กิจการวิทยุคมนาคม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Radiocommunication service)
สถานีวิทยุในกิจการวิทยุสมัครเล่น

กิจการวิทยุคมนาคม (อังกฤษ: Radio communication service หรือ radiocommunication service) เป็นไปตามมาตรา 1 ข้อ 1.19 ของข้อบังคับวิทยุของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU Radio Regulations: ITU RR)[1] ซึ่งกำหนดว่า "กิจการ...ที่เกี่ยวข้องกับการส่ง การปล่อย และ/หรือ การรับคลื่นวิทยุเพื่อวัตถุประสงค์ด้านการโทรคมนาคมโดยเฉพาะ"

วิทยุคมนาคมถูกแบ่งออกเป็นวิทยุคมนาคมในอวกาศและบนภาคพื้น โดยวิทยุคมนาคมในอวกาศถูกกำหนดไว้ในข้อบังคับวิทยุฯ ว่า มาตรา 1 ข้อ 1.8 ระบุว่า "วิทยุคมนาใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้สถานีอวกาศตั้งแต่หนึ่งแห่งขึ้นไป หรือการใช้ดาวเทียมในการสะท้อนกลับหรือวัตถุอื่นในอวกาศตั้งแต่หนึ่งดวงขึ้นไป" ส่วนวิทยุคมนาคมภาคพื้นได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า "วิทยุคมนาคมใด ๆ นอกเหนือจากวิทยุคมนาคมอวกาศ หรือวิทยุดาราศาสตร์"

ในแต่ละประเทศจะมีหน่วยงานที่คอยกำกับดูแลกิจการวิทยุคมนาคม ทั้งในด้านของการใช้ความถี่[2]และด้านของอุปกรณ์ส่งสัญญาณ[3] โดยหน่วยงานนั้นมักจะเป็นสมาชิกของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศด้วย[4] ซึ่งอาจจะยึดตามข้อบังคับวิทยุของสหภาพฯ หรืออาจจะกำหนดกิจการอื่น ๆ เพิ่มเติมขึ้นมาได้

การแบ่งประเภท[แก้]

ส่วนที่ 3 ของมาตรา 2 ของข้อบังคับวิทยุของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ กำหนดคำจำกัดความของกิจการวิทยุเป็น 40 ประเภท โดยมีกิจการต่าง ๆ เช่น กิจการประจำที่ กิจการเคลื่อนที่ กิจการเคลื่อนที่ทางบก กิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ กิจการความถี่มาตรฐานและสัญญาณเวลา กิจการดาวเทียมต่าง ๆ รวมถึงให้คำจำกัดความของวิทยุดาราศาสตร์ ซึ่งหมายถึง "กิจการที่เกี่ยวข้องกับการใช้วิทยุดาราศาตร์" กิจการวิทยุดาราศาสตร์ไม่ใช่กิจการวิทยุคมนาคม แต่เป็นกิจการที่เกี่ยวข้องกับการใช้วิทยุดาราศาสตร์เท่านั้น

ข้อบังคับวิทยุของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ
ข้อ คำอธิบาย[5] ย่อ
1.19 กิจการวิทยุคมนาคม
1.20 กิจการประจำที่ (Fixed service) fixed
เลิกใช้งาน กิจการประจำที่ทางการบิน (Aeronautical fixed service)
1.21 กิจการประจำที่ผ่านดาวเทียม (Fixed-satellite service) FSS
1.22 กิจการติดต่อระหว่างดาวเทียม (Inter-satellite service) ISS
1.23 กิจการปฏิบัติการอวกาศ (Space operation service) SOS
1.24 กิจการเคลื่อนที่ (Mobile service) mobile
1.25 กิจการเคลื่อนที่ผ่านดาวเทียม (Mobile-satellite service) MSS
1.26 กิจการเคลื่อนที่ทางบก (Land mobile service) LMS
1.27 กิจการเคลื่อนที่ทางบกผ่านดาวเทียม (Land mobile-satellite service) LMSS
1.28 กิจการเคลื่อนที่ทางทะเล (Maritime mobile service) MMS
1.29 กิจการเคลื่อนที่ทางทะเลผ่านดาวเทียม (Maritime mobile-satellite service) MMSS
1.30 กิจการปฏิบัติการท่าเรือ (Port operations service) POS
1.31 กิจการเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของเรือ (Ship movement service) SMS
1.32 กิจการเคลื่อนที่ทางการบิน (Aeronautical mobile service) AMS
1.33 กิจการเคลื่อนที่ทางการบินในเส้นทางพาณิชย์ (Aeronautical mobile (R) service)[6] AMS (R)
1.34 กิจการเคลื่อนที่ทางการบินนอกเส้นทางพาณิชย์ (Aeronautical mobile (OR) service)[7] AMS (OR)
1.35 กิจการเคลื่อนที่ทางการบินผ่านดาวเทียม (Aeronautical mobile-satellite service) AMSS
1.36 กิจการเคลื่อนที่ทางการบินผ่านดาวเทียมในเส้นทางบินพาณิชย์ (Aeronautical mobile-satellite (R) service) AMS (R) S
1.37 กิจการเคลื่อนที่ทางการบินผ่านดาวเทียมนอกเส้นทางบินพาณิชย์ (Aeronautical mobile-satellite (OR) service) AMS (OR) S
1.38 กิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ (Broadcasting service) BS
1.39 กิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม (Broadcasting-satellite service) BSS
1.40 กิจการวิทยุตรวจการณ์และตรวจค้นหา (Radiodetermination service) RDS
1.41 กิจการวิทยุตรวจการณ์และค้นหาผ่านดาวเทียม (Radiodetermination-satellite service) DRSS
1.42 กิจการวิทยุนำทาง (Radionavigation service) RNS
1.43 กิจการวิทยุนำทางผ่านดาวเทียม (Radionavigation-satellite service) RNSS
1.44 กิจการวิทยุนำทางทางทะเล (Maritime radionavigation service) MRNS
1.45 กิจการวิทยุนำทางทางทะเลผ่านดาวเทียม (Maritime radionavigation-satellite service) MRNSS
1.46 กิจการวิทยุนำทางทางการบิน (Aeronautical radionavigation service) ARNS
1.47 กิจการวิทยุนำทางทางการบินผ่านดาวเทียม (Aeronautical radionavigation-satellite service) ARNSS
1.48 กิจการวิทยุหาตำแหน่ง (Radiolocation service) RLS
1.49 กิจการวิทยุหาตำแหน่งผ่านดาวเทียม (Radiolocation-satellite service) RLSS
1.50 กิจการช่วยอุตุนิยมวิทยา (Meteorological aids service)
1.51 กิจการสำรวจพิภพผ่านดาวเทียม (Earth exploration-satellite service) EESS
1.52 กิจการอุตุนิยมวิทยาผ่านดาวเทียม (Meteorological-satellite service)
1.53 กิจการความถี่มาตรฐานและสัญญาณเวลา (Standard frequency and time signal service) SFTS
1.54 กิจการความถี่มาตรฐานและสัญญาณเวลาผ่านดาวเทียม (Standard frequency and time signal-satellite service) SFTSS
1.55 กิจการวิจัยอวกาศ (Space research service) SRS
1.56 กิจการวิทยุสมัครเล่น (Amateur service) Amateur
1.57 กิจการวิทยุสมัครเล่นผ่านดาวเทียม (Amateur-satellite service) Amateur-satellite
1.58 กิจการวิทยุดาราศาสตร์ (Radio astronomy service) RAS
1.59 กิจการเพื่อความปลอดภัย (Safety service)
1.60 กิจการวิทยุพิเศษ (Special radio service)

กิจการย่อยและการกำหนดเอง[แก้]

กิจการบางชนิดเป็นส่วนย่อยของกิจการอื่น ตัวอย่างเช่น กิจการเคลื่อนที่ทางบกถือว่าเป็นสาขาหนึ่งของกิจการเคลื่อนที่ ซึ่งครอบคลุมหมดทั้งการเคลื่อนที่ทางบก ทางเรือ และทางอากาศ ซึ่งกิจการวิทยุคมนาคมภาคพื้นดินหลายประเภทมีการบริการวิทยุคมนาคมอวกาศ เช่น กิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ และ กิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม

ส่วนแยกย่อยเพิ่มเติมของกิจการต่าง ๆ ในระดับสากลอาจจะถูกกำหนดเพิ่มเติมขึ้นมาได้ในระดับประเทศ เช่น ภายในกิจการเคลื่อนที่ทางบก ประเทศนั้น ๆ อาจจะเลือกที่จะกำหนดกิจการอื่นเพิ่มเติม เช่น กิจการเพจจิ้ง กิจการวิทยุสื่อสารสองทาง กิจการโทรคมนาคม[8] กิจการวิทยุเคลื่อนที่ทรังก์ เป็นต้น ซึ่งคำจำกัดความของแต่ละส่วนย่อยเหล่านี้จะขึ้นอยู่กับลักษณะของกิจการนั้น ๆ มากกว่าที่จะอ้างอิงกิจการวิทยุคมนาคมในระดับสากล ซึ่งในอีกความหมายหนึ่ง "กิจการ" (Service) สามารถใช้งานได้ในสองลักษณะที่แตกต่างกันได้ ไม่ว่าจะในรูปแบบของการกำหนดเฉพาะในประเทศนั้น ๆ โดยมีข้อยกเว้นบางข้อที่ได้รับการยกเว้นจากข้อบังคับวิทยุฯ ซึ่งการใช้คลื่นความถี่จะต้องสอดคล้องกับคำจำกัดความสากลของกิจการวิทยุ

อ้างอิง[แก้]

  1. ITU Radio Regulations, Article 1, Section III – Radio services, No. 1.19, definition: Radiocommunication service
  2. มิติหุ้น, หนุ่ม (2023-05-25). "AIS ร่วมมือตำรวจไซเบอร์ กสทช. ทลายแก๊งมิจฉาชีพ ใช้เครือข่ายปลอมผิดกฎหมาย ส่ง SMS หลอกลวงประชาชน". มิติหุ้น | ชี้ชัดทุกการลงทุน.
  3. ตำรวจไซเบอร์ ร่วมกับ กสทช. สรรพสามิต ปูพรมค้นห้างดังกลางกรุง ยึดมือถืออุปกรณ์สื่อสารเถื่อน, สืบค้นเมื่อ 2023-10-10
  4. "รายงานการเข้าร่วม ITU Asia – Pacific Centres of Excellence Training on "Digital Broadcasting Technologies and Implementation"". www.nbtc.go.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง แผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ (พ.ศ. 2562) และที่แก้ไขเพิ่มเติม (PDF). สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. 2562.
  6. (R) – route หมายถึง ในเส้นทางบินพาณิชย์
  7. (OR) – off-route หมายถึง นอกเส้นทางพาณิชย์
  8. "กิจการโทรคมนาคม / เกี่ยวกับเรา". www.nbtc.go.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)