จัสท์วอทอิสอิทแดทเมคส์ทูเดส์โฮมส์โซดิเฟรินท์, โซอะพีลลิง?

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Just what is it that makes
today's homes so different, so appealing?
ศิลปินริเชิร์ด ฮามิลทัน
ปี1956
ประเภทภาพปะติด
มิติ26 cm × 24.8 cm (10.25 in × 9.75 in)
สถานที่Kunsthalle Tübingen, ทือบิงเงิน

จัสท์วอทอิสอิทแดทเมคส์ทูเดส์โฮมส์โซดิเฟรินท์, โซอะพีลลิง? (อังกฤษ: Just what is it that makes today's homes so different, so appealing?) เป็นภาพปะติดโดยศิลปินชาวอังกฤษริเชิร์ด ฮามิลทัน[1][2] ภาพปะติดนี้มีขนาด 10.25 นิ้ว (260 มิลลิเมตร) × 9.75 นิ้ว (248 มิลลิเมตร) ปัจจุบันเป็นหนึ่งในงานสะสมของพิพิธภัณฑ์ Kunsthalle Tübingen ในเมืองทือบิงเงิน ประเทศเยอรมนี งานชิ้นนี้เป็นงานชิ้นแรกของศิลปะประชานิยมที่ได้รับสถานะเป็นสัญลักษณ์ (iconic)[2]

ประวัติศาสตร์[แก้]

Just what is it that makes today's homes so different, so appealing? สร้างสรรค์ขึ้นในปี 1956 เพื่อเป็นแค็ตตาล็อกสำหรับงานจัดแสดง ดิสอิสทูมอร์โรว ในลอนดอน ประเทศอังกฤษ ที่ซึ่งผลิตซ้ำในรูปขาวดำ และปรากฏในโปสเตอร์ของงานจัดแสดง[3] ฮามิลทันและจอห์น แม็กเฮล กับ จอห์น โวล์กเคอร์ ยังร่วมกันสร้างวรรค์ผลงานในห้องที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดในนิทรรศการ

ที่มา[แก้]

ข้อมูลจากบทความในปี 2007 โดยนักประวัติศาสตร์ศิลป์ จอห์น-พอล สตอเนิร์ด (John-Paul Stonard) ภาพปะติดนี้ประกอบด้วยภาพที่นำมาจากนิตยสารอเมริกันเป็นหลัก ภาพพื้นหลังหลักคือภาพห้องนั่งเล่นที่เป็นภาพโฆษณาใน เลดีส์โฮมเจอร์นอล ให้กับอาร์มสตรอง ฟลอส์ (Armstrong Floors) ชื่อของงานปะติดนี้ยังนำมาจากคำกอปปีของโฆษณาชิ้นนี้ที่ว่า "Just what is it that makes today's homes so different, so appealing? Open planning of course—and a bold use of color." นักเพาะกล้ามที่ปรากฏคือเออร์วิน "ซาโบ" โคซเซวสกี ผู้ชนะเลิศการประกวดมิสเตอร์แอลเอ (Mr. L.A.) ในปี 1954 และนำมาจากนิตยสาร Tomorrow's Man ฉบับเดือนกันยายน 1954 ศิลปิน โจ แบร์ ผู้ซึ่งในวัยเยาวชนเคยโพสท่าสำหรับการถ่ายภาพลงในนิตยสารวาบหวิว อ้างว่าเธอคือผู้หญิงบนโซฟา อย่างไรก็ตาม นิตยสารที่มาของภาพนี้ยังไม่ได้รับการระบุ บันไดนำมาจากภาพถ่ายผลิตภัณฑ์ชุดใหม่ของ ฮูเวอร์ โมเดล "คอนสเตลเลชัน" และนำมาจากนิตยสารฉบับเดียวกันกับอาร์มสตรองฟลอส์ คือ Ladies Home Journal เดือนมิถุนายน 1955 ภาพปกของศิลปิน แจ็ค เคอร์บีให้กับ "Young Romance" นำมาจากโฆษณาให้กับนิตยสารที่มีในฉบับร่วม Young Love (ฉบับที่ 15, ปี 1950). โทรทัศน์นั้นเป็นรุ่นสโตรมบวร์ก-คาร์ลสัน นำมาจากโฆษณาฉบับปี 1955 ฮามิลทันเองกล่าวว่าพรมนั้นนำมาจากภาพถ่ายแสดงฝูงชนบนชายหาดวิทลีย์เบย์ ภาพของโลกได้มาจากนิตยสาร Life Magazine (กันยายน 1955)[4] ชายยุควิกตอเรียในภาพยังไม่ได้รับการระบุว่าเป็นใคร ส่วนวารสารบนเก้าอี้เป็นฉบับหนึ่งของ The Journal of Commerce ซึ่งก่อตั้งโดยผู้ริเริ่มก่อตั้งเดอะเทเลกราฟ แซมวล เอฟ. บี. มอร์ส[4] เครื่องอัดเทปเป็นรุ่น Boosey & Hawkes "Reporter" ผลิตในประเทศอังกฤษ[5] แต่ยังไม่สามารถระบุที่มาภาพได้ และวิวที่ปรากฏนอกหน้าต่างนั้นเป็นภาพถ่ายที่มีการผลิตซ้ำอย่างแพร่หลายของด้านนอกของโรงภาพยนตร์แห่งหนึ่งในปี 1927 และยังไม่พบที่มาของภาพ

อ้างอิง[แก้]

  1. Livingstone, Marco. Pop art: a continuing history, Thames and Hudson, 2000).
  2. 2.0 2.1 Dempsey, Amy. Styles, Schools and Movements, p. 217, Thames and Hudson, 2002. ISBN 0-500-23788-3
  3. "This is tomorrow". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 มกราคม 2010. สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2008. thisistomorrow2.com (scroll to "image 027TT-1956.jpg")
  4. 4.0 4.1 Stonard, John-Paul (กันยายน 2007). "Pop in the Age of Boom: Richard Hamilton's 'Just what is it that makes today's homes so different, so appealing?'" (PDF). The Burlington Magazine (149): 607–620. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 11 พฤษภาคม 2021. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2021.
  5. "'Reporter' tape recorder, 1953". Science Museum, London. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2014. สืบค้นเมื่อ 11 ธันวาคม 2014.