คิลบิล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Kill Bill)
คิลบิล
กำกับเควนติน ทาแรนติโน
เขียนบทเควนติน ทาแรนติโน
อำนวยการสร้างลอว์เรนซ์ เบ็นเดอร์
นักแสดงนำอูมา เธอร์แมน
เดวิด คาราดีน
ลูซี่ ลิว
แดรีล ฮันนาห์
จูลี่ ดรัยฟัส
วิวีก้า เอ. ฟอกซ์
ไมเคิล แมดเซน
ไมเคิล พาร์ค
ซอนนี่ ชิบะ
หลิวเจียหุย
ชิอะกิ คุริยะมะ
กำกับภาพโรเบิร์ต ริชาร์ดสัน
ตัดต่อแซลลี่ เมนเก้
ดนตรีประกอบRZA
ผู้จัดจำหน่ายมิราแม็กซ์ ฟิล์มส์
วันฉาย10 ตุลาคม ค.ศ. 2003 (สหรัฐอเมริกา)
21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 (ประเทศไทย)
ความยาว111 นาที
ประเทศสหรัฐอเมริกา
ภาษาอังกฤษ
ญี่ปุ่น
ฝรั่งเศส
จีนกลาง
จีนกวางตุ้ง
สเปน
ทุนสร้าง55,000,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ทำเงิน180,949,045 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ทั่วโลก)
ต่อจากนี้Kill Bill Vol.2
ข้อมูลจาก IMDb
ข้อมูลจากสยามโซน

คิลบิล (อังกฤษ: Kill Bill) เป็นผลงานลำดับที่ 4 ของผู้กำกับและนักเขียนบทคนดัง เควนติน ทาแรนติโน (Reservoir Dogs, Pulp Fiction, Jackie Brown) โดยเขาสร้างเรื่องนี้ จากแรงบันดาลใจที่เขามีต่อภาพยนตร์จีนกำลังภายใน, ภาพยนตร์ยากูซ่า, ภาพยนตร์ซามูไร และภาพยนตร์คาวบอยตะวันตก ในช่วงทศวรรษที่ 1970 เข้าฉายในประเทศไทยโดยใช้ชื่อภาษาไทยว่า นางฟ้าซามูไร

เนื้อเรื่อง[แก้]

Kill Bill Vol.1 เป็นตอนแรกของภาพยนตร์ชุดนี้ โดยภายหลังได้แบ่งออกฉายเป็น 2 ภาค ซึ่งในภาคแรกนี้เป็นในรูปแบบสไตล์ตะวันออก และ Kill Bill Vol.2 นำเสนอในรูปแบบสไตล์หนังคาวเกิล

Volume 1[แก้]

เดอะไบรด์ (อูม่า เธอร์แมน) เจ้าสาวที่กำลังเข้าพิธีแต่งงานในโบสถ์แถว เอล พาโซ่ แต่บิวล์ (เดวิด คาราดีน) พร้อมพวกสมาชิกได้บุกเข้ามาและเข้าทำร้ายเธอ จากนั้นเธอได้บอกกับบิวล์ว่ากำลังตั้งท้องลูกของเขา แต่บิวล์ก็ยิงเข้าศีรษะเธออย่างอำมหิต

Chapter 1 : 2[แก้]

5 ปีต่อมา เธอเริ่มออกตามล่าคนที่ทำร้ายเธอในโบสถ์ โดยเป้าหมายนี้คือ จินนี่ เบวล์ (วิวีก้า เอ. ฟอกซ์) หรือ เวโรนิต้า กรีน โดยเธอบุกเข้าไปในบ้านและเกิดการต่อสู้กัน จากนั้น นิกกี้ ลูกสาวของเวโรนิต้าก็กลับจากโรงเรียน และทั้งสองก็หยุดการต่อสู้กัน จากนั้นทั้งคู่ก็เดินเข้าไปในครัวและพูดคุยกัน แต่ เดอะไบรด์ ไม่ยอมใจอ่อน ทันใดนั้นเวโรนิต้าก็ใช้ปืนที่ซ่อนไว้ในกล่องขนมในตู้เย็นยิงใส่ แต่ เดอะไบรด์ ก็ใช้มีดพกของเธอ ขว้างเข้าใส่หน้าอกของ เวโรนิต้า อย่างเต็มแรง จนเวโรนิต้าขาดใจตายในที่สุด แต่ลูกสาวของเธอก็เข้ามาเห็นเหตุการณ์ โดย เดอะไบรด์ ให้สัญญาว่าถ้าเมื่อไหร่โตขึ้น ก็มาล้างแค้นให้กับแม่ของเธอได้ จากนั้น เดอะไบรด์ ก็ออกเดินทางเพื่อตามล้างแค้นในบัญชีของเธอต่อ ด้วยรถปิคอัพที่ชื่อ "Pussy Wagon"

Chapter 2 : Blood Splattered Bride[แก้]

ย้อนกลับไปยังเหตุการณ์สังหารหมู่ในโบสถ์ โดย เดอะไบรด์ เป็นผู้เดียวที่รอดชีวิตจากเหตุการณ์นั้น จากนั้นเธอก็ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลและนอนเป็นเจ้าหญิงนิทรา ทันใดนั้น แอวล์ ไดร์เวอร์ (แดรีล ฮันนาห์) ก็ปรากฏตัวพร้อมกับชุดนางพยาบาลและชุดเข็มฉีดยากับยาพิษ แต่ บิวล์ ได้โทรมาห้ามก่อนที่แอลล์จะฆ่าเดอะ ไบรด์

หลังจากนั้น เดอะไบรด์ ได้ฟื้นขึ้นมาพร้อมกับอาการที่ยังโคม่าอยู่ เธอได้หนีออกจากโรงพยาบาลหลังจากที่เธอฆ่าบุรุษพยาบาลที่ชื่อ บั๊ค เธอนั่งเก้าอี้รถเข็นพยาบาล และได้เข้าไปหลบในรถปิดอัพที่ชื่อ "Pussy Wagon" ของบั๊คและเธอก็ฝึกกายภาพบำบัดด้วยการขยับหัวแม่เท้า และเธอได้นึกถึงเป้าหมายแรกที่เธอจะคิดบัญชี

Chapter 3 : Origin of O-ren[แก้]

เดอะไบรด์ เล่าถึงตัวของ โอเรน อิชิอิ (ลูซี่ ลิว) โดยนำเสนอในรูปแบบการ์ตูนเคลื่อนไหว หลังจากที่ครอบครัวของโอเรนถูกยากูซ่าฆ่าตาย เธอก็เก็บความแค้นทั้งหมด เพื่อรอเวลาสังหารหัวหน้ายากูซ่าที่ฆ่าพ่อและแม่ของเธอ หลังจากที่เธอสังหารหัวหน้ายากูซ่าได้ เธอก็ผันตัวเองไปเป็นนักฆ่ามืออาชีพ โดยภายหลังได้เข้าร่วมเป็นสมุนของบิวล์ และเป็น 1 ใน4 ที่ทำร้าย เดอะ ไบรด ในโบสถ์วันนั้น

Chapter 4 : Man From Okinawa[แก้]

เดอะ ไบรด เดินทางไปยัง โอกินาว่า เพื่อขอคะตะนะ (ดาบซามูไร) ของ ฮัตโตริ ฮันโซ ที่เลิกจากวงการนี้และหันไปเปิดร้านซูชิ เดอะ ไบรด์ จึงหว่านล้อมด้วยเหตุผลว่าทำไมถึงต้องการดาบ และฮัตโตริก็เข้าใจในจุดประสงค์ของเธอ จึงได้ทำดาบให้เธอเป็นกรณีพิเศษ และเขาต้องผิดคำสาบานที่ให้ไว้กับบรรพบุรุษว่าจะไม่สร้างดาบไว้ใช้สังหารผู้คน

Chapter 5 : Showdown at the House of Blue Leaves[แก้]

เดอะ ไบรด์ เริ่มบัญชีแค้นคนแรก คือ โอเรน โดยเดอะไบรด์ สวมชุดขับมอเตอร์ไซค์สีเหลืองแถบสีดำ (ชุดคล้ายๆ บรู๊ซ ลี) เข้ามาในบ้านใบไม้สีน้ำเงิน (House of Blue Leaves) ซึ่งเป็นที่โอเรนกับสมาชิกแก็งค์ 88 ชอบมาสังสรรค์กัน และจากนั้นเดอะ ไบรดก็ปรากฏตัวขึ้น พร้อมกับต้องฝ่าด่านสมาชิกแก๊งค์ของโอเรน ซึ่งทั้งหมดนี้เดอะ ไบรด์ต้องเจอกับลูกสมุนของแก็งค์ 88 นับสิบ และในที่สุดเดอะ ไบรด์ สามารถจัดการโอเรนสำเร็จ และได้ไว้ชีวิต โซฟี ฟาเทวล์ (จูลี่ ดรัยฟัส) เพื่อมาบอกบิวล์ว่าเธอจะจัดการกับทุกคนที่ทำร้ายเธอในวันนั้น

ฉากจบของตอนนี้ คือคำพูดที่บิวล์บอกกับโซฟีว่า "เธอรู้หรือเปล่า ว่าลูกสาวของเธอยังมีชีวิตอยู่?"

Volume 2[แก้]

คิลบิล
ใบปิดภาพยนตร์ Kill Bill Vol.2 (นางฟ้าซามูไร 2)
กำกับเควนติน ทาแรนติโน
เขียนบทเควนติน ทาแรนติโน
อำนวยการสร้างลอว์เรนซ์ เบ็นเดอร์
นักแสดงนำอูมา เธอร์แมน
เดวิด คาราดีน
แดรีล ฮันนาห์
ไมเคิล แมดเซน
ไมเคิล พาร์ค
หลิวเจียหุย
กำกับภาพโรเบิร์ต ริชาร์ดสัน
ตัดต่อแซลลี่ เมนเก้
ดนตรีประกอบโรเบิร์ต โรดริเกซ
ผู้จัดจำหน่ายมิราแม็กซ์ ฟิล์มส์
วันฉาย24 เมษายน ค.ศ. 2004 (สหรัฐอเมริกา)
20 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 (ประเทศไทย)
ความยาว136 นาที
ประเทศสหรัฐอเมริกา
ภาษาอังกฤษ
ญี่ปุ่น
ฝรั่งเศส
จีนกลาง
จีนกวางตุ้ง
สเปน
ทุนสร้าง30 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ทำเงิน152,159,461 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ทั่วโลก)
ก่อนหน้านี้Kill Bill Vol.1
ข้อมูลจาก IMDb
ข้อมูลจากสยามโซน

Chapter 6 : Massacre at Two Pines[แก้]

เริ่มเรื่องของภาคนี้ จะย้อนไปยังถึงเหตุการณ์ในโบสถ์ ก่อนการสังหารหมู่ ซึ่งเปิดเรื่องโดยที่บิวล์ ได้เข้ามาในงานแต่งเพื่อพูดจากับเดอะไบรด์ ก่อนที่เธอจะเข้าสู่พิธีแต่งงาน โดยหารู้ไม่ว่า บิวล์ได้เตรียมสมุนทั้งสี่เข้ามาทำลายและปิดฉากชีวิตใหม่ของเดอะ ไบรด์

หลังจากนั้นก็เข้าสู่เหตุการณ์ปัจจุบัน โดยบิวล์ได้เดินทางไปหา บั๊ด (ไมเคิล แมดเซน) น้องชายแท้ๆ ของบิวล์คนเดียว เพื่อเตือนให้บั๊ดระวังการมาของเดอะ ไบรด์ แต่บั๊ดก็ได้เรียนรู้ถึงวัฎจักรการแก้แค้น และเตรียมพร้อมของการมาของเดอะไบรด์ โดยอาชีพของบั๊คคือพนักงานในคลับระบำโป๊

Chapter 7 : Lonely Grave of Paula Schulz[แก้]

เมื่อบั๊คกลับมาถึงรถบ้าน เดอะไบรด์ก็เปิดเผยตัวและเข้าจู่โจม แต่บั๊ดรู้ทันเธอก่อน เดอะไบรด์จึงโดนยิงเข้าเต็มอก แต่เพราะบั๊ดใช้เกลือสินเธาว์แทนกระสุนจริงจึงทำให้เธอไม่ตาย จากนั้นบั๊ดจึงยึดดาบของเธอและโทรศัพท์บอกแอลล์เพื่อขายดาบของเดอะไบรด์ที่ฮันโซตีขึ้นมาใหม่ที่ว่านี้ในราคา 1 ล้านเหรียญ จากนั้นจึงเอาตัวเดอะไบรด์เอาไปฝังในสุสานเท็กซัส โดยฝังในหลุมศพของ "พอลล่า ชูลซ์ท"

Chapter 8 : Cruel Tutelage of Pai Mei[แก้]

ในช่วงเวลาที่เธออยู่ในโลงศพ เธอได้ย้อนกลับไปคิดถึงสมัยที่เธอฝึกวิชาที่เมืองจีน โดยที่บิวล์พาไปฝึกที่สำนักวิชาของอาจารย์ ไป่เม่ย (หลิวเจียฮุย) โดยบิวล์บอกว่าไป่เม่ยมีวิชาดัชนีห้าจุดปลิดวิญญาณ ซึ่งเป็นสุดยอดวิชาของมวยจีน และเป็นความลับซึ่งไป่เม่ยไม่ยอมถ่ายทอดวิชานี้ให้แก่ใครทั้งสิ้นแม้แต่บิวล์ และนิสัยส่วนตัวของไป่ เม่ย คือ ไม่ชอบคนอเมริกัน จากนั้นไป่เม่ยก็รับเดอะไบรด์เข้าเป็นศิษย์โดนสอนวิชาฝ่ามือพิฆาต และเธอก็ใช้วิชานี้ในการออกจากโลงศพ

Chapter 9 : Elle and I[แก้]

หลังจากเดอะไบรด์เป็นอิสระ เธอก็ได้เดินทางไปหาบั๊ดเพื่อจัดการบัญชีแค้นของเธอ แต่ในเวลาเดียวกัน แอวล์ ก็ได้นำเงินรางวัลนำจับเอามาให้บั๊ด แต่ในระหว่างที่แอวล์คุยกับบั๊ด เขาก็เอาดาบของเดอะไบรด์ให้กับแอวล์ แต่เมื่อบั๊ดเปิดกระเป๋าเพื่อนับเงินรางวัลนำจับ เขาก็ถูกงูพิษที่แอวล์ใส่ไว้ในกระเป๋าเงินกัดเข้าที่หน้าอกและหลายที่ในร่างกาย และในที่สุดบั๊ดก็สิ้นใจตาย จากนั้นแอวล์ก็โทรศัพท์บอกบิวล์เกี่ยวกับหลุมศพที่ฝังเดอะไบรด์เอาไว้ พร้อมกับเฉลยปริศนาของชื่อที่แท้จริงของเดอะไบรด์ที่มีชื่อว่า "เบียทริกซ์ คิดโด้"

แต่ทันใดนั้นเดอะไบรด์ก็บุกเข้ามาในรถบ้านของบั๊ด และได้เกิดการต่อสู้กัน ในระหว่างที่ทั้งสองต่อสู้กัน แอวล์ก็ได้เฉลยปริศนาของตนเองว่าทำไมถึงมีตาข้างเดียว นั้นเป็นเพราะไป่เม่ยเป็นคนควักลูกตาของแอวล์และแอวล์ก็ฆ่าไป่เม่ยโดยวางยาในอาหาร เมื่อการสนทนาของทั้งสองจบลง เบียทริกซ์กับแอวล์ก็สู้กันต่อด้วยดาบซามูไร แต่เมื่อแอวล์กับเบียทริกซ์จ้องตาประสานกัน เบียทริกซ์ก็อาศัยช่วงที่แอวล์เผลอ ก็ควักลูกตาของแอวล์อีกข้างหนึ่งออกมา แอวล์กรีดร้องและด่าเดอะไบรด์ด้วยความเจ็บปวด และเบียทริกซ์ก็เหยียบลูกตาของแอวล์จนเละ จากนั้นเบียทริกซ์ก็หยิบดาบของตนเองและเดินจากรถบ้านของบั๊ดไปอย่างไม่มีวันกลับมาอีกตลอดชีวิต

Last Chapter : Face to Face[แก้]

เบียทริกซ์เดินทางมายังเม็กซิโกเพื่อมาหาเอสเตบัน วิฮาโญ่ (ไมเคิล พาค) พ่อเล้าแก่ผู้หนึ่งซึ่งเป็นคนเลี้ยงดูบิลมาตั้งแต่เด็ก และเอสเตบันคือกุญแจที่จะไขปริศนาว่าบิวล์อยู่ที่ไหน และเมื่อเบียทริกซ์รู้ว่าบิวล์อยู่ที่ไหนเธอก็ไม่รีรอที่จะปิดบัญชีแค้นคนสุดท้ายของเธอ แต่เมื่อเธอไปถึงบ้านของบิวล์ สิ่งที่คาดไม่ถึงก็เกิดขึ้น เมื่อเบียทริกซ์ได้พบกับ บีบี ลูกสาวแท้ๆ วัยสี่ขวบของเธอนั้นเอง ซึ่งกำลังหยอกเย้าอยู่กับบิวล์ผู้เป็นพ่อของบีบีแท้ๆ แต่เบียทริกซ์ก็พยายามเก็บความรู้สึกแค้น และเล่นกับบีบีอย่างสนุกสนานจนบีบีนอนหลับไป

ทันใดที่เบียทริกซ์พบกับบิวล์อย่างตาต่อตา การต่อสู้ครั้งสุดท้ายก็เกิดขึ้น แต่บิวล์ต้องการรู้เหตุผลทั้งหมดว่าทำไมเบียทริกซ์จึงคิดหันหลังให้กับวงการนักฆ่าและไปตั้งชีวิตใหม่กับแฟนคนใหม่ ซึ่งเบียทริกซ์เองถูกยิงด้วยเซรุ่มยาพูดความจริงของบิวล์ และเมื่อยาออกฤทธิ์เบียทริกซ์ก็เล่าความจริงทั้งหมด ว่าเธอไม่อยากให้ลูกสาวที่กำลังจะเกิดมาต้องมามีชีวิตที่พัวผันกับการฆ่าคน และจำเป็นต้องแกล้งทำเป็นว่าตัวเองตายไปกับงานชิ้นสุดท้าย ทำให้บิวล์เสียใจที่เป็นอย่างนั้น แต่เมื่อรู้ว่าความจริงว่าเบียทริกซ์โกหก บิวล์ก็เกิดความแค้นที่เขาถูกคนรักหักหลัง และเมื่อการสนทนาของทั้งสองจบลง การต่อสู้สั้นๆ ด้วยการดวลดาบก็เริ่มขึ้น แต่เบียทริกซ์ใช้วิชาลับสุดยอดอย่าง วิชาดัชนีห้าจุดปลิดวิญญาณ จัดการกับบิว์ล ซึ่งบิวล์เองไม่เคยรู้เลยว่าไป่เม่ยสอนวิชานี้กับเบียทริกซ์ ตัวเธอเองรู้สีกเสียใจที่ต้องฆ่าคนที่เธอรักที่สุดอย่างบิวล์ และเมื่อการล้างแค้นของเธอจบลง เบียทริกซ์ได้พาลูกสาวของเธอหนีไปเริ่มต้นชีวิตใหม่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง

จุดกำเนิด[แก้]

Lady Snowblood (1973) คือแรงบันดาลใจอันดับต้นๆของหนังเรื่องนี้ เพราะเนื้อเรื่องว่าด้วยเรื่องราวผู้หญิงที่พกเอาความแค้นจากการที่เธอต้องสูญเสียครอบครัวของเธอจากเหตุฆาตกรรม เธอจึงต้องการสังหารกลุ่มคนที่ฆ่าครอบครัวของเธอ หรือกระทั่งงานของผู้กำกับ ฟรองซัว ทรุฟโฟต์ เรื่อง The Bride Wore Black (1968) ที่บอกเล่าถึงเจ้าสาวที่ตามไล่ฆ่ากับกลุ่มคนที่ฆ่าเจ้าบ่าวตาย

คิวล์บิวล์ ถือว่าเป็นงานที่สร้างเพื่อรำลึกถึงหนังคาวบอยอิตาลี (Spaghetti Western) , หนังทุนต่ำเกี่ยวกับคนดำ, หนังแอ็คชั่นแนวกำลังภายใน, หนังแอ็คชั่นสไตล์ญี่ปุ่น หรือแม้กระทั่งหนังกังฟู ในยุค 1960 ถึง 1970 โดยเอกลักษณ์ที่แสดงให้เห็นได้ชัด คือ การใช้โลโก้ของ ชอว์ บราเดอร์ มาแปะที่หัวเรื่องในภาค Vol.1

รางวัลในประเทศไทย[แก้]

  • 1 ใน 5 ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจากงานเฉลิมไทย อวอร์ดครั้งที่ 1 (Quentin Tarantino) ภาค 1
  • 1 ใน 5 นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมจากงานเฉลิมไทย อวอร์ดครั้งที่ 1 (Uma Thurman) ภาค 1
  • 1 ใน 5 ดนตรีประกอบยอดเยี่ยมจากงานเฉลิมไทย อวอร์ดครั้งที่ 1 (ภาค 1)
  • 1 ใน 5 เพลงในภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจากงานเฉลิมไทย อวอร์ดครั้งที่ 1 ("Bang Bang") ภาค 1
  • 1 ใน 5 นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมจากงานเฉลิมไทย อวอร์ดครั้งที่ 2 (Uma Thurman) ภาค 2
  • 1 ใน 5 นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยมจากงานเฉลิมไทย อวอร์ดครั้งที่ 2 (David Caradine) ภาค 2