โลหะสตมภ์
เสาโลหะแห่งเดลี | |
พิกัด | 28°31′28.76″N 77°11′6.25″E / 28.5246556°N 77.1850694°E |
---|---|
ที่ตั้ง | หมู่โบราณสถานกุตุบ, ย่านเมหราวลี, เดลี, ประเทศอินเดีย |
ความสูง | 7.21 m (23 ft 8 in) |
อุทิศแด่ | พระวิษณุ |
โลหะสตมภ์แห่งเดลี (ฮินดี: लौह स्तंभ) หรือ เสาเหล็กแห่งเดลี (อังกฤษ: Iron Pillar of Delhi) เป็นสิ่งก่อสร้างสูง 7.2 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 16 นิ้ว ระบุว่าก่อสร้างโดย "พระเจ้าจันทระ" ("King Chandra") ซึ่งเป็นไปได้ว่าอาจจะเป็นพระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 2 (ครองราชย์ 375-415) ปัจจุบันตั้งอยู่ในหมู่โบราณสถานกุตุบ ในย่านเมหราวลี ในเดลี ประเทศอินเดีย[1][2] โลหะสตมภ์เป็นที่รู้จักจากความสามารถในการทนทานต่อสนิมขององค์ประกอบโลหะที่ใช้ในการก่อสร้าง เสานี้หนักมากกว่า 3000 กิโลกรัม และเชื่อว่าน่าจะเคยถูกปักไว้ที่อื่น ๆ มาก่อน อาจเป็นบริเวณด้านนอกถ้ำอุทัยคีรี (Udayagiri Caves)[3] แล้วจึงได้ย้ายมาที่บริเวณปัจจุบันในช่วงต้นของรัฐสุลต่านเดลี
โครงสร้างทางกายภาพ
[แก้]ส่วนสูงของเสาจากฐานเสาถึงปลายยอดคือ 7.21 เมตร และปักอยู่ในพื้นดินไป 1.12 เมตร เสาทรงระฆังนี้มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 30.6 เซนติเมตร ประมาณค่าน้ำหนักของเสาอยู่ที่มากกว่า 6 ตัน[4]
เสานี้ได้ดึงดูดความสนใจของทั้งนักโบราณคดี และนักวิทยาศาสตร์วัสดุ ด้วยความทนทานต่อการกร่อนที่สูงมากจนได้รับการขนานนามว่าเป็น "สักขีพยานของทักษะขั้นสูงที่นักตีเหล็กโบราณของอินเดียในการแยกและหลอมเหล็กนี้" ("testimony to the high level of skill achieved by the ancient Indian iron smiths in the extraction and processing of iron")[5][6] ความต้านทานต่อการกร่อนนี้เป็นผลมาจากชั้นของผลึก ไอร์ออน (III) ไฮโดรเจนฟอสเฟตไฮเดรต ที่เกิดขึ้นบนเหล็กที่มีฟอสฟอรัสเป็นองค์ประกอบสูงนี้ ที่ได้ช่วยปกป้องเสาจากสภาพอากาศของเดลี[5]
จารึก
[แก้]เสานั้นมีจารึกจำนวนหนึ่งซึ่งมาจากช่วงเวลาต่าง ๆ บางส่วนยังไม่ได้ศึกษาอย่างเป็นระบบ ทั้ง ๆ ที่เสานี้ตั้งอยู่อย่างโดดเด่นและเข้าถึงได้ง่ายดาย
จารึกพระเจ้าจันทระ
[แก้]จารึกที่เก่าแก่ที่สุดบนเสานั้นคือจารึกของพระเจ้าจันทระ (Inscription of King Chandra) เข้าใจกันโดยทั่วไปว่าคือจักรพรรดิแห่งอาณาจักรคุปตะพระนามว่าพระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 2[7] จารึกนั้นมีขนาด 2'9.5" × 10.5" อักษรโบราณนี้ได้ยังคงสภาพชัดเจนด้วยความต้านทานต่อการกร่อนของเหล็กของเสา อย่างไรก็ตามบางตัวอักษรนั้นมีส่วนด้อยด้วยว่าเป็นธรรมดาของการแกะสลักลงบนเหล็กอยู่แล้ว[8]
จารึกนั้นประกอบด้วยบทที่แต่งด้วยภาษาสันสกฤต โดยใช้มาตร ศรทุลวิกฤทิตา (shardulvikridita) มาตรในภาษาสันสกฤต[9] จารึกนั้นใช้อักษรคุปตะรูปแบบหนึ่งที่พบในหุบเขาทางตะวันออก อักษรต่าง ๆ นั้นมีขนาดตั้งแต่ 0.3125" ถึง 0.5" และมีความคล้ายกันกับอักษรบนจารึกของเสาอลาหาบาดของพระเจ้าสมุทรคุปต์ อย่างไรก็ตามมีลักษณะ มาตรา (diacritics) เฉพาะแบบ คล้ายกับในจารึก Bilsad ของ พระเจ้ากุมารคุปต์ที่ 1[10]
ข้อสันนิษฐานที่ได้รับการยอมรับที่สุดว่า พระเจ้าจันทระ นั้นหมายถึงพระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 2[11] มาจากข้อเท็จจริงหลายประการ เช่น รูปแบบอักษรและการแต่งกลอนนั้นเป็นลักษณะของอาณาจักรคุปตะปลายศตวรรษที่สี่ถึงต้นศตวรรษที่ห้า[12] และมีการระบุว่ากษัตริย์พระองค์นี้ทรงเป็นผู้เคารพบูชาพระวิษณุ และมีการบันทึกการปัก ธวัช (dhavaj; "มาตรฐาน" หรือ เสา) แห่งพระวิษณุ บนเขาชื่อวิษณุปทา (Vishnupada; "เขาของรอยพระบาทแห่งพระวิษณุ")[13] จากการศึกษาในจารึกคุปตะอื่น ๆ นั้นพบว่ามีการระบุพระเจ้าจันทรคุปต์ว่าทรงเป็น ภควตา (Bhagavata; ผู้บูชาพระวิษณุ)[10] ชื่อของสถานที่ต่าง ๆ ในจารึกเป็นรูปแบบเฉพาะของคุปตะด้วย เช่น ทักษิณชลนิธี (Dakshina Jalanidhi; มหาสมุทรอินเดีย) และ วังคะ (Vanga; ภูมิภาคเบงกอล)[13] และข้อเท็จจริงทางภาษาและประวัติศาสตร์อื่น ๆ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Finbarr Barry Flood, 2003, "Pillar, palimpsets, and princely practices", Res, Xliii, New York University, pp97.
- ↑ "IIT team solves the pillar mystery". Times of India. 2005.
- ↑ R. Balasubramaniam 2005, p. 1.
- ↑ Joshi, M.C. (2007). "The Mehrauli Iron Pillar". Delhi: Ancient History. Berghahn Books. ISBN 978-81-87358-29-9.
- ↑ 5.0 5.1 On the Corrosion Resistance of the Delhi Iron Pillar, R. Balasubramaniam, Corrosion Science, Volume 42 (2000) pp. 2103–2129. Corrosion Science is a publication specialized in corrosion science and engineering.
- ↑ Yoshio Waseda; Shigeru Suzuki (2006). Characterization of corrosion products on steel surfaces. Springer. p. vii. ISBN 978-3-540-35177-1.
- ↑ Agrawal, Ashvini (1989-01-01). Rise and fall of the imperial Guptas. p. 177. ISBN 978-81-208-0592-7.
- ↑ B. Chhabra & G. S. Gai 2006, pp. 179–180.
- ↑ B. Chhabra & G. S. Gai 2006, p. 181.
- ↑ 10.0 10.1 B. Chhabra & G. S. Gai 2006, p. 180.
- ↑ Delhi Iron Pillar: New Insights. R. Balasubramaniam, Aryan Books International, Delhi, and Indian Institute of Advanced Study, Shimla, 2002, Hardbound, ISBN 81-7305-223-9. [1] [2]
- ↑ M. C. Joshi, ed. King Chandra and the Mehrauli Pillar (Meerut, 1989).
- ↑ 13.0 13.1 R. Balasubramaniam 2005, p. 8.
บรรณานุกรม
[แก้]- B. Chhabra; G. S. Gai (2006). "Mehrauli Iron Pillar Inscription of Chandra". ใน Upinder Singh (บ.ก.). Delhi: Ancient History. Berghahn Books. ISBN 978-81-87358-29-9.
- Rene Noorbergen (2001). Secrets of the Lost Races: New Discoveries of Advanced Technology in Ancient Civilizations. TEACH Services. p. 57. ISBN 978-1572581982.
- Cynthia Talbot (2015). The Last Hindu Emperor: Prithviraj Cauhan and the Indian Past, 1200–2000. Cambridge University Press. ISBN 9781107118560.
- R. Balasubramaniam (2005). Story of the Delhi Iron Pillar. Foundation Books. ISBN 978-81-7596-278-1.
- King Chandra and the Mehrauli Pillar, M.C. Joshi, S.K. Gupta and Shankar Goyal, Eds., Kusumanjali Publications, Meerut, 1989.
- The Rustless Wonder – A Study of the Iron Pillar at Delhi, T.R. Anantharaman, Vigyan Prasar New Delhi, 1996.
- Delhi Iron Pillar: New Insights. R. Balasubramaniam, Aryan Books International, Delhi, and Indian Institute of Advanced Study, Shimla, 2002, Hardbound, ISBN 81-7305-223-9. [3] [4]
- The Delhi Iron Pillar: Its Art, Metallurgy and Inscriptions, M.C. Joshi, S.K. Gupta and Shankar Goyal, Eds., Kusumanjali Publications, Meerut, 1996.
- The World Heritage Complex of the Qutub, R. Balasubramaniam, Aryan Books International, New Delhi, 2005, Hardbound, ISBN 81-7305-293-X.
- "Delhi Iron Pillar" (in two parts), R. Balasubramaniam, IIM Metal News Volume 7, No. 2, April 2004, pp. 11–17 and IIM Metal News Volume 7, No. 3, June 2004, pp. 5–13. [5]
- New Insights on the 1600-Year Old Corrosion Resistant Delhi Iron Pillar, R. Balasubramaniam, Indian Journal of History of Science 36 (2001) 1–49.
- The Early use of Iron in India, Dilip K. Chakrabarti, Oxford University Press, New Delhi, 1992, ISBN 0195629922.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Detailed list of Publications on Delhi Iron Pillar by Balasubramaniam, IIT Kanpur
- IIT team solves the pillar mystery
- Corrosion resistance of Delhi iron pillar
- Nondestructive evaluation of the Delhi iron pillar Current Science, Indian Academy of Sciences, Vol. 88, No. 12, 25 June 2005 (PDF)
- The Delhi Iron Pillar
- IIT team solves the pillar mystery, 21 Mar 2005, Times of India (About Nondestructive evaluation of the Delhi iron pillar)
- "New Insights on the Corrosion Resistant Delhi Iron Pillar" by R. Balasubramaniam