ไฮเนอเกิน (บริษัท)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Heineken International)
บริษัทไฮเนเกินจำกัด
ประเภทบริษัทมหาชนจำกัด
การซื้อขาย
ISINNL0000009165
อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม
ก่อตั้ง15 กุมภาพันธ์ 1864; 160 ปีก่อน (1864-02-15)
ผู้ก่อตั้งเคราร์ด อาดรียาน ไฮเนอเกิน
สำนักงานใหญ่,
พื้นที่ให้บริการ
ทั่วโลก
บุคลากรหลัก
ฌอง-ฟรองซัวส์ ฟัน บ็อกซ์เมร์ (ประธาน/CEO)[1]
โลเรนซ์ เดบรูซ์(CFO)[1]
ผลิตภัณฑ์ไฮเนเก้น
รายได้เพิ่มขึ้น 21.888 billion (2017)[2]
รายได้จากการดำเนินงาน
เพิ่มขึ้น €3.129 billion (2014)[3]
รายได้สุทธิ
เพิ่มขึ้น €1.758 billion (2014)[3]
สินทรัพย์เพิ่มขึ้น €34.830 billion (2014)[3]
ส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้น €12.409 billion (2014)[3]
พนักงาน
76,136 (2014)[3]
เว็บไซต์theheinekencompany.com

บริษัทไฮเนอเกินจำกัด (Heineken N.V.) เป็นบริษัทผลิตเบียร์สัญชาติดัตช์ ก่อตั้งขึ้นโดยเคราร์ด อาดรียาน ไฮเนอเกิน ชาวดัตช์ที่กรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์เมื่อปี ค.ศ. 1864 เป็นเจ้าของโรงเบียร์กว่า 165 แห่งใน 70 ประเทศทั่วโลกในปี ค.ศ. 2017 ผลิตเบียร์และจัดจำหน่ายเบียร์และไซเดอร์กว่า 250 ประเภท มีพนักงานราว 73,000 คน[4]

ในปี ค.ศ. 2015 บริษัทผลิตเบียร์กว่า 18,830 ล้านลิตรทำรายได้ทั่วโลกราว 20,511 พันล้านยูโร[5] ถือเป็นบริษัทผู้ผลิตเบียร์รายใหญ่ที่สุดของยุโรปและเป็นบริษัทเบียร์ยักษ์ใหญ่ของโลกในด้านปริมาณการผลิต[6] โรงเบียร์ของไฮเนอเกินตั้งอยู่ที่เมืองซูเตอร์เวาเดอในจังหวัดเซาท์ฮอลแลนด์ เซร์โทเคนบอสในจังหวัดนอร์ทบราบรันต์ และไวล์เรอในจังหวัดลิมบูร์กของเนเธอร์แลนด์ ขณะที่โรงเบียร์ต้นกำเนิดในกรุงอัมสเตอร์ดัมนั้นปิดตัวลงไปในแล้วในปี ค.ศ. 1988 และเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ให้นักท่องเที่ยวได้เยี่ยมชม

ประวัติ[แก้]

เคราร์ด อาดรียาน ไฮเนอเกิน[แก้]

บริษัทไฮเนอเกิน ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1864 เมื่อเคราร์ด อาดรียาน ไฮเนอเกิน วัย 22 ปีซื้อโรงเบียร์ที่มีชื่อว่า เดอ โฮยแบร์ก (แปลว่า กองหญ้าแห้ง) ในกรุงอัมสเตอร์ดัม ต่อมามีการใช้ยีสต์หมักนอนก้นมาใช้ในกระบวนการหมักเบียร์ในปี ค.ศ. 1869 และเปลี่ยนชื่อโรงเบียร์เป็น สมาคมโรงเบียร์ไฮเนอเกิน (Heineken's Bierbrouwerij Maatschappij หรือ HBM) เมือปี ค.ศ. 1873 แล้วเปิดโรงเบียร์แห่งที่สองที่รอตเตอร์ดามในปีถัดมา จากนั้นเมื่อปี ค.ศ. 1886 ดร.เอลิยง นักเรียนของหลุยส์ ปาสเตอร์ นักเคมีชาวฝรั่งเศสได้พัฒนายีสต์สายพันธุ์ใหม่ชื่อ ไฮเนเคิน A-ยีสต์ ขึ้นที่ห้องวิจัยไฮเนอเกิน ทำให้เบียร์มีลักษณะเฉพาะที่เป็นที่นิยม ยีสต์ชนิดนี้ยังถูกใช้เป็นส่วนผสมของเบียร์ไฮเนอเกินจนถึงปัจจุบัน

เฮนรี ปิแอร์ ไฮเนอเกิน[แก้]

ต่อมา เฮนรี ปิแอร์ ไฮเนอเกิน บุตรชายของผู้ก่อตั้งเข้าบริหารบริษัทในช่วง ค.ศ. 1917 ถึง 1940 ในช่วงนี้ ไฮเนอเกินได้พัฒนาเทคนิคให้สามารถคงคุณภาพของเบียร์ไว้ได้แม้จะผลิตในปริมาณมาก

หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง บริษัทหันมาเน้นการผลิตเพื่อการส่งออกมากขึ้น ไฮเนอเกินเป็นบริษัทแรกที่ส่งออกเบียร์ไปสู่นิวยอร์กเพียงช่วงเวลาสามวันหลังการยกเลิกกฎหมายห้ามจำหน่ายเบียร์ในสหรัฐอเมริกา นับจากวันนั้น ไฮเนอเกินยังคงเป็นบริษัทเบียร์ต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในสหรัฐอเมริกา

อัลเฟรด เฮนรี ไฮเนอเกิน[แก้]

ต่อมา อัลเฟรด เฮนรี ไฮเนอเกิน บุตรชายของเฮนรี ปิแอร์ ไฮเนอเกิน เข้ารับช่วงบริหารต่อในปี ค.ศ. 1940 ถึง 1971ในตำแหน่งประธานของบอร์ดบริหาร อัลเฟรดเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการขยายกิจการของไฮเนอเกินไปสู่ตลาดโลก และยังคงทำงานกับบริษัทจนสิ้นวาระสุดท้ายของชีวิตในปี ค.ศ. 2002

ในยุคนี้ ไฮเนอเกินเข้าซื้อหุ้นจากบริษัทเบียร์คู่แข่งและทยอยปิดกิจการบริษัทเหล่านั้นไปโดยเฉพาะโรงเบียร์ขนาดเล็ก จากนั้นได้ควบรวมกิจการกับเบียร์อัมสเติล (Amstel) ในปี ค.ศ. 1975 และเปิดโรงเบียร์ใหม่ที่ซูเตอร์เวาเดอ โรงเบียร์ของอัมสเติลถูกปิดไปในปี ค.ศ. 1980 และย้ายฐานการผลิตไปที่ซูเตอร์เวาเดอและเซร์โทเคนบอส

ปัจจุบัน[แก้]

ไฮเนอเกินยังคงเดินหน้าซื้อและควบรวมกิจการของบริษัทเบียร์ข้ามชาติในอีกหลายทวีป จนปัจจุบัน เป็นเจ้าของโรงเบียร์กว่า 165 แห่งใน 70 ประเทศ โดยในประเทศไทยนั้นมี บริษัทไทยเอเชียแปซิฟิกบริวเวอรี เป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่าย

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Executive Team". Heineken. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 August 2015. สืบค้นเมื่อ 6 July 2015.
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-17. สืบค้นเมื่อ 2020-04-18.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 [1]
  4. "Press Release". Heineken. 20 January 2017. สืบค้นเมื่อ 5 February 2017.
  5. "Heineken N.V. 2015 Annual Report". Heineken. Heineken. 17 February 2016. สืบค้นเมื่อ 5 February 2017.
  6. "Company Profile". Heineken. Heineken N.V. 2017. สืบค้นเมื่อ 5 February 2017. With recent acquisitions in Africa, India, Asia and Latin America, we are continuing to increase our presence within emerging markets, which will contribute to our ongoing growth.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]