สถาบันเทคโนโลยีจอร์เจีย
ชื่อย่อ | GT |
---|---|
คติพจน์ | Progress and Service |
ประเภท | มหาวิทยาลัยรัฐบาล |
สถาปนา | ค.ศ. 1885 |
เว็บไซต์ | www.gatech.edu |
สถาบันเทคโนโลยีจอร์เจีย (อังกฤษ: Georgia Institute of Technology) หรือรู้จักในชื่อ จอร์เจียเทค (Georgia Tech) เป็นมหาวิทยาลัยรัฐบาลของสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ที่เมืองแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย จอร์เจียเทคจัดเป็นมหาวิทยาลัยประเภทเน้นการวิจัย (research university) โดยเป็นส่วนหนึ่งในเครือมหาวิทยาลัยแห่งรัฐจอร์เจีย (University System of Georgia) จอร์เจียเทคมีวิทยาเขตหลายแห่งทั่วโลก ได้แก่ ที่เมือง Savannah รัฐจอร์เจีย, เมือง Metz ประเทศฝรั่งเศส, เมือง Athlone ประเทศไอร์แลนด์, เมือง Shanghai ประเทศจีน และประเทศสิงคโปร์ [1] จอร์เจียเทคก่อตั้งเมื่อ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2428 มีนักศึกษา ประมาณ 20,000 คน และมีคณาจารย์มากกว่า 1,000 ท่าน จอร์เจียเทคมีชื่อเสียงทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ โดยได้รับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาโดยนิตยสารยูเอสนิวส์ให้อยู่ในสิบอันดับแรกทางด้านวิศวกรรมเสมอในช่วงสิบปีที่ผ่านมา โดยมีชื่อเสียงที่สุดในด้านวิศวกรรมอุตสาหการซึ่งได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในอันดับ 1 มาเป็นเวลา 20 ปีติดต่อกันถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2553)
การศึกษา
[แก้]- Colleges of Architecture
- Colleges of Engineering
- Daniel Guggenheim School of Aerospace Engineering
- Wallace H. Coulter Department of Biomedical Engineering
- School of Chemical and Biomolecular Engineering
- School of Civil and Environmental Engineering
- School of Electrical and Computer Engineering
- H. Milton Stewart School of Industrial and Systems Engineering
- School of Materials Science and Engineering
- George W. Woodruff School of Mechanical Engineering
- Colleges of Sciences
- Colleges of Computing
- Colleges of Management
- Ivan Allen College of Liberal Arts
การวิจัย
[แก้]ปัจจุบันจอร์เจียเทคจัดเป็นมหาวิทยาลัยที่มุ่งเน้นการวิจัยเป็นอย่างมากตามการจัดของ The Carnegie Foundation for the Advancement of Teaching[2] งานวิจัยต่างๆได้รับการสนับสนุนทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน โดยงานวิจัยส่วนหนึ่งมาจากห้องทดลองภายในภาควิชาต่างๆในมหาวิทยาลัย และอีกส่วนหนึ่งก็มาจากสถาบันวิจัยของมหาวิทยาลัยเอง ได้แก่ สถาบันวิจัยจอร์เจียเทค (GTRI) ซึ่ง GTRI มุ่งเน้นการวิจัยทางเทคโนโลยีที่หลากหลาย เช่น เรดาร์, electro-optics, และวิศวกรรมวัสดุศาสตร์ เป็นต้น นอกจากนี้จอร์เจียเทคยังเป็นเจ้าของศูนย์วิจัยนาโนเทคโนโลยีที่ถือได้ว่ามี clean room ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา[3]
ในส่วนการทำวิจัยด้านหุ่นยนต์ จอร์เจียเทคได้ก่อตั้ง Center for Robotics and Intelligent Machines (RIM@GT) ขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 2006 โดยถือเป็นหน่วยวิจัยสหวิชาที่เป็นการร่วมมือระหว่างนักวิจัยจากคณะต่างๆภายในมหาวิทยาลัย ได้แก่ College of Computing, College of Engineering และ GTRI ในปัจจุบัน RIM@GT เปิดหลักสูตรระดับปริญญาเอกทางด้านหุ่นยนต์ โดยถือเป็นหลักสูตรสหวิชาทางด้านหุ่นยนต์เป็นรายที่สองต่อจากมหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน[4]
การจัดอันดับ
[แก้]การจัดอันดับโดยนิตยสารยูเอสนิวส์ ปี 2011 ในระดับบัณฑิตศึกษา [5] เป็นดังนี้
- อันดับ 4 วิศวกรรมศาสตร์
- อันดับ 1 วิศวกรรมอุตสาหการ
- อันดับ 2 วิศวกรรมชีวการแพทย์
- อันดับ 3 วิศวกรรมโยธา
- อันดับ 4 วิศวกรรมการบินและอวกาศยาน
- อันดับ 5 วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
- อันดับ 6 วิศวกรรมเครื่องกล
- อันดับ 6 วิศวกรรมไฟฟ้า
- อันดับ 6 วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
- อันดับ 8 วิศวกรรมวัสดุ
- อันดับ 8 วิศวกรรมนิวเคลียร์
การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก โดย Times Higher Education - QS World University Rankings
ศิษย์เก่า
[แก้]- จิมมี คาร์เตอร์ อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา และรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ
- Kary Mullis รางวัลโนเบลสาขาเคมี ปี ค.ศ. 1993
- ศ.ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานกรรมการบริหารและประธานผู้บริหาร วิทยาลัยการศึกษาทางไกลอินเทอร์เน็ต มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (ABAC) ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็น "บุรษคอมพิวตอร์แห่งเอเชียและบิดาอีเลิร์นนิ่งไทย" [8] นอกจากนี้ยังเป็นคนไทยคนแรกที่จบจากจอร์เจียเทค
- กานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)
- ณัฐวุฒิ อมรวิวัฒน์ พิธีกรรายการเจาะใจ
- ดร.ก้องภพ อยู่เย็น วิศวกร องค์การนาซ่าทำงานประจำอยู่สถาบัน "กอดดาร์ด สเปซ ไฟลท์ เซ็นเตอร์" ศูนย์วิจัยเกี่ยวกับการสำรวจโลกและจักรวาล ที่รัฐแมริแลนด์
- นาวาอากาศตรี ปุณมี ปุณศรี อดีตรัฐมนตรีชาวไทย
วิทยาเขตอื่นๆ
[แก้]- วิทยาเขต Savannah
- วิทยาเขต Lorraine
- วิทยาเขต Shanghai
- วิทยาเขต Singapore
อ้างอิง
[แก้]- ↑ http://www.gatech.edu/campuses/
- ↑ http://www.carnegiefoundation.org/classifications/sub.asp?key=748&subkey=13948&start=782
- ↑ http://smartech.library.gatech.edu/dspace/bitstream/1853/22208/1/oop06-063_Nanotech_grbreaking_8-06.pdf[ลิงก์เสีย]
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-12. สืบค้นเมื่อ 2008-12-25.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-18. สืบค้นเมื่อ 2008-12-24.
- ↑ http://www.topuniversities.com/worlduniversityrankings/results/2007/subject_rankings/technology
- ↑ http://www.topuniversities.com/worlduniversityrankings/results/2007/overall_rankings/top_100_universities/
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-24. สืบค้นเมื่อ 2021-10-01.