ปลาสร้อยนกเขาน้ำจืด
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ปลาสร้อยนกเขาน้ำจืด | |
---|---|
ส่วนใบหน้าและริมฝีปากที่เด่นของปลาสร้อยนกเขา (O. vittatus) | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Cypriniformes |
วงศ์: | Cyprinidae |
วงศ์ย่อย: | Labeoninae |
เผ่า: | Labeonini |
สกุล: | Osteochilus Günther, 1868 |
ชนิด | |
|
ปลาสร้อยนกเขาน้ำจืด หรือ ปลาสร้อยนกเขา เป็นสกุลของปลาน้ำจืดสกุลหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) โดยใช้ชื่อสกุลว่า Osteochilus (/อ็อสแตโอคิลุส/)
ลักษณะ
[แก้]ปลาในสกุลนี้มีลักษณะเด่นคือ ลักษณะปากที่ริมฝีปากบนและล่างหยักเป็นชายครุย ริมฝีปากล่างแผ่กว้างติดต่อกับคาง ส่วนหน้าขากรรไกรล่างเป็นแผ่นกระดูกมีขอบเป็นสัน ครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยวที่ขอบเรียบไม่เป็นหนามแข็ง มีก้านครีบแขนง 10-18 ก้าน ในบางชนิดมีหนวด 2 คู่ เป็นที่ริมฝีปากบน 1 คู่ และริมฝีปากล่าง 1 คู่ ในชนิดที่มีหนวดคู่เดียวจะอยู่เฉพาะที่มุมปาก ในหลายชนิดมีรูเล็ก ๆ บนปลายจะงอยปาก มีขนาดตั้งแต่ 20-40 เซนติเมตร เป็นปลาที่อาศัยอยู่รวมเป็นฝูงใหญ่ พบได้ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จนถึงจีนตอนล่าง ถือเป็นปลาที่หาได้ง่าย และมีความสำคัญทางเศรษฐกิจ
ชนิด
[แก้]ปัจจุบันพบแล้ว 35 ชนิด โดยมีชนิดที่พบได้บ่อยและมีความสำคัญ เช่น ปลาสร้อยนกเขา (O. hasseltii), ปลาพรมหัวเหม็น (O. melanopleurus), ปลาร่องไม้ตับ (O. microcephalus) เป็นต้น[2]
การจำแนก
[แก้]- Osteochilus bellus Popta, 1904
- Osteochilus bleekeri Kottelat, 2008
- Osteochilus borneensis (Bleeker, 1857)
- Osteochilus brachynotopteroides Chevey, 1934
- Osteochilus chini Karnasuta, 1993
- Osteochilus enneaporus (Bleeker, 1852) — ปลาหน้าหมอง
- Osteochilus flavicauda Kottelat & Tan, 2009
- Osteochilus harrisoni Fowler, 1905
- Osteochilus ingeri Karnasuta, 1993
- Osteochilus intermedius Weber & de Beaufort, 1916
- Osteochilus jeruk Hadiaty & Siebert, 1998
- Osteochilus kahajanensis (Bleeker, 1857)
- Osteochilus kappenii (Bleeker, 1857)
- Osteochilus kelabau Popta, 1904
- Osteochilus kerinciensis Tan & Kottelat, 2009
- Osteochilus kuekenthali Ahl, 1922
- Osteochilus lini Fowler, 1935
- Osteochilus longidorsalis (Pethiyagoda & Kottelat, 1994)
- Osteochilus melanopleurus (Bleeker, 1852) — ปลาพรม, ปลาพรมหัวเหม็น, ปลาพรหมหัวเหม็น
- Osteochilus microcephalus (Valenciennes, 1842) — ปลาร่องไม้ตับ, ปลาข้างลาย
- Osteochilus nashii (Day, 1869)
- Osteochilus partilineatus Kottelat, 1995
- Osteochilus pentalineatus Kottelat, 1982
- Osteochilus repang Popta, 1904
- Osteochilus salsburyi Nichols & Pope, 1927
- Osteochilus sarawakensis Karnasuta, 1993
- Osteochilus scapularis Fowler, 1939
- Osteochilus schlegelii (Bleeker, 1851)
- Osteochilus serokan Hadiaty & Siebert, 1998
- Osteochilus sondhii Hora & Mukerji, 1934
- Osteochilus spilurus (Bleeker, 1851)
- Osteochilus striatus Kottelat, 1998
- Osteochilus vittatoides Popta, 1904
- Osteochilus vittatus (Valenciennes, 1842) — ปลาสร้อยนกเขาน้ำจืด
- Osteochilus waandersii (Bleeker, 1852)[1] — ปลาร่องไม้ตับวานเดิร์ส
ในประเทศไทย
[แก้]ในประเทศไทย อาจเรียกปลาบางชนิดในสกุลนี้ว่า "ปลาซ่า" เนื่องมาจากพฤติกรรมที่รวมตัวกันเป็นฝูง เมื่อตกใจจะกระโดดขึ้นเหนือน้ำพร้อม ๆ กันจนเกิดเสียงดังซ่า โดยชื่อปลาซ่ายังหมายรวมถึงปลาในวงศ์ปลาตะเพียนอื่น ๆ ที่มีลักษณะใกล้เคียงกันอีกด้วย เช่น ปลาในสกุลปลาสร้อยลูกนุ่น (Labiobarbus) เป็นต้น
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 จาก FishBase (อังกฤษ)
- ↑ หน้า 122, สาระน่ารู้ปลาน้ำจืดไทย เล่ม ๑ โดย สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์ (พ.ศ. 2547) ISBN 974-00-8701-9
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Osteochilus ที่วิกิสปีชีส์