กง
กง | |
---|---|
กง | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | พืช (Plantae) |
หมวด: | พืชดอก (Magnoliophyta) |
ชั้น: | พืชใบเลี้ยงเดี่ยว (Monocotyledoneae) |
ชั้นย่อย: | Commelinidae |
อันดับ: | Commelinales |
วงศ์: | กง (Hanguanaceae) |
สกุล: | กง (Hanguana) |
สปีชีส์: | กง (H. malayana) |
ชื่อทวินาม | |
Hanguana malayana (Jack, Merr., 1915) |
กง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Hanguana malayana) เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวอยู่ในวงศ์กง เป็นพืชจำพวกไม้ล้มลุก เมื่อโตเต็มที่อาจสูงถึง 2 เมตร มีไหลลอยน้ำได้ ใบเป็นรูปใบหอกเรียว ยาว 20-120 เซนติเมตร ปลายใบแหลมยาว โคนใบรูปลิ่ม แผ่นใบค่อนข้างหนา เส้นแขนงใบเรียงขนานกัน มีเส้นแขนงใบย่อยตัดขวางจำนวนมาก กาบใบยาวหุ้มลำต้น ก้านใบช่วงล่างยาวกว่าช่วงปลายต้น ช่อดอกแบบแยกแขนง ยาวได้ถึง 120 เซนติเมตร[1]
ดอกของกงจะออกเดี่ยว ๆ หรือเป็นกระจุกเล็ก ๆ บนช่อแยกแขนง มีกลีบรวม 6 กลีบ วงนอก 3 กลีบ ยาว 2-2.5 มิลลิเมตร วงใน 3 วงยาวกว่าวงนอกเล็กน้อย มีสีเหลืองอมเขียวหรือสีขาว มีจุดสีแดงด้านใน เกสรเพศผู้ติดอยู่ที่โคนกลีบรวม ยาวประมาณ 0.3 เซนติเมตร เกสรเพศผู้ที่เป็นหมันขนาดเล็กในดอกเพศเมีย เกสรเพศเมียติดทน ส่วนผล เมื่อสุกจะมีสีแดง รูปรี ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร
ต้นกงมีการกระจายพันธุ์กว้าง พบตั้งแต่ประเทศศรีลังกา เวียดนาม และแถบคาบสมุทรมลายู ส่วนในประเทศไทยพบเฉพาะภาคใต้ ขึ้นในน้ำตามลำห้วย ป่าพรุ ที่ชื้นแฉะ หรือขึ้นตามพื้นดินที่ลาดชันในป่าดิบชื้น ขึ้นตั้งแต่ระดับน้ำทะเลจนถึงประมาณ 700 เมตร[1]
ชื่อพ้องและชื่อท้องถิ่น
[แก้]ต้นกงมีชื่อพ้องหลายชื่อ[2] รวมถึงในประเทศไทยมีการเรียกชื่อแตกต่างกันในแต่ละที่[3] ดังนี้
- ชื่อพ้อง
- Veratrum malayanum (Jack, 1820)
- Hanguana kassintu (Blume, 1827)
- Susum anthelminthicum (Blume in J.J.Roemer & J.A.Schultes, 1830)
- Veratronia malayana (Jack, Miq., 1859)
- Susum minus (Miq., 1861)
- Susum kassintu (Blume, Kurz, 1873)
- Susum malayanum (Jack, Planch., 1892)
- Susum malayanum f. aquatica (Backer, 1924)
- Hanguana aquatica (Kaneh., 1935)
- Hanguana anthelminthica (Blume, Masam., 1942)
- ชื่อท้องถิ่น
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 กง จากสารานุกรมพืชในประเทศไทย สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, สืบค้นวันที่ 1 พฤศจิกายน 2553
- ↑ Hanguana malayana จากเว็บไซต์ สวนพฤกษศาสตร์หลวงเมืองคิว: World Checklist of Selected Plant Families, สืบค้นวันที่ 1 พฤศจิกายน 2553
- ↑ ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ เก็บถาวร 2010-05-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากสำนักหอพรรณไม้, สืบค้นวันที่ 1 พฤศจิกายน 2553