กิจการเคลื่อนที่ทางทะเล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กิจการเคลื่อนที่ทางทะเล (อังกฤษ: Maritime mobile service: MMS หรือ Maritime mobile radiocommunication service) เป็นกิจการเคลื่อนที่ (Mobile service) ระหว่างสถานีชายฝั่งและสถานีเรือ หรือหรือระหว่างสถานีเรือ หรือระหว่างสถานีสื่อสารประจำเรือ (On-board communication stations) ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งบริการนี้อาจถูกใช้งานโดยสถานียานช่วยชีวิต (Survival craft stations) และ สถานีวิทยุบอกตำแหน่งฉุกเฉิน (Emergency position-indicating radiobeacon stations)[1][2]

การจัดหมวดหมู่[แก้]

กิจการวิทยุคมนาคมแบ่งประเภทตามระเบียบของข้อบังคับวิทยุของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU Radio Regulations) (มาตรา 1) ดังนี้[2]

การจัดสรรคลื่นความถี่[แก้]

การจัดสรรความถี่วิทยุนั้น ถูกกำหนดตามมาตรา 5 ของข้อบังคับวิทยุของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (เพิ่มเติมปี พ.ศ. 2555)[3]

ในการปรับปรุงการใช้งานความถี่ร่วมกัน การจัดสรรของกิจการต่าง ๆ ส่วนใหญ่ที่มีการระบุไว้ในเอกสารได้ถูกรวบรวมไว้ในตารางการจัดสรรคลื่นความถี่ และการจัดสรรความถี่ระดับชาติ ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานที่กำกับดูแลการใช้ความถี่ของชาตินั้น ๆ โดยอาจจะกำหนดให้เป็นความถี่หลัก ความถีรอง ความถี่พิเศษ และความถี่ที่ใช้ร่วมกัน

  • การจัดสรรความถี่หลัก: ระบุด้วยการเขียนตัวพิมพ์ใหญ่ ในประเทศไทยใช้การขีดเส้นใต้[4]
  • การจัดสรรความที่รอง: ระบุด้วยการเขียนตัวพิมพ์เล็ก ในประเทศไทยใช้การไม่ขีดเส้นใต้[4]
  • การจัดสรรเฉพาะหรือใช้งานร่วมกัน: อยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายบริหาร

อย่างไรก็ตาม การใช้งานความถี่ในทางการทหารบนย่านความถี่ที่ใช้งานสำหรับพลเรือน จะเป็นไปตามข้อบังคับวิทยุของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ซึ่งในประเทศเนโท การใช้ความถี่ในทางทหารจะเป็นไปตามข้อตกลงร่วมกันในการใช้งานความถี่ของพลเรือนและทหารของเนโท (NATO Joint Civil/Military Frequency Agreement: NJFA)

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ITU Radio Regulations, Section IV. Radio Stations and Systems – Article 1.28, definition: maritime mobile service / maritime mobile service radiocommunication service
  2. 2.0 2.1 ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และระยะเวลาการแจ้งรายละเอียดที่ได้รับจัดสรรคลื่นความถี่ หรือใช้ประโยชน์คลื่นความถี่เพื่อการประกอบกิจการโทรคมนาคม (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 2555.
  3. ITU Radio Regulations, CHAPTER II – Frequencies, ARTICLE 5 Frequency allocations, Section IV – Table of Frequency Allocations
  4. 4.0 4.1 ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง แผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ (พ.ศ. 2562) และที่แก้ไขเพิ่มเติม (PDF). สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. 2562.