ข้ามไปเนื้อหา

รานีลักษมีบาอี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Rani Lakshmibai)
ลักษมีบาอี
มหารานีแห่งฌานสี
ลักษมีบาอีขณะทรงเครื่องโสวัร
มหารานีพระบรมราชินีนาถแห่งรัฐฌานสี
ครองราชย์1843 - 21 พฤศจิกายน 1853
ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินรัฐฌานสี
(ในนาม)
ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน21 พฤศจิกายน 1853 - 1858
กษัตริย์ทโมทร ราว (ยังเป็นที่ถกเถียง)
ถัดไปสิ้นสุดราชอาณาจักร
ประสูติ19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1828(1828-11-19)
พาราณสี, รัฐเบนาเรส (ปัจจุบันคือพาราณสี รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย)
มณีกรรณิกา ตัมเบ (Manikarnika Tambe)
สวรรคต18 มิถุนายน ค.ศ. 1858(1858-06-18) (29 ปี)
ควาลิยัร, รัฐควาลิยัร, บริทิชอินเดีย (ปัจจุบันอยู่ใน รัฐมัธยประเทศ ประเทศอินเดีย)
ฝังพระศพฟูลบาฆ ควาลิยัร
คู่อภิเษกคงคาธร ราว เนวัลกัร (สมรส 1842; เสียชีวิต 1853)
พระราชบุตรทโมทร ราว (Damodar Rao)
อานันท์ ราว (บุญธรรม)
ราชวงศ์เนวัลกัร (โดยอภิเษกสมรส)
พระราชบิดาโมโรปันต์ ตัมเบ (Moropant Tambe)
พระราชมารดาภคิรฏี สัปเร (Bhagirathi Sapre)

ลักษมีบาอี รานีแห่งฌานสี (อักษรโรมัน: Lakshmibai, Rani of Jhansi, pronunciation; 19 พฤศจิกายน 1828 — 18 มิถุนายน 1858)[1][2] เป็นพระบรมราชินี มหารานีแห่งฌานสี รัฐมหาราชามราฐา จากปี 1843 ถึง 1853 ในฐานะพระราชินีในมหาราชาคงคาธร ราว[3] พระนางเป็นหนึ่งในผู้นำการกบฎอินเดียปี 1857 และกลายมาเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของการต่อต้านจักรวรรดิอังกฤษในอินเดีย

มหารานีสิ้นพระชนม์ราววันที่ 17 มิถุนายนใกล้กับป้อมควาลิยัร หลังกองพลฮัสซาร์ที่แปดของกองทัพจักรวรรดิอังกฤษ นำโดยกัปตันเฮเนียจ เข้าทะลวงกองพลภายใต้การนำของลักษมีบาอี และสังหารทหารอินเดียมากกว่า 5,000 นาย[4] จากนั้นจึงพุ่งตรงไปยังจุดบัญชาการที่รานีประทับอยู่ ข้อมูลที่อ้างโดยผู้เห็นเหตุการณ์ระบุว่ารานีลักษมีบาอีนำเครื่องทรงโสวัรขึ้นสวม พยายามต่อสู้กับแต่ได้รับบาดแผลเลือดไหลนองอยู่ริมทาง ก่อนจะถูกทหารอีกนายสังหารด้วยปืนคาร์ไบน์[5][6] หลังจากนั้นสามวัน กองทัพจักรวรรดิสามารถเข้ายึดครองควาลิยัรได้ ฮิวจ์ โรส (Hugh Rose) ระบุในรายงานการรบครั้งนี้ว่ารานีลักษมีบาอีเป็นผู้ที่ "โฉมงาม, ฉลาดเฉลียว และ งดงาม" และระบุว่าเป็น "ผู้นำฝั่งอินเดียที่อันตรายที่สุด"[7][8][9][10]

ในปี 2011 นิตยสารไทม์ขึ้นขื่อลักษมีบาอีเป็นหนึ่งใน "สิบอันดับภรรยาโคตรโหด" (Top Ten Badass Wives) ตลอดกาล[11]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Meyer, Karl E. & Brysac, Shareen Blair (1999) Tournament of Shadows. Washington, DC: Counterpoint; p. 138--"The Rani of Jhansi ... known to history as Lakshmi Bai, she was possibly only twelve in 1842 when she married the .. Rajah of Jhansi ..."
  2. Though the day of the month is regarded as certain historians disagree about the year: among those suggested are 1827 and 1835.
  3. "Who is Manikarnika?". 21 July 2017.
  4. Gold, Claudia, (2015) "Women Who Ruled: History's 50 Most Remarkable Women" ISBN 978-1784290863 p. 253
  5. David (2006), pp. 351–362
  6. Allen Copsey. "Brigadier M W Smith Jun 25th 1858 to Gen. Hugh Rose". Copsey-family.org. สืบค้นเมื่อ 7 July 2012.
  7. David, Saul (2003), The Indian Mutiny: 1857, London: Penguin; p. 367
  8. Ashcroft, Nigel (2009), Queen of Jhansi, Mumbai: Hollywood Publishing; p. 1
  9. Meyer Tournament; p. 145
  10. "The British believed they had found some of her bones at the place where she was said to have been hurriedly cremated by her followers, but this too is open to doubt."--Edwardes Red Year, p. 125
  11. Tharoor, Ishaan (July 21, 2011). "Top 10 Bad-Ass Wives". Time.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Vishnu Bhatt Godse.Maza Pravas: 1857 cya Bandaci Hakikat (Marathi "My journey: the truth about the 1857 rebellion")
  • Meyer, Karl E. & Brysac, Shareen Blair. Tournament of Shadows Washington D.C.: Counterpoint, 1999; pp. 138–45.
  • Verma, Janki Sharan Amar Balidani
  • Zila Vikas Pustika, 1996–97, Jhansi

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]