ปุษกร

พิกัด: 26°29′16″N 74°33′21″E / 26.487652°N 74.555922°E / 26.487652; 74.555922
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Pushkar)
ปุษกร
ภาพมุมสูงของนครปุษกร
ภาพมุมสูงของนครปุษกร
สมญา: 
ตีรถราชปุษกร
ปุษกรตั้งอยู่ในรัฐราชสถาน
ปุษกร
ปุษกร
ปุษกรตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
ปุษกร
ปุษกร
พิกัด: 26°29′16″N 74°33′21″E / 26.487652°N 74.555922°E / 26.487652; 74.555922
ประเทศ อินเดีย
รัฐราชสถาน
อำเภออัชเมร์
ความสูง510 เมตร (1,670 ฟุต)
ประชากร
 (2011)
 • ทั้งหมด21,626[1] คน
เขตเวลาUTC+5:30 (IST)

ปุษกร (อักษรเทวนาครี: पुष्कर, อักษรโรมัน: Pushkar) เป็นนครใกล้กับนครอัชเมร์ ตั้งอยู่ในอำเภออัชเมร์ รัฐราชสถาน ประเทศอินเดีย ตั้งอยู่ห่างไป 10 km (6.2 mi) ทางเหนือของอัชเมร์ และราว 150 กิโลเมตร (93 ไมล์) จากชัยปุระ[1] เมืองนี้เป็นจุดหมายปลายทางการแสวงบุญของศาสนิกชนศาสนาฮินดูและศาสนาซิกข์ และมีศาสนสถานตั้งอยู่มากมาย[1][2] หนึ่งในโบสถ์พราหมณ์หลังที่มีชื่อเสียงที่สุดของปุษกรคือพรหมมนเทียร ปุษกรเป็นนครศักดิ์สิทธิ์ในธรรมเนียมฮินดู โดยเฉพาะในคตินิกายศักติ[1][3] การบริโภคเนื้อสัตว์หรือไข่ยังเป็นสิ่งต้องห้ามที่นี่[4] ปุษกรตั้งอยู่บนฝั่งของทะเลสาบปุษกร และมีฆาฏตั้งอยู่เรียงราย ผู้มาแสวงบุญจะลงอาบน้ำที่ตามฆาฏเหล่านี้[3] ในคติซิกข์ คุรุนานักและคุรุโควินทสิงห์ล้วนมีความเกี่ยวพันกับเมืองนี้ หนึ่งในฆาฏบนทะเลสาบปุษกรมีชื่อว่าคุรุโควินทสิงหฆาฏ[5]

ปุษกรเป็นที่รู้จักเป็นพิเศษจากเทศกาลอูฐปุษกรประจำปี[1] ซึ่งจัดขึ้นนานเจ็ดวันในกรฏิกปูรณิมา และมีผู้เข้าชมมากกว่า 200,000 คน[3][6]

ชื่อของนครปุษกรมาจากภาษาสันสกฤต ปุษฺกร (पुष्कर) แปลว่า "ดอกบัวสีน้ำเงิน"[3][7]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 Pushkar, Encyclopaedia Britannica
  2. "Al-Hind: The Slavic Kings and the Islamic conquest, 11th-13th centuries", Page. 326
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 James G. Lochtefeld (2002). The Illustrated Encyclopedia of Hinduism: N-Z. The Rosen Publishing Group. p. 539. ISBN 978-0-8239-3180-4.
  4. David Abram (2003). The Rough Guide to India. Rough Guides. p. 192. ISBN 9781843530893.
  5. Gurmukh Singh (2009), Pushkar, Encyclopedia of Sikhism, Editor in Chief: Harbans Singh, Punjab University
  6. David L. Gladstone (2013). From Pilgrimage to Package Tour: Travel and Tourism in the Third World. Routledge. pp. 183–184. ISBN 978-1-136-07874-3.
  7. A. Kalyanaraman. Aryatarangini, the saga of the Indo-Aryans, Volume 2. Asia Pub. House, 1970. p. 551.