ข้ามไปเนื้อหา

สกุลศิลปะเค

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Kei school)
พระสังฆราชหกพระองค์แห่งฮ็อสโซ: เกียวงะ (Gyōga) โดย โคเก, 1189
วัดโคฟุกุ

ศิลปะเค (ญี่ปุ่น: 慶派) หรือ เคฮะ (Kei-ha) เป็นรูปแบบหนึ่งของศิลปะญี่ปุ่น (art school/style) ในการสร้างพระพุทธรูปหรือประติมากรรมในศาสนาพุทธ ที่เริ่มมีขึ้นในต้นยุคคามากูระ (c. 1200) และมีฐานอยู่ที่เมืองนาระ ศิลปะนี้ถือเป็นศิลปะที่มีอิทธิพลมากต่อศิลปะในพระพุทธศาสนาของญี่ปุ่นในศตวรรษที่ 14 และยังคงความมีอิทธิพลนี้จนถึงศตวรรษที่ 19 นักประวัติศาสตร์ศิลปะ โจน สตานเลย์ เบเกอร์ระบุว่างานยุคแรก ๆ ของศิลปะแบบเคนั้นเป็นจุดสูงสุดครั้งสุดท้ายในประวัติศาสตร์ประติมากรรมญี่ปุ่น[1]

ศิลปะไคนั้นพัฒนาขึ้นมาโดยนำโดย บึสชิ (busshi; ประติมากรรูปเคารพในศาสนาพุทธ) นามว่าโจโช (Jōchō), ผู้สืบทอดของโจโชนามว่า คาคูโจ (Kakujō) และบุตรชายของคาคูโจนามว่าไรโจ (Raijō) [2] อย่างไรก็ตาม ศิลปะแบบเคนั้นยังไม่ถือว่าเป็นศิลปะแบบเคจนกระทั่งหลังไรโจนั้นสืบทอดโดยโคเก (Kōkei) และ อูงเก (Unkei) ในราวปี 1200 ตามด้วยบุตรหกคนและผู้สืบทอดทั้งปวง[2]

เมืองเช่นนาระ กับเคียวโตะนั้นถูกทำลายลงหลังสงครามเก็มเป (Genpei War) ระหว่างปี 1180-1185 ศิลปะแบบเคได้รับโอกาสในการซ่อมแซมและทำนุบำรุงวัดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของนาระ วัดโทได และวัดโคฟุกุ พร้อมทั้งสร้างพระพุทธรูปองค์ใหม่ขึ้นทดแทนองค์เดิม ด้วยลักษณะที่มั่นคงและเป็นขนมของศิลปะตระกูลเคทำให้รูปแบบนี้ได้รับความนิยมจากรัฐบาลโชกุนคามากูระ นอกจากนี้ด้วยสกุลช่างเคนั้นไม่มีความสัมพันธ์กับราชสำนักดังเช่นที่ศิลปะอิง (In school) กับ ศิลปะเอ็ง (En school) มี จึงยิ่งช่วยเสริมให้รัฐโชกุนคามางูระอุปถัมภ์และสร้างให้ศิลปะแบบเคนี้มีอิทธิพลอย่างสูง[2]

การบูรณะวัดโทไดนั้นใช้เวลายาวนานหลายชั่วอายุคน ประมาณปี 1180 จนถึง 1212[3] และได้รับอิทธิพลจากศิลปะแบบราชวงศ์ถังกับราชวงศ์ซ่งของจีนมาประกอบ ทำให้เกิดองค์ประกอบใหม่ขึ้นในรูปแบบในขณะที่ยังคงขนบไว้ ได้เกิดรูปแบบประติมาน (iconographic) มนุษย์แบบใหม่ขึ้นที่มีความเรียบง่ายมากขึ้นและสมจริงมากขึ้น รวมทั้งใช้สีที่จัดจ้านน้อยลง (more subdue)[1] เป็นครั้งแรกที่มีการนำคริสตัลที่มีศูนย์กลางสีเข้มมาประดับเป็นดวงตาของรูปปั้น ถึงแม้ว่าศิลปะแบบเคจะเป็นการฟื้นฟูองค์ประกอบจากประติมากรรมจากยุคนาระ แต่โจน สตานเลย์ เบเกอร์ (Joan Stanley Baker) อธิบายว่าศิลปะแบบเคนั้นมีความเหนือจริง (idealised) น้อยกว่า, มีความเป็นปุถุชน (generic) และไร้อารมณ์ (impersonal) กว่างานยุคนาระ ประติมากรสกุลเคนั้นมุ่งเน้นที่การสร้างอัตลักษณ์เฉพาะขององค์ประธานในประติมากรรมที่สร้างและลักษณะทางกายภาพ (physical details) มากกว่า[1]

ประติมากรรม พระไวโรจนพุทธะ จากยุคปลายศตวรรษที่ 12 สร้างโดยอุงเค (Unkei) ได้ทำการประมูลขายที่คริสตีส์ เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2008 ปิดราคาประมูลอยู่ที่ US$14.37 ล้าน สร้างสถิติใหม่ของราคางานศิลปะญี่ปุ่นที่สูงที่สุดในการประมูล รวมทั้งเป็นงานศิลปะที่ราคาประมูลสูงที่สุดเท่าที่เคยมีขายในนิวยอร์กซิตีด้วย[4][5]

ศิลปินคนสำคัญ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  • Paine, Robert Treat and Alexander Soper. The Art and Architecture of Japan. New Haven: Yale University Press, 1981 (third ed.). pp 110–115.
  1. 1.0 1.1 1.2 Baker, Joan Stanley. Japanese Art. London: Thames and Hudson, 1984. p109.
  2. 2.0 2.1 2.2 "Keiha 慶派." Japanese Architecture and Art Users System (JAANUS). 2001. Accessed 17 November 2008.
  3. Munsterberg, Huge. The Arts of Japan: An Illustrated History. Tokyo: Charles E. Tuttle Company, 1957. p98.
  4. "Wooden Buddha sculpture sold for $14.3 million." Reuters. 18 March 2008. Accessed 18 November 2008.
  5. "A Highly Important Wood Sculpture of Dainichi Nyorai (Mahavairocana)." Christie's. Accessed 18 November 2008.