ปลาโรนันยักษ์
ปลาโรนันยักษ์ ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: อีโอซีนตอนล่าง–ปัจจุบัน[1] | |
---|---|
ปลาโรนันจุดขาว (R. djiddensis) | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | สัตว์ (Animalia) |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง (Chordata) |
ชั้น: | ปลากระดูกอ่อน (Chondrichthyes) |
ชั้นย่อย: | อีลาสโมแบรนชิไอ (Elasmobranchii) |
อันดับ: | ปลาโรนัน (Rajiformes) |
วงศ์: | Rhynchobatidae Garman, 1913 |
สกุล: | Rhynchobatus Müller & Henle, 1837 |
ชนิดต้นแบบ | |
Rhinobatus laevis Bloch & Schneider, 1801 | |
ชนิด | |
|
ปลาโรนันยักษ์ (อังกฤษ: Wedgefishes) ปลากระดูกอ่อนขนาดใหญ่จำพวกหนึ่ง ในกลุ่มปลากระเบน จัดอยู่ในวงศ์ Rhynchobatidae และสกุล Rhynchobatus โดยแยกออกจากปลาโรนันซึ่งอยู่ในวงศ์ Rhinobatidae อีกที (โดยในบางแหล่งข้อมูลยังคงจัดให้อยู่รวมกัน[2])
พบกระจายพันธุ์ในทะเลและมหาสมุทรเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนของอินโด-แปซิฟิก โดยมีเป็นบางชนิดที่พบในมหาสมุทรแอตแลนติกแถบตะวันออก โดยเป็นปลาที่ถูกประเมินไว้จากสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) แล้วว่าทุกชนิดตกอยู่ในสภานะของการเสี่ยงหรือล่อแหลมต่อการสูญพันธุ์หรือใกล้สูญพันธุ์
เป็นปลาขนาดใหญ่ ความยาวที่สุดที่พบคือ 3 เมตร (9.8 ฟุต) จัดว่าเป็นหนึ่งในกลุ่มปลากระเบนที่มีขนาดใหญ่ที่สุด แต่ขนาดเล็กที่สุดมีความยาวเพียงครึ่งเดียว ทุกชนิดมีความคล้ายคลึงกันโดยมองอย่างผิวเผิน โดยสามารถจำแนกออกจากกันด้วยการพิจารณาลักษณะโดยรวมของส่วนปลายจมูก, การนับกระดูกสันหลัง ตลอดจนสีตามลำตัว (การกระจายตัวของจุดสีขาว และการมีหรือไม่มีฐานสีดำที่ใต้ครีบอก[3] )
การจำแนก
[แก้]ปัจจุบันได้มีการจำแนกไว้ 7 ชนิด โดยที่ผ่านมาจะมีการสับสนในชนิดของปลาโรนันจุดขาว (R. djiddensis) ซึ่งปัจจุบันนับได้ว่าพบได้ในแถบมหาสมุทรอินเดียด้านตะวันตก
- Rhynchobatus australiae Whitley, 1939 (ปลาโรนันจุดขาว)
- Rhynchobatus djiddensis (Forsskål, 1775) (ปลาโรนันจุดขาว)
- Rhynchobatus immaculatus Last, Ho & Chen, 2013 [3]
- Rhynchobatus laevis (Bloch & Schneider, 1801)
- Rhynchobatus luebberti Ehrenbaum, 1915
- Rhynchobatus palpebratus Compagno & Last, 2008
- Rhynchobatus springeri Compagno & Last, 2010 (ปลาโรนันจุดขาวลาย)
นอกจากนี้แล้วยังมีอีกชนิดหนึ่ง คือ Rhynchobatus sp. nov. A หรือ 1 ซึ่งยังไม่ได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์[3][4]
ชนิดที่มีชื่อสามัญในภาษาไทยกำกับ หมายถึง มีรายงานว่าพบได้ในน่านน้ำไทย[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Sepkoski, Jack (2002). "A compendium of fossil marine animal genera (Chondrichthyes entry)". Bulletins of American Paleontology. 364: 560. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-10. สืบค้นเมื่อ 2008-01-09.
- ↑ "Rhynchobatus". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ. สืบค้นเมื่อ July 18, 2016.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 Last, P.R., Ho, H.-C. & Chen, R.-R. (2013): A new species of wedgefish, Rhynchobatus immaculatus (Chondrichthyes, Rhynchobatidae), from Taiwan. Pp. 185-198 in: de Carvalho, M.R., Ebert, D.A., Ho, H.-C. & White, W.T. (eds.) : Systematics and biodiversity of sharks, rays, and chimaeras (Chondrichthyes) of Taiwan. Zootaxa, 3752 (1): 1–386.
- ↑ Compagno, L.J.V. & Marshall, A.D. (2006). "Rhynchobatus sp. nov. A". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2014.1.
{{cite web}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ "รายงานสรุปผลการดำเนินงานโครงการความร่วมมือระหว่างกรมประมงและโครงการจัดการระบบนิเวศน์ขนาดใหญ่ในอ่าวเบงกอล (BOBLME)" (PDF). กรมประมง. สืบค้นเมื่อ July 18, 2016.