสิงคโปร์ตกเป็นของญี่ปุ่น เขาใช้เวลาที่เหลือของสงครามไปกับการเป็นเชลย ที่แรกในเรือนจำจางี และจากนั้นก็อยู่ในป่าแคว โดยทำงานในทางรถไฟสายมรณะสยาม-พม่า เซิร์ลเป็นทั้งโรคเหน็บชาและมาลาเรียในระหว่างที่เขาถูกคุมขัง ซึ่งรวมถึงการถูกเฆี่ยนตีหลายครั้ง และน้ำหนักของเขาลดลงจนเหลือไม่ถึง 40 กิโลกรัม เขาได้รับการปลดปล่อยในปลายปี ค.ศ. 1945 ด้วยความพ่ายแพ้ครั้งสุดท้ายของฝ่ายญี่ปุ่น หลังสงคราม เขาทำหน้าที่เป็นศิลปินในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ค และต่อมาในการพิจารณาคดีอาด็อล์ฟ ไอช์มัน (ค.ศ. 1961)[2]

เขาแต่งงานกับนักข่าวชื่อเคย์ เวบบ์ ใน ค.ศ. 1947 ซึ่งพวกเขามีลูกเป็นฝาแฝดชื่อเคทและจอห์นนี ส่วนใน ค.ศ. 1961 เขาย้ายไปปารีส โดยลาจากครอบครัวของเขา ซึ่งพวกเขาหย่าร้างกันใน ค.ศ. 1967[5] ต่อมาเขาได้แต่งงานกับโมนิกา โคนิก ซึ่งเป็นจิตรกร, นักออกแบบโรงละครและอัญมณี[6] หลังจาก ค.ศ. 1975 เซิร์ลและภรรยาของเขาอาศัยและทำงานในภูเขาโอตพรอว็องส์

โมนิกาภรรยาของเขาเสียชีวิตในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2011 และเซิร์ลเสียชีวิตเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม ค.ศ. 2011 ขณะอายุได้ 91 ปี

งานช่วงแรกในฐานะศิลปินสงคราม[แก้]

อินเดอะจังเกิล - การทำงานกับการถาง งานศิลปะการเคลียร์หินหลังจากการระเบิด ค.ศ. 1943 โดยโรนัลด์ เซิร์ล
อินเดอะจังเกิล - การทำงานกับการถาง การเคลียร์หินหลังจากการระเบิด ค.ศ. 1943

แม้ว่าเซิร์ลจะได้รับการตีพิมพ์การ์ตูนเซนต์ทรินเนียนส์ครั้งแรกในนิตยสารลิลลิพุตใน ค.ศ. 1941 แต่อาชีพการงานของเขาเริ่มต้นจริง ๆ ด้วยเอกสารเกี่ยวกับสภาพค่ายที่โหดร้ายในสมัยของเขาในฐานะเชลยศึกของญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่สองในชุดภาพวาด ที่เขาซ่อนตัวอยู่ใต้ที่นอนของนักโทษที่กำลังจะตายด้วยอหิวาตกโรค เซิร์ลได้ฟื้นความหลังว่า "ผมแทบอยากจะหยุดสิ่งที่เกิดขึ้น เพราะผมคิดว่าถ้ามีบันทึก แม้ว่าผมจะตายไป อาจมีคนค้นพบมันและรู้ว่าเกิดอะไรขึ้น" แต่กระนั้น เซิร์ลก็รอดชีวิตพร้อมกับภาพวาดของเขาประมาณ 300 ภาพ หลังจากได้รับอิสรภาพในช่วงปลาย ค.ศ. 1945 เซิร์ลกลับมาอังกฤษ ซึ่งเขาได้รับการตีพิมพ์ภาพวาดหลายภาพในผลงานเดอะเนเก็ดไอแลนด์ของเพื่อนเชลยที่ชื่อรัสเซล แบรดดอน เพื่อนเชลยอีกคนของเซิร์ลเล่าในภายหลังว่า "หากคุณสามารถจินตนาการถึงสิ่งที่มีน้ำหนักประมาณหินหกก้อน อยู่ในจุดที่กำลังจะตาย และไม่มีคุณลักษณะของสภาพมนุษย์ที่ไม่น่ารังเกียจ นอนนิ่งอยู่กับดินสอและเศษกระดาษ กำลังวาดรูป คุณมีความคิดบางอย่างเกี่ยวกับความแตกต่างของอารมณ์ที่ผู้ชายคนนี้มีจากมนุษย์ธรรมดา"[3]

ภาพวาดเหล่านี้ส่วนใหญ่ปรากฏในหนังสือของเขาใน ค.ศ. 1986 ที่ชื่อโรนัลด์ เซิร์ล: ทูเดอะแควแอนด์แบ็ก, วอร์ดรออิงส์ 1939–1945[7] โดยในหนังสือ เซิร์ลยังเขียนถึงประสบการณ์ของเขาในฐานะเชลย รวมถึงวันที่เขาตื่นขึ้นมาและพบเพื่อนที่ตายแล้วอยู่ข้างเขาข้างใดข้างหนึ่ง ตลอดจนงูที่มีชีวิตอยู่ข้างใต้ศีรษะของเขา:

คุณไม่สามารถมีประสบการณ์แบบนั้นได้หากปราศจากการกำกับที่เหลือในชีวิตของคุณ ผมคิดว่านั่นเป็นเหตุผลที่ผมไม่เคยออกจากห้องขังเลยจริง ๆ เพราะมันได้ให้ไม้วัดแก่ผมไปตลอดชีวิต... โดยทั่วไปแล้วทุกคนที่เรารักและรู้จัก และเติบโตขึ้นมาก็กลายเป็นปุ๋ยสำหรับไผ่ที่ใกล้ที่สุด

ภาพวาดของเขาอย่างน้อยหนึ่งรูปแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์และโบสถ์น้อยชางงี ประเทศสิงคโปร์ แต่ต้นฉบับส่วนใหญ่ของเขาอยู่ในการสะสมถาวรของพิพิธภัณฑ์สงครามจักรวรรดิ ลอนดอน พร้อมกับผลงานของศิลปินเชลยศึกคนอื่น ๆ โดยที่รู้จักกันดีที่สุดคือจอห์น เมนนี, แจ็ก บริดเจอร์ ชาลเกอร์, ฟิลิป เมนินสกี และแอชลีย์ จอร์จ โอลด์

นิตยสาร, หนังสือ และภาพยนตร์[แก้]

โมเดิร์นคลาสสิกตีพิมพ์ภาพวาดเซนต์ทรินเนียนส์ของโรนัลด์ เซิร์ล ใหม่

เซิร์ลผลิตผลงานจำนวนมากเป็นพิเศษในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1950 รวมถึงภาพวาดสำหรับไลฟ์, ฮอลิเดย์ และพันช์[8] การ์ตูนของเขาได้ปรากฏในเดอะนิวยอร์กเกอร์, ซันเดย์เอกซเพรส และนิวส์โครนิเคิล เขาได้รวมเล่มหนังสือเซนต์ทรินเนียนเพิ่มเติม ซึ่งอิงจากโรงเรียนของน้องสาวและโรงเรียนสตรีอื่น ๆ ในเคมบริดจ์ ตลอดจนเขาได้ร่วมมือกับเจฟฟรีย์ วิลลันส์ ในหนังสือโมลส์เวิร์ธ (ดาวน์วิธสกูล! เมื่อ ค.ศ. 1953 และ ฮาวทูบีทอปป์ เมื่อ ค.ศ. 1954) และร่วมกับอเล็กซ์ แอตคินสัน ในหนังสือท่องเที่ยว นอกจากโฆษณาและโปสเตอร์แล้ว เซิร์ลยังได้วาดฉากหลังพาดหัวภาพยนตร์เรื่องเดอะแฮปปิเอสต์เดส์ออฟยัวร์ไลฟ์ของซิดนีย์ กิลเลียต และแฟรงก์ ลอนเดอร์[3]

หลังจากย้ายไปปารีสใน ค.ศ. 1961 เขาทำงานมากขึ้นในการรายงานข่าวแก่ไลฟ์กับฮอลิเดย์ และทำงานในการ์ตูนน้อยลง นอกจากนี้ เขายังทำงานในสื่อต่าง ๆ จำนวนมาก และสร้างสรรค์หนังสือ (รวมถึงหนังสือเกี่ยวกับแมวที่มีชื่อเสียงของเขา), ภาพยนตร์แอนิเมชัน และรูปสลักสำหรับเหรียญที่ระลึก ทั้งสำหรับโรงกษาปณ์ฝรั่งเศสและสมาคมเหรียญศิลป์แห่งบริติช[9][10] นอกจากนี้ เซิร์ลได้ออกแบบภาพยนตร์เป็นจำนวนมาก และใน ค.ศ. 1965 เขาได้เสร็จสิ้นการเปิด, ช่วงระยะหยุดพัก และปิดเครดิตสำหรับภาพยนตร์ตลกเรื่องโธสแมกนิฟิเซนต์เม็นอินแธร์ฟลายอิงแมชชีนส์ รวมถึงภาพยนตร์ ค.ศ. 1969 เรื่องมงเตการ์โลออร์บัสต์! ครั้นใน ค.ศ. 1975 การ์ตูนเรื่องดิกเดดอาย, ออร์ดิวตีดัน ได้รับการเปิดตัว ซึ่งอิงตัวละครและเพลงจากเอชเอ็มเอส พินนาฟอร์[11]

คนทำเหรียญ[แก้]

เหรียญโดยเซิร์ล ในหัวข้อเซิร์ลเมื่ออายุ 70 ปี ที่ทำโดยโทมัส ฟัตตอรีนี จำกัด

เซิร์ลได้ออกแบบเหรียญรางวัลสำหรับผู้แทนใน ค.ศ. 1992 สำหรับเอฟไอดีอีเอ็ม XXIII คองเกรสลอนดอน ซึ่งเป็นภาพครึ่งตัวครึ่งตัวของคนทำเหรียญสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาที่ชื่อปีซาเนลโล และทำโดยโรงกษาปณ์หลวง ส่วนเหรียญรางวัลที่โดดเด่นอื่น ๆ ได้แก่ "เซิร์ลเมื่ออายุเจ็ดสิบปี" (ค.ศ. 1990)[12] และ "แควครบรอบ 50 ปี" (ค.ศ. 1991) ซึ่งเหรียญทั้งสองทำโดยโทมัส ฟัตตอรีนี จำกัด และ "ชาลส์ ดิกคินส์" (ค.ศ. 1983) ที่ทำโดยโรงกษาปณ์เบอร์มิงแฮม

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "UK artist, St Trinian's creator Searle dies aged 91". Reuters. 3 January 2012.
  2. 2.0 2.1 "Ronald Searle".
  3. 3.0 3.1 3.2 "Ronald Searle". The Daily Telegraph. London. 3 January 2012.
  4. "Anglia Ruskin exhibition pays tribute to St Trinians originator Ronald Searle" (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-09-06.
  5. Eccleshare, Julia (17 January 1996). "OBITUARY: Kaye Webb". The Independent. สืบค้นเมื่อ 29 January 2017. married ... thirdly 1946 Ronald Searle (one son, one daughter; marriage dissolved 1967)
  6. Monica Searle: The Art of the Necklace เก็บถาวร 2018-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Artslant – New York – Retrieved 5 January 2012
  7. Bill Maudlin (10 August 1986). "Sketches From Life and Death – review of To the Kwai – And Back". The New York Times.
  8. John Walsh (4 January 2012). "Master of St Trinian's: The death of Ronald Searle". The Independent.
  9. "Antonio Pisanello – 23rd FIDEM Congress Medal". Sculpture. Victoria and Albert Museum. สืบค้นเมื่อ 1 September 2007.
  10. Medals เก็บถาวร 2011-07-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน created for the British Art Medal Society
  11. "Dick Deadeye, or Duty Done (1975)" เก็บถาวร 2009-08-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Time Out Film Guide. Retrieved 7 May 2009
  12. "Medal : "Searle at Seventy"(1990) for BAMS (The British Art Medal Society)". British Art Medal Society. BAMS. สืบค้นเมื่อ 9 June 2020.

อ่านเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]