อาหารดัดแปรพันธุกรรม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Genetically modified food)

อาหารดัดแปรพันธุกรรม (อังกฤษ: genetically modified foods หรือ GM foods) เป็นอาหารที่ผลิตจากสิ่งมีชีวิตที่ดีเอ็นเอของมันมีการเปลี่ยนแปลงบางอย่างโดยใช้วิธีการทางพันธุวิศวกรรม เทคนิคเหล่านี้ทำให้เกิดลักษณะทางพันธุกรรมใหม่ซึ่งทำให้ต้องมีการควบคุมมากยิ่งขึ้นกว่าการสร้างทางพันธุกรรมในอาหารแบบเก่าก่อนหน้านี้โดยวิธีการเช่นการปรับปรุงพันธุ์แบบคัดเลือก (selective breeding) และการปรับปรุงพันธุ์แบบกลายพันธุ์ (mutation breeding) [1]

การนำออกสู่ตลาดในเชิงพาณิชย์ของพืชดัดแปรพันธุกรรมได้เริ่มต้นขึ้นในปี 1994 เมื่อบริษัท Calgene วางตลาด Flavr SAVR (มะเขือเทศสุกช้า) เป็นครั้งแรก[2] จนถึงปัจจุบัน การดัดแปรพันธุกรรมของอาหารส่วนใหญ่ได้เน้นหลักในพืชทำเงินที่มีความต้องการสูงโดยเกษตรกรเช่นถั่วเหลืองดัดแปลง ข้าวโพดดัดแปลง คาโนลา และน้ำมันเมล็ดฝ้าย พืชเหล่านี้ได้รับการดัดแปลงให้มีความต้านทานต่อเชื้อโรคและสารเคมีกำจัดวัชพืชและมีรูปแบบของสารอาหารที่ดีกว่า ปศุสัตว์ก็ได้รับการพัฒนาดัดแปลงแบบทดลองเช่นกัน แม้ว่า ณ เดือนพฤศจิกายน 2013 ยังไม่มีอยู่ในตลาด[3]

มีฉันทามติทางวิทยาศาสตร์ในวงกว้างว่าอาหารในตลาดที่ได้มาจากพืชจีเอ็มโอไม่ได้แสดงความเสี่ยงต่อสุขภาพของมนุษย์มากไปกว่าอาหารธรรมดา[4][5][6][7][8][9] อย่างไรก็ตามฝ่ายตรงข้ามได้คัดค้านอาหารจีเอ็มในหลายเหตุผลรวมทั้งปัญหาด้านความปลอดภัย ความกังวลด้านสิ่งแวดล้อมและความกังวลทางเศรษฐกิจที่ถูกยกขึ้นมาโดยความจริงที่ว่าเมล็ดพันธุ์ (และอาจเป็นสัตว์) จีเอ็มที่เป็นแหล่งที่มาของอาหารอาจมีกรรมสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่หลายบริษัทเป็นเจ้าของ

ประวัติ[แก้]

เทคโนโลยีชีวภาพด้านอาหารเป็นสาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์การอาหารที่ซึ่งเทคนิคทางเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ถูกนำมาใช้ในการปรับปรุงการผลิตอาหารหรือปรับปรุงตัวอาหารเอง[10] กระบวนการทางเทคโนโลยีชีวภาพที่แตกต่างกันได้ถูกใช้ในการสร้างและพัฒนาอาหารและผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มใหม่รวมถึงอุตสาหกรรมการหมัก การปลูกพืชและพันธุวิศวกรรม[11]

การใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการทำอาหารสามารถย้อนกลับไปหลายพันปีที่ผ่านมาจนถึงยุคของชาวซูเมอร์และชาวบาบิโลเนีย กลุ่มชนเหล่านี้ใช้ยีสต์ในการทำเครื่องดื่มหมักเช่นเบียร์[12] การใช้เอนไซม์ของพืชเช่นมอลต์ถูกใช้เป็นพันปีมาแล้วก่อนที่จะมีความเข้าใจเกี่ยวกับเอนไซม์ด้วยซ้ำ[13] ความก้าวหน้าในด้านเทคโนโลยีชีวภาพด้านอาหารได้เกิดขึ้นกับการประดิษฐ์ของกล้องจุลทรรศน์โดยอันโตนี ฟัน เลเวินฮุก ซึ่งช่วยให้มนุษย์สามารถค้นพบจุลินทรีย์ที่จะถูกนำมาใช้ในการผลิตอาหาร[13] เทคโนโลยีชีวภาพด้านอาหารได้ก้าวหน้าขึ้นไปอีกในปี 1871 เมื่อ หลุยส์ ปาสเตอร์พบว่าน้ำร้อนที่อุณหภูมิหนึ่งสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ไม่ดีได้ ซึ่งจะมีผลกับไวน์และการหมัก กระบวนการนี้จะถูกนำไปใช้กับการผลิตนม การให้ความร้อนกับนมที่อุณหภูมิหนึ่งสามารถปรับปรุงสุขอนามัยด้านอาหาร[13]

วิทยาศาสตร์ด้านอาหารและเทคโนโลยีชีวภาพด้านอาหารก้าวหน้าไปรวมถึงการค้นพบของเอนไซม์ทั้งหลายและบทบาทของพวกมันในการหมักและการย่อยอาหาร การค้นพบนี้ทำให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นต่อไปของเอนไซม์ เอนไซม์ในอุตสาหกรรมทั่วไปจะใช้สารที่สกัดพืชและจากสัตว์ แต่พวกมันถูกแทนที่ในภายหลังโดยเอนไซม์จากจุลินทรีย์ ตัวอย่างหนึ่งคือการใช้ chymosin (เอนไซม์ย่อยโปรตืนที่พบในกระเพาะสัตว์ทำให้นมจับต้วเป็นก้อน) ในการผลิตเนยแข็ง โดยทั่วไปเนยแข็งมักจะถูกทำขึ้นโดยการใช้เอนไซม์ที่สกัดจากเยื่อบุกระเพาะอาหารของวัว นักวิทยาศาสตร์เริ่มใช้ chymosin แบบ recombinant ที่จะทำให้เกิดการแข็งตัวของนมทำให้ได้นมข้นเนยแข็ง (อังกฤษ: cheese curd) [13] การผลิตเอนไซม์อาหารโดยการใช้เอนไซม์จุลินทรีย์เป็นการประยุกต์ครั้งแรกของสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมในการผลิตอาหาร[14] เทคโนโลยีชีวภาพด้านอาหารได้เติบโตขึ้นไปรวมถึงการโคลนพืชและสัตว์เช่นเดียวกับการพัฒนาขั้นต่อไปของอาหารดัดแปรพันธุกรรมในหลายปีที่ผ่านมา

นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบในปี 1946 ว่าดีเอ็นเอสามารถถ่ายโอนระหว่างสิ่งมีชีวิต[15] ครั้งแรกของพืชดัดแปรพันธุกรรมถูกผลิตขึ้นในปี 1983 โดยใช้พืชยาสูบที่ทนต่อยาปฏิชีวนะ ในปี 1994 การดัดแปรพันธุกรรมมะเขือเทศ Flavr SAVR ได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและยาสำหรับการตลาดในสหรัฐอเมริกา การดัดแปลงทำให้มะเขือเทศชะลอการสุกหลังจากเก็บเกี่ยว[2] ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1990 chymosin recombinant ได้รับการอนุมัติให้นำมาใช้ในหลายประเทศทดแทนกระเพาะวัวในการทำเนยแข็ง[16][14]

ในสหรัฐอเมริกาปี 1995 พืชดัดแปรพันธุกรรมต่อไปนี้ได้รับการอนุมัติให้จำหน่ายในตลาดได้: คาโนลาที่มีส่วนประกอบของน้ำมันดัดแปลง (บริษัท Calgene), ข้าวโพดแบคทีเรีย Bacillus thuringiensis (Bt) (บริษัท Ciba-Geigy), ฝ้ายทนต่อสารกำจัดวัชพืช bromoxynil (บริษัท Calgene), ฝ้าย Bt (บริษัท Monsanto), มันฝรั่ง Bt (บริษัท Monsanto), ถั่วเหลืองทนต่อสารกำจัดวัชพืช glyphosate (บริษัท Monsanto), สควอชทนต่อไวรัส (บริษัท Monsanto-Asgrow) และมะเขือเทศสุกล่าช้าเพิ่มเติม (บริษัท DNAP, Zeneca/Peto และ Monsanto) [2] ในปี 2000 ได้มีการผลิตข้าวสีทอง นักวิทยาศาสตร์อาหารได้ดัดแปรพันธุกรรมอาหารเพื่อเพิ่มคุณค่าสารอาหารของมันเป็นครั้งแรก ณ ปี 2011 สหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำในรายชื่อของประเทศที่ผลิตพืชจีเอ็ม และพืชจีเอ็ม 25 ชนิดได้รับการอนุมัติตามกฎระเบียบให้ปลูกในเชิงพาณิชย์ได้[17] ณ ปี 2013 ประมาณ 85% ของข้าวโพด 91% ของถั่วเหลือง และ 88% ของฝ้ายที่ผลิตในประเทศสหรัฐอเมริกาได้รับการดัดแปลงทางพันธุกรรม[18]

กระบวนการ[แก้]

พืชดัดแปรพันธุกรรมจะเกิดขึ้นในห้องปฏิบัติการโดยการเปลี่ยนลักษณะทางพันธุกรรมของพวกมันและจะมีการทดสอบในห้องปฏิบัติการเพื่อให้ได้คุณภาพตามที่ต้องการ ขบวนการนี้มักจะทำโดยการเพิ่มยีนหนึ่งตัวหรือมากกว่าในจีโนมของพืชโดยใช้เทคนิคทางพันธุวิศวกรรม ส่วนใหญ่พืชดัดแปรพันธุกรรมสามารถดัดแปรได้โดยการเพิ่มยีน (การโคลน) หรือการตัดยีน (ยีนจะลบออกหรือปิดการทำงาน) ตอนนี้พืชก็จะได้รับการออกแบบให้มีความต้านทานแมลง ต้านทานต่อเชื้อรา ต้านทานต่อไวรัส ต้านทานต่อสารกำจัดวัชพืช มีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาทางโภชนาการ มีรสชาติที่ดีขึ้นและมีการเก็บรักษาที่ดีขึ้น

เมื่อผลิตพืชจนมีลักษณะเป็นที่น่าพอใจแล้ว เมล็ดพันธุ์จะถูกเก็บรวบรวม และบริษัทผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์จำเป็นต้องยื่นขอรับการอนุมัติตามกฎระเบียบเพื่อขอทดสอบเมล็ดภาคสนาม หากการทดสอบประสบความสำเร็จ บริษัทจะต้องขอความเห็นชอบตามกฎระเบียบเพื่อการวางตลาด (ดูกฎระเบียบของการเปิดตัวของสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม) เมื่อได้รับการอนุมัติ เมล็ดพันธุ์จะถูกผลิตครั้งละมาก ๆ และขายให้กับเกษตรกร เกษตรกรจะผลิตพืชดัดแปรพันธุกรรมซึ่งมียีนและผลิตภัณฑ์โปรตีนของมันแทรกอยู่ จากนั้นเกษตรกรจะขายพืชผลของพวกเขาเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดแหล่งอาหารในประเทศที่การขายดังกล่าวได้รับอนุญาตแล้ว

พืชผล[แก้]

ณ ปี 2014 มีพืชดัดแปรพันธุกรรมหลายชนิดที่เป็นแหล่งอาหารและไม่มีสัตว์ดัดแปรพันธุกรรมถูกใช้ในการผลิตอาหาร ในบางกรณีผลิตผลของพืชมีการบริโภคเป็นอาหารโดยตรง แต่ในกรณีส่วนใหญ่พืชที่ได้รับการดัดแปรพันธุกรรมจะถูกขายเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ซึ่งจะผ่านกระบวนการต่อไปให้เป็นสารผสมอาหาร

ผักและผลไม้[แก้]

3 มุมมองของมะละกอพันธุ์ซันเซ็ทซึ่งได้รับการดัดแปลงพันธุกรรมเพื่อสร้างเป็นพันธุ์ SunUp ที่ทนต่อโรคใบด่าง[19]

มะละกอได้รับการดัดแปลงพันธุกรรมเพื่อให้ต้านไวรัสใบด่างจุดวงแหวน (อังกฤษ: Papaya ringspot virus (PRSV)) 'SunUp' เป็นมะละกอพันธุ์ซันเซ็ทเนื้อสีแดงที่ได้รับการดัดแปรพันธุกรรมที่เป็น homozygous ย​​ีน (ฮอมอไซกัสยีน, ยีนคู่ใดคู่หนึ่งที่มียีนที่แสดงลักษณะเด่นอยู่ด้วยกัน หรือยีนที่แสดงลักษณะด้อยอยู่ด้วยกัน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]) โปรตีนหุ้มของไวรัสใบด่างวงแหวน; 'Rainbow' คือพันธ์ F1 ไฮบริดเนื้อสีเหลืองที่พัฒนาขึ้นโดยการผสมข้ามพันธุ์ของ 'SunUp กับ 'Kapoho' เนื้อสีเหลืองไม่ดัดแปลง[19] นิวยอร์กไทม์สระบุว่า "ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1990 อุตสาหกรรมมะละกอของฮาวายกำลังเผชิญกับภัยพิบัติเพราะโรคมะละกอไวรัสใบด่างจุดวงแหวนร้ายแรง ผู้ช่วยให้รอดเพียงผู้เดียวของมันคือสายพันธุ์ที่ออกแบบมาเพื่อมีความต้านทานต่อไวรัส ถ้าปราศจากมัน อุตสาหกรรมมะละกอของรัฐจะพีงทะลาย วันนี้ 80% ของมะละกอของฮาวายถูกดัดแปลงพันธุกรรมและยังคงไม่มีวิธีการที่ใช้ได้ทั่วไปหรือแบบอินทรีย์ในการควบคุมไวรัสใบด่างจุดวงแหวน"[20]

มันฝรั่งพันธ์ New Leaf ที่ออกสู่ตลาดโดย Monsanto ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1990 ได้รับการพัฒนาสำหรับตลาดอาหารจานด่วน แต่ถูกถอดออกจากตลาดในปี 2001 หลังจากที่ร้านค้าปลีกอาหารจานด่วนไม่ยอมรับมันและผู้ประกอบการอาหารหลายรายมีปัญหาในการส่งออก[21]

ในเดือนตุลาคม 2011, BASF ขออนุมัติจากเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยอาหารของสหภาพยุโรปสำหรับการเพาะปลูกและการตลาดของมันฝรั่งพันธุ์ Fortuna ที่เป็นทั้งอาหารสัตว์และอาหารมนุษย์ มันฝรั่งถูกทำให้ทนต่อโรคใบไหม้ (อังกฤษ: Phytophthora infestans) โดยการเพิ่มยีนต้านทานสองตัวคือ blb1 และ blb2 ที่มีต้นกำเนิดจากมันฝรั่งป่าพันธ์ Solanum bulbocastanum ของเม็กซิโก[22][23] ในเดือนมกราคม 2013 BASF ถอนการประยุกต์ใช้[24] ในเดือนพฤษภาคมปี 2013 บริษัท JR Simplot ขออนุมัติจาก USDA สำหรับมันฝรั่ง "กำเนิด" ที่มีการปรับเปลี่ยนพันธุกรรม 10 จุดเพื่อป้องกันการช้ำและให้ผลิตสาร acrylamide น้อยลงกว่ามันฝรั่งเดิมเมื่อนำไปทอด สารพันธุกรรมที่ใช้แทรกเข้าไปมาจากมันฝ​​รั่งที่ปลูกหรือจากมันฝรั่งป่าแลัวนำไปผ่านขบวนการ RNA interference เพื่อป้องกันโปรตีนบางอย่างไม่ให้เกิดขึ้น[25][26][27]

ณ ปี 2005 ประมาณ 13% ของบวบ (อังกฤษ: zucchini) (รูปแบบหนึ่งของสควอช) ที่ปลูกในสหรัฐอเมริกาได้รับการดัดแปลงพันธุกรรมเพื่อต่อต้านไวรัสสามตัว; บวบยังมีการปลูกในแคนาดาอีกด้วย[28][29]

ในเดือนพฤศจิกายนปี 2014, USDA ได้อนุมัติมันฝรั่งดัดแปลงพันธุกรรมที่พัฒนาโดยบริษัท JR Simplot ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนพันธุกรรมเพื่อป้องกันไม่ให้ช้ำและผลิต acrylamide น้อยลงกว่ามันฝรั่งเดิมเมื่อทอด; การดัดแปลงไม่ก่อให้เกิดการสร้างโปรตีนใหม่ แต่ป้องกันไม่ให้มีการสร้างโปรตีนผ่านกระบวนการ RNA interference[30][31]

ในกุมภาพันธ์ 2015 'อาร์กติกแอปเปิ้ล'ได้รับอนุมัติจากกระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกา[32] ได้กลายเป็นครั้งแรกที่แอปเปิ้ลดัดแปลงทางพันธุกรรมได้รับการอนุมัติการเพื่อขายในประเทศสหรัฐอเมริกา[33] ขบวนการ Gene silencing ถูกนำมาใช้ในปิดการแสดงลักษณะทางพันธุกรรมของ polyphenol oxidase (PPO) เพื่อป้องกันผลไม้ไม่ให้เกิดโรคสีน้ำตาล (อังกฤษ: browning) [34]

ผลิตภัณฑ์ข้าวโพดที่ผ่านการสี[แก้]

ข้าวโพดที่ใช้เป็นอาหารมนุษย์ได้รับการดัดแปลงพันธุกรรมเพื่อให้มีความต้านทานต่อสารเคมีกำจัดวัชพืชต่าง ๆ และเพื่อการแสดงลักษณะทางพันธุกรรมของโปรตีนจากแบคทีเรีย Bacillus thuringiensis ที่ฆ่าแมลงบางชนิด[35] ประมาณ 90% ของข้าวโพดที่ปลูกในสหรัฐอเมริกาได้รับการดัดแปลงพันธุกรรม[36]

ข้าวโพดที่ใช้เป็นอาหารของมนุษย์สามารถผ่านขบวนการออกมาเป็นปลายข้าว อาหารและแป้ง

ปลายข้าวเป็นผลิตภัณฑ์ที่หยาบที่สุดจากขั้นตอนการสีข้าวโพดแห้ง ปลายข้าวแตกต่างกันไปตามเนื้อของมันและโดยทั่วไปจะถูกใช้ทำเกล็ดข้าวโพด ซีเรียลอาหารเช้าและขนมขบเคี้ยว ปลายข้าวจากการบ่มจะถูกนำมาใช้ในกระบวนการผลิตเบียร์

ข้าวโพดที่ใช้เป็นอาหารเป็นส่วนผสมหนึ่งในผลิตภัณฑ์หลายอย่างรวมทั้งขนมปังข้าวโพด มัฟฟิน ฟริตเตอร์ ธัญพืช เบเกอรี่สูตรผสม แพนเค้กสูตรผสม และขนมขบเคี้ยว ข้าวโพดเกรดที่ดีที่สุดมักจะถูกใช้ในการเคลือบมัฟฟินและพิซซ่าแบบอังกฤษ ข้าวโพดยังขายเป็นแพคเกจอีกด้วย

แป้งข้าวโพดเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ข้าวโพดที่ดีที่สุดที่เกิดขึ้นในขั้นตอนการสีแห้ง บางส่วนของผลิตภัณฑ์ประกอบด้วยส่วนผสมของแป้งข้าวโพดรวมถึงสูตรสำหรับแพนเค้ก มัฟฟิน โดนัท ขนมปัง และแป้งเค้ก เช่นเดียวกับอาหารทารก ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ ธัญพืช และบางผลิตภัณฑ์หมัก แป้ง Masa เป็นอีกผลิตภัณฑ์หนึ่งของข้าวโพดเนื้อละเอียด มันถูกผลิตโดยใช้กระบวนการอัลคาไลน์ที่ปรุงสุก ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องเช่นแป้งโดนัท Masa สามารถทำโดยใช้แป้งข้าวโพดและน้ำ แป้ง Masa และ Masa dough ถูกนำมาใช้ในการผลิต taco shells, ชิปข้าวโพดและ tortillas[37]

ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองที่ผ่านการสี[แก้]

ประมาณ 90% ของพื้นที่เพาะปลูกถั่วเหลืองในสหรัฐอเมริกามีการดัดแปลงพันธุกรรม[38][36]

เมล็ดถั่วเหลืองมีน้ำมันอยู่ประมาณ 20% ในการสกัดน้ำมันถั่วเหลืองจากเมล็ด ถั่วเหลืองจะถูกกระเทาะให้แตก ปรับความชื้น รีดให้เป็นเกล็ดและสกัดตัวทำละลายด้วยเฮกเซนที่ใช้ในเชิงพาณิชย์ ถั่วเหลืองส่วนที่เหลือเป็นอาหารมีปริมาณโปรตีนถั่วเหลืองอยู่ 50% มันจะถูก 'ปิ้ง' (เรียกผิดเพราะการให้ความร้อนต้องทำด้วยไอน้ำชื้น) และบดในโรงสีค้อน ร้อยละเก้าสิบแปดของการปลูกถั่วเหลืองในสหรัฐจะใช้เป็นอาหารสัตว์ บางส่วนที่เหลืออีก 2% ของถั่วเหลืองจะส่งเข้าขบวนการต่อไปเพื่อทำให้เป็นผลิตภัณฑ์ถั่วเหลืองที่มีโปรตีนสูงที่ใช้ในอาหารหลายชนิดเช่นน้ำสลัด ซุป เนื้อเทียม ผงเครื่องดื่ม ชีส ครีมเทียม ขนมหวานแช่แข็ง วิปปิ้งราดหน้า สูตรนมผสมสำหรับทารก ขนมปัง ซีเรียลอาหารเช้า พาสต้าและอาหารสัตว์เลี้ยง[39][40] โปรตีนถั่วเหลืองแปรรูปจะปรากฏในอาหารหลายชนิด ส่วนใหญ่ในสามรูปแบบได้แก่ แป้งถั่วเหลือง, สารสกัดโปรตีนถั่วเหลืองและโปรตีนถั่วเหลืองเข้มข้น[40][41]

สารสกัดโปรตีนถั่วเหลือง[แก้]

สารสกัดโปรตีนถั่วเหลืองที่ใช้เป็นอาหารมนุษย์เริ่มมีครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 1959 ด้วยการอุทิศตัวของสารสกัดถั่วเหลืองที่กินได้ของ Central Soya Promine D ซึ่งเป็นโรงงานผลิตศูนย์อุตสาหกรรมบริษัท Glidden ในชิคาโก[42]: 227–28  สารสกัดโปรตีนถั่วเหลืองเป็น รูปแบบหนึ่งของโปรตีนจากถั่วเหลืองที่ผ่านการกลั่นหรือการฟอกให้บริสุทธ์อย่างสูงที่มีปริมาณโปรตีนต่ำสุด 90% บนพื้นฐานที่ปราศจากความชื้น มันทำจากถั่วเหลืองอาหารที่ส่วนใหญ่ของส่วนประกอบที่ไม่ใช่โปรตีน ไขมันและคาร์โบไฮเดรตถูกลบออก สารสกัดถั่วเหลืองถูกใช้เป็นหลักในการปรับปรุงองค์ประกอบของผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูป แต่ยังถูกนำมาใช้เพื่อเพิ่มปริมาณโปรตีนและเพื่อเพิ่มการเก็บรักษาความชื้นและจะถูกใช้เป็นอิมัลซิไฟเออร์ (อังกฤษ: emulsifier) (คอลลอยด์ชนิดหนึ่ง ซึ่งอนุภาคที่กระจายและตัวกลางของการกระจายเป็นของเหลว เช่น น้ำนม เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]) [43][44]

โปรตีนถั่วเหลืองเข้มข้น[แก้]

โปรตีนถั่วเหลืองเข้มข้นมีปริมาณโปรตีนจากถั่วเหลืองประมาณ 70% และโดยพื้นฐานเป็นถั่วเหลืองอาหารที่ไม่มีคาร์โบไฮเดรตที่ละลายน้ำได้ โปรตีนถั่วเหลืองเข้มข้นยังคงเก็บส่วนใหญ่ของเส้นใยถั่วเหลืองต้นกำเนิด มันถูกใช้กันอย่างแพร่หลายโดยเป็นส่วนผสมทางโภชนาการหรือในการทำงานในหลากหลายผลิตภัณฑ์อาหาร ส่วนใหญ่ในอาหารอบ อาหารเช้าซีเรียล และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์บางชนิด โปรตีนถั่วเหลืองเข้มข้นถูกใช้ในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์และสัตว์ปีกเพื่อเพิ่มการกักเก็บน้ำและไขมันและเพื่อปรับปรุงคุณค่าทางโภชนาการ (โปรตีนมากไขมันน้อย) [43][45]

แป้ง[แก้]

แป้งถั่วเหลืองจะทำจากการบดถั่วเหลืองจนเป็นผงละเอียด มันมาในสามรูปแบบ: ธรรมชาติหรือไขมันเต็ม (ประกอบบด้วยน้ำมันธรรมชาติ); ไร้น้ำมัน (น้ำมันถูกลบออก) ที่มีปริมาณโปรตีน 50% และมีทั้งการละลายน้ำสูงหรือการละลายน้ำต่ำ; และ lecithinated (เลซิตินถูกเพิ่มเข้าไป) เนื่องจากแป้งถั่วเหลืองไม่มีสารกลูเตน ขนมปังแป้งถั่วเหลืองที่ทำโดยการเลี้ยงยีสต์จึงมีเนื้อแน่น ปลายถั่วเหลืองเหมือนกับแป้งถั่วเหลืองยกเว้นถั่วเหลืองที่ได้รับการคั่วและแตกเป็นชิ้นหยาบ "Kinako" เป็นแป้งถั่วเหลืองที่ใช้ในอาหารญี่ปุ่น[43][46]

ก้อนโปรตีนจากถั่วเหลือง[แก้]

ก้อนโปรตีนถั่วเหลือง (อังกฤษ: Textured soy protein (TSP)) จะทำขึ้นโดยการขึ้นรูปให้เป็นแป้งโดจากกากถั่วเหลืองกับน้ำในเครื่องอัดรีดแบบเกลียวและให้ความร้อนด้วยไอน้ำหรือไม่ใช้ไอน้ำ แป้งโดจะผ่านเครื่องออกมาเป็นรูปทรงต่าง ๆ ตามต้องการและถูกทำให้แห้งในเตาอบ เทคโนโลยีการอัดขึ้นรูปจะเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของโปรตีนถั่วเหลืองส่งผลให้เป็นเส้นไฟเบอร์ เป็นรูพรุนคล้ายกับเนื้อสัตว์ TSP ถูกนำมาใช้แทนผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์และสัตว์ปีกต้นทุนต่ำ[43][47]

อนุพันธ์[แก้]

แป้งข้าวโพดและน้ำตาลแป้งรวมทั้งน้ำเชื่อม[แก้]

โครงสร้างของโมเลกุลอะมิโลส
โครงสร้างของโมเลกุล amylopectin

แป้งหรือ Amylum เป็นคาร์โบไฮเดรตชนิดหนึ่งที่ประกอบด้วยหน่วยกลูโคสจำนวนมากเชื่อมเข้าร่วมด้วยกับพันธะ glycosidic สาร polysaccharide นี้ผลิตโดยพืชสีเขียวทุกชนิดโดยเป็นที่เก็บสะสมพลังงาน แป้งบริสุทธิ์จะเป็นผงสีขาว รสจืดและไม่มีกลิ่นที่ไม่ละลายในน้ำเย็นหรือในแอลกอฮอล์ มันประกอบด้วยโมเลกุลสองประเภท: อะไมโลสเส้นเกลียวและ amylopectin แบบแยกกิ่ง แป้งโดยทั่วไปมีอะไมโลส 20 ถึง 25% และ amylopectin 75-80% โดยน้ำหนัก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพืช

ในการทำแป้งข้าวโพด ข้าวโพดจะถูกแช่น้ำทิ้งไว้เป็นเวลา 30 ถึง 48 ชั่วโมงซึ่งจะเป็นการหมักมันเล็กน้อย จมูกข้าวจะถูกแยกออกจาก endosperm (เนื้อเยื่อที่อยู่รอบ ๆ ต้นอ่อนในเมล็ดพืช เพื่อสร้างอาหารให้กับพืช) และส่วนประกอบทั้งสองดังกล่าวจะถูกบดแยกต่างหาก (ยังคงเปียกอยู่) ถัดไปแป้งจะถูกล้างออกจากแต่ละส่วนประกอบนั้น แป้งจะถูกแยกออกจากซ่าเหล้าข้าวโพดแช่ (อังกฤษ: corn steep liquor) จมูกข้าวธัญพืช เส้นใยและกลูเตนข้าวโพดส่วนใหญ่ด้วยเครื่องปั่น hydrocyclones และเครื่องเหวี่ยง centrifuges จากนั้นทำให้แห้ง กระบวนการนี​​้เรียกว่าโม่เปียกและให้ผลเป็นแป้งบริสุทธิ์ ผลิตภัณฑ์จากแป้งบริสุทธิ์จะไม่มีดีเอ็นเอจีเอ็มหรือโปรตีน[48]

แป้งสามารถดัดแปลงเพิ่มเติมเพื่อสร้าง'แป้งดัดแปลง'เพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะอย่าง[49] รวมทั้งการผลิตน้ำตาลจำนวนมากในอาหารแปรรูปหลายอย่าง น้ำตาลเหล่านั้นรวมถึง:

  • Maltodextrin ผลิตภัณฑ์แป้งไฮโดรไลซ์เบา ๆ ที่ใช้เป็นสารตัวเติมรสหวานและตัวเพิ่มความข้น
  • 'น้ำเชื่อมกลูโคส'ต่าง ๆ บางทีเรียกว่า'น้ำเชื่อมข้าวโพด'ในสหรัฐ, สารละลายหนืดที่ใช้เป็นสารให้ความหวานและเพิ่มความข้นในอาหารแปรรูปหลายชนิด
  • 'Dextrose' กลูโคสในเชิงพาณิชย์ที่จัดเตรียมโดยการย่อยสลายที่สมบูรณ์ของแป้ง
  • 'น้ำเชื่อมฟรุกโตสสูง' ทำขึ้นโดยการบำบัดสารละลายเดกซ์โทรสด้วยเอนไซม์ glucose isomerase จนส่วนมากของน้ำตาลกลูโคสจะถูกแปลงให้เป็นฟรุกโตส ในประเทศสหรัฐอเมริกา น้ำเชื่อมข้าวโพดที่มีฟรุกโตสสูงจะเป็นสารให้ความหวานหลักที่ใช้ในเครื่องดื่มที่มีรสหวานเพราะฟรุกโตสมีลักษณะที่ดีกว่าในการจัดการเช่นความมีเสถียรภาพทางจุลชีววิทยาและมีความหวาน/รสชาติแน่นอนมากกว่า อีกชนิดหนึ่งของน้ำเชื่อมข้าวโพดที่มีฟรุกโตสสูงคิอ HFCS-55 โดยทั่วไปจะมีความหวานมากกว่าน้ำตาลซูโครสปกติเพราะมันทำด้วยฟรุกโตสที่มากกว่าในขณะที่ความหวานของ HFCS-42 มีน้ำตาลซูโครสในระดับปกติ[50][51]
  • 'น้ำตาลแอลกอฮอล์' เช่น maltitol, Erythritol, ซอร์บิทอ, แมนนิทอลและไฮโดรไลแป้งเติมไฮโดรเจน (อังกฤษ: hydrogenated starch hydrolysate) เป็นสารให้ความหวานที่ทำโดยการลดน้ำตาล

เลซิติน[แก้]

ตัวอย่างหนึ่งของ phosphatidylcholine ประเภทหนึ่งของ phospholipid ในเลซิติน สีแดง - กลุ่มโคลีนและฟอสเฟต; สีดำ - กลีเซอรอล; เขียว - กรดไขมันไม่อิ่มตัว; ฟ้า - กรดไขมันอิ่มตัว

น้ำมันข้าวโพดและน้ำมันถั่วเหลืองที่เป็นอิสระจากโปรตีนและดีเอ็นเออยู่แล้ว เป็นแหล่งที่มาของเลซิตินซึ่งถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในอาหารแปรรูปโดยทำตัวเป็นอิมัลซิฟายเออร์[52][53] เลซิตินถูกแปรรูปอย่างหนัก ดังนั้นโปรตีนหรือดีเอ็นเอที่ถูกดัดแปลงจากพืชที่มีการดัดแปลงมาแต่เดิมและนำมาทำอนุพันธ์มักจะไม่สามารถตรวจสอบได้ด้วยวิธีการทดสอบมาตรฐาน - พูดอีกอย่างคือ มันก็ไม่ได้แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญจากเลซิตินที่ได้มาจากพืชที่ไม่ได้ดัดแปลง[48][54] อย่างไรก็ตาม ความกังวลของผู้บริโภคเกี่ยวกับอาหารดัดแปลงพันธุกรรมได้ขยายไปยังอนุพันธ์บริสุทธิ์สูงจากอาหารดัดแปลงเช่นเลซิติน[55] ความกังวลนี้นำไปสู่​​การเปลี่ยนแปลงในนโยบายและกฎระเบียบในยุโรปในปี 2000 เมื่อกฎหมาย Regulation (EC) 50/2000 ผ่านออกมา[56] ซึ่งกำหนดให้ทำการติดฉลากสำหรับอาหารที่มีสารเติมแต่งที่ได้มาจากการตัดแต่งพันธุกรรมรวมทั้งเลซิติน เพราะมันเกือบเป็นไปไม่ได้ที่จะตรวจสอบที่มาของอนุพันธ์เช่นเลซิตินด้วยวิธีการทดสอบในปัจจุบัน กฎระเบียบของยุโรปกำหนดให้ผู้ที่ต้องการที่จะขายเลซิตินในยุโรปจะต้องใช้ระบบที่พิถีพิถันของการเก็บรักษาเอกลักษณ์ (อังกฤษ: Identity preservation (IP)) [54][57]

น้ำตาล[แก้]

โครงสร้างของน้ำตาลซูโครส

สหรัฐอเมริกานำเข้า 10% ของน้ำตาลจากประเทศอื่น ในขณะที่ส่วนที่เหลืออีก 90% สกัดจากหัวผักกาดน้ำตาล (อังกฤษ: sugar beet) และอ้อยที่ปลูกภายในประเทศ ในส่วนของพืชน้ำตาลที่ปลูกในประเทศ ครึ่งหนึ่งของน้ำตาลที่สกัดได้มาจากหัวผักกาดน้ำตาลและอีกครึ่งหนึ่งมาจากอ้อย

หลังจากยกเลิกกฎระเบียบในปี 2005 หัวผักกาดน้ำตาลที่ทนต่อ glyphosate ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในประเทศสหรัฐอเมริกา 95% ของเอเคอร์ที่ปลูกหัวผักกาดน้ำตาลในสหรัฐอเมริกาได้รับการปลูกด้วยเมล็ดที่ทนต่อ glyphosate ในปี 2011[17] หัวผักกาดน้ำตาลที่ทนต่อสารกำจัดวัชพืชได้รับการอนุมัติในประเทศออสเตรเลีย แคนาดา โคลัมเบีย สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น เกาหลี เม็กซิโก นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์รัสเซีย สิงคโปร์และสหรัฐอเมริกา[58]

ผลิตภัณฑ์อาหารจากหัวผักกาดน้ำตาลได้แก่น้ำตาลทรายขาวและกากน้ำตาล เยื่อที่เหลือจากกระบวนการกลั่นจะใช้เป็นอาหารสัตว์ น้ำตาลที่ผลิตจากผักกาดน้ำตาลที่ผ่านการดัดแปลงพันธุกรรมจะมีการกลั่นอย่างสูงและไม่มีดีเอ็นเอหรือโปรตีน มันเป็นแค่ซูโครสซึ่งเป็น น้ำตาลแบบเดียวกับน้ำตาลทรายที่ผลิตจากผักกาดน้ำตาลที่ไม่ดัดแปลงพันธุกรรม[48][59]

น้ำมันพืช[แก้]

น้ำมันพืชที่ใช้มากที่สุดในสหรัฐอเมริกาผลิตจากพืชหลายชนิดรวมถึงพืชดัดแปลงพันธุกรรมเช่นคาโนลา[60] ข้าวโพด[52][61] ฝ้าย[62] และถั่วเหลือง[63] น้ำมันพืชถูกขายโดยตรงให้กับผู้บริโภคสำหรับเป็นน้ำมันปรุงอาหาร shortening (เป็นชื่อเรียกรวม ๆ ของ semisolid 100% fat content product ซึ่งอาจผลิตมาจากไขมันสัตว์ (lard) หรือ น้ำมันพืชชนิดเติมไฮโดรเจน (hydrogenated vegetable oil) ก็ได้ ซึ่งจะมีสภาพเป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้องปฏิบัตการ, ในงานเบเกอรี่ จะถูกเรียกว่า ชอท-นิ่ง โดยตรง ยกเว้นพวกที่ทำจาก Pure hydrogenated vegetable oil จะเรียกว่า เนยขาว (White cheese) ) และมาการีน[64] และถูกนำมาใช้ในอาหารที่เตรียมไว้

น้ำมันพืชจะไม่มีโปรตีนหรือดีเอ็นเอจากพืชจีเอ็มเดิมหรือมีในปริมาณที่น้อยเต็มที[48][65] น้ำมันพืชถูกทำจากไตรกลีเซอไรด์ที่สกัดจากพืชหรือเมล็ดพืชแล้วกลั่น จากนั้นอาจผ่านกระบวนการต่อไปผ่านทาง hydrogenation เพื่อเปลี่ยนน้ำมันจากของเหลวให้เป็นของแข็ง กระบวนการกลั่น[66] ลบทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมดของส่วนผสมที่ไม่ใช่ไตรกลีเซอไรด์[67]

อาหารที่แปรรูปโดยใช้ผลิตภัณฑ์ที่ดัดแปลงพันธุกรรม[แก้]

เนยแข็ง[แก้]

เยื่อบุกระเพาะอาหารของสัตว์เช่น ลูกวัว (อังกฤษ: Rennet) เป็นส่วนผสมหนึ่งของเอนไซม์ที่ใช้ในการแข็งตัวของเนยแข็ง แต่เดิมมันก็ใช้ได้เฉพาะจากกระเพาะอาหารที่สี่ของลูกวัวและเป็นสิ่งที่หายากและมีราคาแพงหรือได้จากแหล่งของเชื้อจุลินทรีย์ซึ่งมักจะมีปัญหาจากรสชาติที่ไม่ดี ด้วยการพัฒนาของพันธุวิศวกรรมมันก็เลยเป็นไปได้ที่จะสกัดยีนผลิตจากกระเพาะอาหารสัตว์และใส่พวกมันเข้าไปในแบคทีเรียหรือเชื้อราหรือยีสต์บางชนิดเพื่อทำให้พวกมันผลิต chymosin ที่เป็นเอนไซม์ที่สำคัญเยื่อกระเพาะลูกวัว[68][69] จุลินทรีย์ที่ผ่านการดัดแปลงพันธุกรรมจะถูกฆ่าตายหลังจากการหมักและ chymosin จะถูกแยกออกจากหม้อน้ำหมักเพื่อให้ Chymosin ที่ผลิตโดยการหมัก (อังกฤษ: Fermentation-Produced Chymosin (FPC)) ที่ถูกใช้โดยผู้ผลิตเนยแข็งจะมีลำดับของกรดอะมิโนเหมือนกันกับกรดที่ได้จากสัตว์[70] ส่วนใหญ่ของ chymosin ที่นำมาใช้จะถูกเก็บไว้ในหางนม (อังกฤษ: whey) และบางส่วนอาจจะยังคงอยู่ในเนยแข็งในปริมาณที่เห็นเป็นร่องรอยและในเนยแข็งสุก ชนิดและแหล่งที่มาของ chymosin ที่ใช้ในการผลิตไม่สามารถกำหนดได้[70]

FPC เป็นเอนไซม์ที่ผลิตโดยมนุษย์ตัวแรกที่ได้รับการจดทะเบียนและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐ[16][14] ผลิตภัณฑ์ FPC ได้อยู่ในตลาดมาตั้งแต่ปี 1990 และได้รับการพิจารณาในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาว่าเป็นเอนไซม์ที่ใช้ทำให้นมจับตัวเป็นลิ่มในอุดมคติ[71] ในปี 1999 ประมาณ 60% ของเนยแบบแข็งของสหรัฐได้ถูกทำให้มี FPC[72] และมีสูงถึง 80% ของส่วนแบ่งการตลาดทั่วโลกสำหรับเยื่อกระเพาะลูกวัว[73] ภายในปี 2008 ประมาณ 80% ถึง 90% ของเนยแข็งที่ทำในเชิงพาณิชย์ในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรจะถูกผลิตขึ้นโดยใช้ FPC[70] วันนี้ส่วนใหญ่ของ Chymosin ที่ผลิตโดยการหมัก (FPC) ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมีการผลิตทั้งจากเชื้อรา "Aspergillus niger" และใช้เชิงพาณิชย์ภายใต้เครื่องหมายการค้า CHY-Max®[74] โดย บริษัท Danish company Chr. Hansen หรือผลิตโดย Kluyveromyces lactis และในเชิงพาณิชย์ภายใต้เครื่องหมายการค้า MAXIREN® [75] โดยบริษัท Dutch company DSM

อาหารที่ทำจากสัตว์ที่เลี้ยงด้วยพืช GM หรือบำบัดด้วยฮอร์โมนช่วยการเจริญเติบโตของวัว[แก้]

ปศุสัตว์และสัตว์ปีกจะถูกเลี้ยงด้วยอาหารสัตว์ซึ่งส่วนมากประกอบด้วยของเหลือจากการแปรรูปพืช รวมทั้งพืชจีเอ็มด้วย ยกตัวอย่างเช่นประมาณ 43% ของเมล็ดคาโนลาเป็นน้ำมัน ส่วนที่เหลือเป็นกากคาโนลาที่ใช้เป็นส่วนผสมในอาหารสัตว์และมีโปรตีนจากคาโนลา[76] ในทำนองเดียวกันกลุ่มของพืชถั่วเหลืองจะถูกปลูกเพื่อใช้สำหรับการผลิตน้ำมันและกากถั่วเหลืองที่มีโปรตีนสูงแบบไม่อ้วนและแบบปิ้งสำหรับอาหารปศุสัตว์และสุนัข 98% ของการเพาะปลูกถั่วเหลืองของสหรัฐจะใช้สำหรับทำอาหารสัตว์[77][78] สำหรับข้าวโพดในปี 2011 49% ของการเก็บเกี่ยวข้าวโพดทั้งหมดจะใช้สำหรับอาหารสัตว์ (รวมถึงอัตราร้อยละของของเสียจากการกลั่นธัญพืช)[79] "แม้จะมีหลายวิธีการที่อ่อนไหวมากขึ้นเรื่อย ๆ การทดสอบยังไม่สามารถที่จะสร้างความแตกต่างในเนื้อ นมหรือไข่ของสัตว์ที่ขึ้นอยู่กับชนิดของอาหารที่พวกมันกินเข้าไป มันเป็นไปไม่ได้ที่จะบอกว่าสัตว์ตัวใดถูกเลี้ยงด้วยถั่วเหลือง GM หรือไม่เพียงแค่ดูจากเนื้อ นมหรือไข่. วิธีเดียวที่จะตรวจสอบการมีอยู่ของ GMOs ในอาหารสัตว์คือการวิเคราะห์ที่มาของตัวอาหารเอง"[80]

ในบางประเทศ recombinant bovine somatotropin (เรียกว่า rBST หรือฮอร์โมนช่วยการเจริญเติบโตของวัวหรือ BGH) ได้รับการอนุมัติสำหรับการบริหารจัดการกับโคนมเพื่อเพิ่มการผลิตนม rBST อาจจะอยู่ในนมจากวัวที่ได้รับการบำบัดด้วย rBST และแม้แต่มีการฉีดเข้าโดยตรงแต่มันจะถูกทำลายในระบบทางเดินอาหารซึ่งจะไม่มีผลกระทบโดยตรงต่อมนุษย์[81][82] องค์การอาหารและยา องค์การอนามัยโลก สมาคมแพทย์อเมริกัน สมาคมโภชนาการอเมริกันและสถาบันสุขภาพแห่งชาติได้ระบุไว้อย่างอิสระว่าผลิตภัณฑ์นมและเนื้อจากวัวที่ได้รับการบำบัดด้วย BST มีความปลอดภัยสำหรับการบริโภคของมนุษย์[83] อย่างไรก็ตามเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2010 ศาลอุทธรณ์สหรัฐอเมริกา หน่วยงานวงจรที่หก ได้ทำการวิเคราะห์หลักฐานที่ส่งมาอย่างสั้น ๆ ว่าได้พบว่ามี "ความแตกต่างที่ผสมกัน" ระหว่างนมจากวัวที่มีการบำบัดด้วย rBGH และนมจากวัวที่ไม่ได้รับการบำบัด[84][85] ศาลระบุว่านมจากวัวที่ได้รับการบำบัดด้วย rBGH มี: ระดับที่เพิ่มขึ้นของฮอร์โมน'ปัจจัยการเจริญเติบโต 1 ที่เหมือนอินซูลิน' (อังกฤษ: Insulin-like growth factor 1 (IGF-1)); ปริมาณไขมันที่สูงขึ้นและปริมาณโปรตีนที่ต่ำลงเมื่อมีการผลิตในบางจุดของวงจรการให้นมของวัว; และจำนวนเซลล์ร่างกายที่เพิ่มขึ้นซึ่งอาจ "ทำให้นมเปรี้ยวเร็วขึ้น"[85]

อาหารที่ทำจากสัตว์ GM[แก้]

ณ เดือนพฤศจิกายน 2013 ไม่พบว่ามีสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรมได้รับการอนุมัติสำหรับใช้เป็นอาหาร แต่ปลาแซลมอนจีเอ็มกำลังรอการอนุมัติกฎระเบียบในเวลานั้น[86][87][88]

สัตว์ (เช่นแพะ) มักจะใช้ในการผลิตอาหาร (เช่นนม) ได้ผ่านการดัดแปลงพันธุกรรมเรียบร้อยแล้วและได้รับอนุมัติจาก FDA และ EMA ในการผลิตสินค้าที่ไม่ใช่อาหาร (เช่น recombinant antithrombin ยาโปรตีนสารกันเลือดแข็ง)[89][90]

หนึ่งในอุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดสำหรับสัตว์ GM ที่จะเข้าสู่ตลาดอาหารคือการยอมรับทางสังคมของมัน ขณะนี้ในการอภิปรายอย่างมากเกี่ยวกับสัตว์จีเอ็มขนิดแรก ได้แก่ปลาแซลมอนที่กำลังเข้าสู่ตลาดการค้า ความเป็นไปได้ของการดัดแปลงสัตว์อื่นให้เป็นอาหารยังได้รับการกล่าวถึงแต่ยังไม่ได้ทำตามวิธีการ การวิจัยและการทดลองได้ทำแล้วไปในการเพิ่มยีนส่งเสริมให้กับสัตว์เพื่อเพิ่มความเร็วในการเจริญเติบโตและเพิ่มความต้านทานโรค (เช่นการฉีดยีน a-lactalbumin ให้กับหมูเพื่อเพิ่มขนาด)

ข้อถกเถียง[แก้]

 ความเสมอภาคทางด้านปัจจัยในการดำรงอยู่และรองรับอนาคต พร้อมทั้งมีผลดีนานและมีผลนานปีและผลดีพอเพียงตลอดนาน
   การถกเถียงกันเรื่องอาหารดัดแปลงพันธุกรรมเป็นข้อพิพาทในเรื่องการใช้เป็นอาหารและสินค้าอื่น ๆ ที่ผลิตมาจากพืชดัดแปลงพันธุกรรมแทนที่จะทำมาจากพืชทั่วไป และเรื่องการใช้พันธุวิศวกรรมอื่น ๆ ในการผลิตอาหาร ข้อพิพาทจะเกี่ยวข้องกับผู้บริโภค เกษตรกร บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพทั้งหลาย หน่วยงานของรัฐในการกำกับดูแล องค์กรพัฒนาเอกชน และนักวิทยาศาสตร์ พื้นที่สำคัญของการถกเถียงที่เกี่ยวข้องกับอาหารจีเอ็มโอก็คือเรื่อง 

1. อาหารจีเอ็มควรจะระบุในฉลากหรือไม่ 2. บทบาทของการกำกับดูแลของรัฐบาล 3. วัตถุประสงค์ของการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และการตีพิมพ์ 4. ผลกระทบของพืชจีเอ็มที่มีต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม 5. ผลต่อความต้านทานสารกำจัดศัตรูพืช 6. ผลกระทบของพืชจีเอ็มที่มีต่อเกษตรกร และ 7. บทบาทของพืชจีเอ็มในการเป็นอาหารของประชากรโลก

มีฉันทามติทางวิทยาศาสตร์ในวงกว้างว่าอาหารในตลาดที่ได้มาจากพืชจีเอ็มโอไม่ได้ส่อว่ามีความเสี่ยงมากกว่าอาหารธรรมดา[4][91] ไม่มีรายงานของผลร้ายที่มีการบันทึกไว้ในประชากรมนุษย์อันเนื่องจากอาหารจีเอ็ม[5][7][92] จุดเริ่มต้นสำหรับการประเมินความปลอดภัยของอาหารจีเอ็มคือการประเมิน'ความเท่าเทียมกันอย่างมีนัยสำคัญ' (อังกฤษ: substantial equivalence) เทียบกับอาหารที่ไม่มีการดัดแแปลง จากนั้นการทดสอบจะต้องมีการทำเพิ่มเติมบนพื้นฐานในแต่ละกรณีเพื่อให้แน่ใจว่าความกังวลเกี่ยวกับศักยภาพในความเป็นพิษและภูมิแพ้ได้ถูกแก้ไขก่อนที่อาหารจีเอ็มจะออกสู่ตลาด แม้ว่าการติดฉลากของผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม (จีเอ็มโอ) ในตลาดเป็นข้อกำหนดใน 64 ประเทศก็ตาม[93] ในสหรัฐอเมริกาไม่มีข้อกำหนดเป็นการทั่วไปที่อาหารจีเอ็มโอต้องมีการติดป้ายดังกล่าว นโยบายขององค์การอาหารและยาของสหรัฐก็คือฉลากจำเป็นต้องใช้เฉพาะถ้ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในองค์ประกอบหรือความแตกต่างที่มีสาระสำคัญต่อสุขภาพ แต่ที่ผ่านมาก็ยังไม่พบความแตกต่างดังกล่าวในอาหารจีเอ็มโอใด ๆ ที่ได้รับการอนุมัติให้ขายในตลาด[94]

ฝ่ายตรงข้ามของอาหารดัดแปลงพันธุกรรมเช่นกลุ่มผู้สนับสนุนสมาคมผู้บริโภคสารอินทรีย์ สหภาพนักวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และกรีนพีซ การเรียกร้องความเสี่ยงยังไม่ได้รับการระบุและมีการจัดการอย่างเพียงพอ และพวกเขาได้ถามถึงวัตถุประสงค์ของหน่วยงานกำกับดูแล บางกลุ่มที่เกี่ยวกับสุขภาพกล่าวว่ามีคำถามที่ยังไม่มีคำตอบเกี่ยวกับผลกระทบในระยะยาวที่อาจเกิดขึ้นต่อสุขภาพของมนุษย์จากอาหารที่ได้มาจากการตัดแต่งพันธุกรรมและเสนอให้มีการบังคับติดฉลาก[95][96] หรือการประกาศพักชำระหนี้ที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ดังกล่าว[97][98][99] รวมถึงความกังวลเกี่ยวกับการปนเปื้อนของอุปทานของอาหารที่ไม่ได้ดัดแปลงพันธุกรรม[100] ผลกระทบจากการตัดแต่งพันธุกรรมที่มีต่อสภาพแวดล้อมและธรรมชาติ[97][99] ความจริงจังของกระบวนการกำกับดูแล[98][101] และการรวมเป็นหนึ่งเดียวของการควบคุมอุปทานอาหารในบริษัทที่ทำและขาย GMOs[97]

ระเบียบ[แก้]

ดูเพิ่มเติม: กฎระเบียบของการเปิดตัวของสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมและกฎระเบียบของพันธุวิศวกรรม

รัฐบาลในแต่ละประเทศได้นำวิธีการที่แตกต่างกันในการประเมินและการจัดการความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมและการพัฒนาและการเปิดตัวของสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม (จีเอ็มโอ) รวมทั้งพืชดัดแปลงพันธุกรรมและปลาดัดแปลงพันธุกรรม มีความแตกต่างในกฎระเบียบของ GMOs ระหว่างประเทศที่มีบางส่วนของความแตกต่างเกิดขึ้นระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกาและยุโรป กฎระเบียบมีความแตกต่างกันในแต่ละประเทศขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้ผลิตภัณฑ์พันธุวิศวกรรม ยกตัวอย่างเช่นพืชที่ไม่ใช่อาหารโดยทั่วไปจะไม่ถูกตรวจสอบโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านความปลอดภัยอาหาร[21]

หนึ่งในประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานกำกับดูแลคือว่าผลิตภัณฑ์จีเอ็มควรจะมีการระบุหรือไม่ การติดฉลากสามารถเป็นการบังคับให้สูงถึงเกณฑ์ระดับเนื้อหาของจีเอ็ม (ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ) หรือเป็นแบบสมัครใจ การศึกษาโดยการตรวจสอบการติดฉลากโดยสมัครใจในแอฟริกาใต้พบว่า 31% ของผลิตภัณฑ์ที่ติดฉลากว่าเป็นปราศจากจีเอ็มโอมีเนื้อหาจีเอ็มมากกว่า 1.0%[102] ในประเทศแคนาดาและสหรัฐอเมริกาการติดฉลากอาหารจีเอ็มเป็นแบบสมัครใจ[103] ในขณะที่ในยุโรปอาหารทั้งหมด (รวมทั้งอาหารแปรรูป) และอาหารสัตว์ซึ่งมีมากกว่า 0.9% ของ GMOs ที่ได้รับการอนุมัติแล้วจะต้องติดฉลาก[104]

ณ ปี 2013, 64 ประเทศจำเป็นต้องมีการติดฉลากจีเอ็มโอ มากกว่าหนึ่งในสามของประเทศเหล่านี้อยู่ภายใต้การปกครองของสหภาพยุโรป[105]

การตรวจจับ[แก้]

บทความหลัก: การตรวจจับสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม

การทดสอบสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมในอาหารและอาหารสัตว์จะทำเป็นประจำโดยใช้เทคนิคโมเลกุลเช่นดีเอ็นเอ microarrays หรือ quantitative PCR การทดสอบเหล่านี้จะขึ้นอยู่กับการตรวจคัดกรององค์ประกอบทางพันธุกรรม (เช่น p35S, tNos, pat หรือ bar) หรือเครื่องหมายที่เป็นเหตุการณ์เฉพาะสำหรับ GMO อย่างเป็นทางการ (เช่น Mon810, Bt11 หรือ GT73)

วิธีการแบบอาร์เรย์จะรวม multiplex PCR และเทคโนโลยีอาร์เรย์เพื่อคัดกรองตัวอย่างสำหรับ GMO ที่มีศักยภาพแตกต่างกัน[106] เป็นการรวมวิธีการที่แตกต่างกัน (ได้แก่การตรวจคัดกรององค์ประกอบ เครื่องหมายพืชเฉพาะ และเครื่องหมายเหตุการณ์เฉพาะ)

qPCR ถูกนำมาใช้ในการตรวจสอบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นของจีเอ็มโอที่เฉพาะเจาะจงโดยการใช้ไพรเมอร์ที่เฉพาะเจาะจงสำหรับการคัดกรององค์ประกอบหรือเครื่องหมายเหตุการณ์ที่เฉพาะเจาะจง การควบคุมมีความจำเป็นเพื่อหลีกเลี่ยงผลลัพธ์ปลอมหรือเป็นเท็จ ยกตัวอย่างเช่นการทดสอบ CaMV ถูกนำมาใช้เพื่อหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เท็จในกรณีที่มีการปนเปื้อนเชื้อไวรัสบนตัวอย่าง

ในเอกสารเดือนมกราคม 2010[107] การสกัดและการตรวจสอบดีเอ็นเอไปตามห่วงโซ่การผลิตน้ำมันถั่วเหลืองอุตสาหกรรมที่สมบูรณ์ได้รับการอธิบายในการตรวจสอบการปรากฏตัวของถั่วเหลือง Roundup Ready (RR) "การขยายของยีนเลคตินถั่วเหลืองโดยปฏิกิริยา Polymerase chain แบจุดสิ้นสุด (อังกฤษ: end-point polymerase chain reaction (PCR)) ก็ประสบความสำเร็จในทุกขั้นตอนของกระบวนการสกัดและการกลั่นจนกระทั่งได้น้ำมันถั่วเหลืองกลั่นอย่างเต็มที่ การขยายของถั่วเหลือง RR โดยการตรวจ PCR โดยใช้ไพรเมอร์แบบเฉพาะเหตุการณ์ก็ประสบความสำเร็จสำหรับทุกขั้นตอนการสกัดและการกลั่น ยกเว้นขั้นตอนช่วงกลางของการกลั่น (การทำให้เป็นกลาง การซักล้างและการฟอก) อาจจะเป็นเพราะความไม่แน่นอนของตัวอย่าง การตรวจ PCR แบบเรียลไทม์โดยใช้หัววัดที่เฉพาะได้ยืนยันผลลัพธ์ทั้งหมดและได้พิสูจน์ให้เห็นว่ามันเป็นไปได้ที่จะตรวจสอบและหาปริมาณสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมในน้ำมันถั่วเหลืองที่ผ่านการกลั่นอย่างเต็มที่ ตามความรู้ของเรา สิ่งนี้ไม่เคยมีการรายงานมาก่อนและมันเป็นตัวแทนของความสำเร็จที่สำคัญเกี่ยวกับการตรวจสอบย้อนกลับของสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมในน้ำมันที่ผ่านการกลั่น"

อ้างอิง[แก้]

  1. GM Science Review First Report เก็บถาวร 2013-10-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Prepared by the UK GM Science Review panel (July 2003). Chairman Professor Sir David King, Chief Scientific Advisor to the UK Government, P 9
  2. 2.0 2.1 2.2 James, Clive (1996). "Global Review of the Field Testing and Commercialization of Transgenic Plants: 1986 to 1995" (PDF). The International Service for the Acquisition of Agri-biotech Applications. สืบค้นเมื่อ 17 July 2010.
  3. "Consumer Q&A". Fda.gov. 2009-03-06. สืบค้นเมื่อ 2012-12-29.
  4. 4.0 4.1 American Association for the Advancement of Science (AAAS), Board of Directors (2012). Legally Mandating GM Food Labels Could Mislead and Falsely Alarm Consumers
  5. 5.0 5.1 American Medical Association (2012). Report 2 of the Council on Science and Public Health: Labeling of Bioengineered Foods เก็บถาวร 2012-09-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  6. World Health Organization. Food safety: 20 questions on genetically modified foods. Accessed December 22, 2012.
  7. 7.0 7.1 United States Institute of Medicine and National Research Council (2004). Safety of Genetically Engineered Foods: Approaches to Assessing Unintended Health Effects. National Academies Press. Free full-text. See pp11ff on need for better standards and tools to evaluate GM food.
  8. A decade of EU-funded GMO research (2001-2010) (PDF). Directorate-General for Research and Innovation. Biotechnologies, Agriculture, Food. European Union. 2010. p. 16. doi:10.2777/97784. ISBN 978-92-79-16344-9.
  9. Other sources:
  10. Lee, B. H. (1996). Fundamentals of food biotechnology. Montreal, QC: Wiley-VCH.
  11. Food Insight (2009). Background on Food Biotechnology. Retrieved from http://www.foodinsight.org/Resources/Detail.aspx?topic=Background_on_Food_Biotechnology เก็บถาวร 2012-04-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  12. Biotechnology Online (2009). A food biotechnology timeline. Retrieved from http://www.biotechnologyonline.gov.au/foodag/timeline.html เก็บถาวร 2015-03-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  13. 13.0 13.1 13.2 13.3 Campbell-Platt, G. (2009). Food Science and technology. Ames, IA: Blackwell
  14. 14.0 14.1 14.2 "FDA Approves 1st Genetically Engineered Product for Food". Los Angeles Times. 24 March 1990. สืบค้นเมื่อ 1 May 2014.
  15. Lederberg J, Tatum EL (1946). "Gene recombination in E. coli". Nature. 158 (4016): 558. Bibcode:1946Natur.158..558L. doi:10.1038/158558a0.
  16. 16.0 16.1 Staff, National Centre for Biotechnology Education, 2006. Case Study: Chymosin เก็บถาวร 2016-05-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  17. 17.0 17.1 James, C (2011). "ISAAA Brief 43, Global Status of Commercialized Biotech/GM Crops: 2011". ISAAA Briefs. Ithaca, New York: International Service for the Acquisition of Agri-biotech Applications (ISAAA). สืบค้นเมื่อ 2012-06-02.
  18. Center for Food Safety About Genetically Engineered Foods
  19. 19.0 19.1 Gonsalves, D. (2004). Transgenic papaya in Hawaii and beyond เก็บถาวร 2010-07-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. AgBioForum, 7 (1&2), 36-40
  20. Ronald, Pamela and McWilliams, James Genetically Engineered Distortions The New York Times, May 14, 2010, Retrieved July 26, 2010.
  21. 21.0 21.1 "The History and Future of GM Potatoes". Potatopro.com. 2010-03-10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-12. สืบค้นเมื่อ 2012-12-29.
  22. Research in Germany, November 17, 2011. Business BASF applies for approval for another biotech potato เก็บถาวร 2013-06-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  23. Burger, Ludwig (31 October 2011) BASF applies for EU approval for Fortuna GM potato เก็บถาวร 2012-01-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Reuters, Frankfurt. Retrieved 29 December 2011
  24. Andrew Turley for Royal Society of Chemistry News. February 7, 2013 BASF drops GM potato projects
  25. J.R. Simplot Company Bets On Biotech Potatoes In Idaho, Associated Press, 14-May-2013
  26. Potato Pro. May 8, 2013. Simplot asks USDA for deregulation of their GM Innate potatoes เก็บถาวร 2013-06-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  27. Federal Register. May 3, 2013. J.R. Simplot Co.; Availability of Petition for Determination of Nonregulated Status of Potato Genetically Engineered for Low Acrylamide Potential and Reduced Black Spot Bruise
  28. Johnson, Stanley R. et al Quantification of the Impacts on US Agriculture of Biotechnology-Derived Crops Planted in 2006 National Center for Food and Agricultural Policy, Washington DC, February 2008. Retrieved August 12, 2010.
  29. GMO Compass. Page updated November 7, 2007. GMO Database: Zucchini (courgette) เก็บถาวร 2017-02-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Page accessed Feb 28 2015
  30. Andrew Pollack for the New York Times. 7 Nov 2014. U.S.D.A. Approves Modified Potato. Next Up: French Fry Fans
  31. Federal Register. May 3, 2013. J.R. Simplot Co.; Availability of Petition for Determination of Nonregulated Status of Potato Genetically Engineered for Low Acrylamide Potential and Reduced Black Spot Bruise
  32. Pollack, A. "Gene-Altered Apples Get U.S. Approval" New York Times. Feb 13, 2015.
  33. Tennille, Tracy (13 กุมภาพันธ์ 2015). "First Genetically Modified Apple Approved for Sale in U.S." Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2023.
  34. "Apple-to-apple transformation" เก็บถาวร 2013-09-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Okanagan Specialty Fruits. Retrieved 2012-08-03.
  35. For a list of all traits, see table at National Corn Growers Association website เก็บถาวร 2011-10-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน As of September 2012 that site listed 13 traits in nearly 30 different products.
  36. 36.0 36.1 Acreage NASS National Agricultural Statistics Board annual report, 30 June 2010. Retrieved 23 July 2010.
  37. Staff. South Dakota State University, College of Agriculture and Biological Sciences, Agricultural Experiment Station. June 2004. Corn-Based Food Production in South Dakota: A Preliminary Feasibility Study เก็บถาวร 2016-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  38. Adoption of Genetically Engineered Crops in the U.S.Economic Research Service, of the U.S. Department of Agriculture
  39. Edmund W. Lusas and Mian N Riaz. (1995) Soy Protein Products: Processing and Use Journal of Nutrition 125 (3_Suppl) :573S-580S
  40. 40.0 40.1 E.S. Sipos. Edible Uses of Soybean Protein เก็บถาวร 2013-04-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  41. Singh, Preeti; Kumar, R.; Sabapathy, S. N.; Bawa, A. S. (2008). "Functional and Edible Uses of Soy Protein Products". Comprehensive Reviews in Food Science and Food Safety. 7: 14–28. doi:10.1111/j.1541-4337.2007.00025.x.
  42. William Shurtleff, Akiko Aoyagi History of Cooperative Soybean Processing in the United States: Extensively Annotated Bibliography and Sourcebook เก็บถาวร 2015-09-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Soyinfo Center, 2008
  43. 43.0 43.1 43.2 43.3 presentation by Dr. Karl Weingartner and Bridget Owen of the National Soybean Research Laboratory, University of Illinois at Urbana-Champaign. March 2009. Soy Protein Applications in Nutrition & Food Technology เก็บถาวร 2014-02-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  44. Isolated Soy Proteins
  45. Staff, World Initiative for Soy in Human Health (WISHH) Soy Protein Concentrate Reference Guide เก็บถาวร 2014-05-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  46. Soy Flours
  47. Textured Soy Proteins
  48. 48.0 48.1 48.2 48.3 Jaffe, Greg (Director of Biotechnology at the Center for Science in the Public Interest) (February 7, 2013). "What You Need to Know About Genetically Engineered Food". Atlantic.
  49. "International Starch: Production of corn starch". Starch.dk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-15. สืบค้นเมื่อ 2011-06-12.
  50. Ophardt, Charles. "Sweetners - Introduction". Elmhurst College. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-23. สืบค้นเมื่อ 2015-03-20.
  51. White, John S. (December 2, 2008). "HFCS: How Sweet It Is".
  52. 52.0 52.1 "Poster of corn products" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-02-14. สืบค้นเมื่อ 2012-12-29.
  53. "Corn Oil, 5th Edition" (PDF). Corn Refiners Association. 2006.
  54. 54.0 54.1 Marx, Gertruida M. (December 2010). "Dissertation submitted in fulfilment of requirements for the degree Doctor of Philosophy in the Faculty of Health Sciences" (PDF). MONITORING OF GENETICALLY MODIFIED FOOD PRODUCTS IN SOUTH AFRICA]. South Africa: University of the Free State. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-01-09. สืบค้นเมื่อ 2015-03-20.
  55. Staff (July 1, 2005). "Danisco emulsifier to subsitute non-GM soy lecithin as demand outstrips supply". FoodNavigator.com.
  56. "Regulation (EC) 50/2000". Eur-lex.europa.eu.
  57. Davison, John; Bertheau, Yves Bertheau (2007). "EU regulations on the traceability and detection of GMOs: difficulties in interpretation, implementation and compliance". CAB Reviews: Perspectives in Agriculture, Veterinary Science, Nutrition and Natural Resources. 2 (77).
  58. "ISAAA Pocket K No. 2: Plant Products of Biotechnology". Isaaa.org. สืบค้นเมื่อ 2012-12-29.
  59. Food and Agriculture Organization of the United Nations (2009). Sugar Beet: White Sugar (PDF). p. 9. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-05. สืบค้นเมื่อ 2015-03-23.
  60. "Soyatech.com". Soyatech.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-25. สืบค้นเมื่อ 2012-12-29.
  61. Institute of Shortening and Edible Oils, 2006. Food Fats and Oils เก็บถาวร 2007-02-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน accessdate=2011-11-19
  62. National Cottonseed Producers Association Twenty Facts about Cottonseed Oil เก็บถาวร 2015-10-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  63. Michelle Simon for Food Safety News. August 24, 2011. ConAgra Sued Over GMO ’100% Natural’ Cooking Oils
  64. "ingredients of margarine". Imace.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-02. สืบค้นเมื่อ 2012-12-29.
  65. "USDA Alphabetical list of protein content of foods -- see Oils" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-09-30. สืบค้นเมื่อ 2012-12-29.
  66. "How Cooking Oil is Made". Madehow.com. 1991-04-27. สืบค้นเมื่อ 2012-12-29.
  67. Crevel, R.W.R; Kerkhoff, M.A.T; Koning, M.M.G (2000). "Allergenicity of refined vegetable oils". Food and Chemical Toxicology. 38 (4): 385–93. doi:10.1016/S0278-6915(99)00158-1. PMID 10722892.
  68. Emtage, JS; Angal, S; Doel, MT; Harris, TJ; Jenkins, B; Lilley, G; Lowe, PA (1983). "Synthesis of calf prochymosin (prorennin) in Escherichia coli". Proceedings of the National Academy of Sciences of the United States of America. 80 (12): 3671–5. doi:10.1073/pnas.80.12.3671. PMC 394112. PMID 6304731.
  69. Harris TJ, Lowe PA, Lyons A, Thomas PG, Eaton MA, Millican TA, Patel TP, Bose CC, Carey NH, Doel MT (April 1982). "Molecular cloning and nucleotide sequence of cDNA coding for calf preprochymosin". Nucleic Acids Res. 10 (7): 2177–87. doi:10.1093/nar/10.7.2177. PMC 320601. PMID 6283469.
  70. 70.0 70.1 70.2 "Chymosin". GMO Compass. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-26. สืบค้นเมื่อ 2011-03-03.
  71. Law, Barry A. (2010). Technology of Cheesemaking. UK: WILEY-BLACKWELL. pp. 100–101. ISBN 978-1-4051-8298-0.
  72. "Food Biotechnology in the United States: Science, Regulation, and Issues". U.S. Department of State. สืบค้นเมื่อ 2006-08-14.
  73. Johnson, M.E.; Lucey, J.A. (2006). "Major Technological Advances and Trends in Cheese". Journal of Dairy Science. 89 (4): 1174–8. doi:10.3168/jds.S0022-0302(06)72186-5. PMID 16537950.
  74. Enzymes - Chr. Hansen | Improving Food & Health เก็บถาวร 2011-11-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Chr. Hansen. Retrieved on 2014-01-14.
  75. DMS cheese enzymes page
  76. "What is Canola Oil?". CanolaInfo. สืบค้นเมื่อ 2012-12-29.
  77. David Bennett for Southeast Farm Press, February 5, 2003 World soybean consumption quickens เก็บถาวร 2006-06-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  78. "Soybean". Encyclopedia Britannica Online. สืบค้นเมื่อ February 18, 2012.
  79. "2012 World of Conn, National Corn Growers Association" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-02-07. สืบค้นเมื่อ 2012-12-29.
  80. Staff, GMO Compass. December 7, 2006. Genetic Engineering: Feeding the EU's Livestock เก็บถาวร 2017-01-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  81. Dale E. Baumana and Robert J Collier. September 15, 2010 Use of Bovine Somatotropin in Dairy Production เก็บถาวร 2013-05-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  82. Staff, American Cancer Society. Last Medical Review: 02/18/2011; Last Revised: 02/18/2011. Recombinant Bovine Growth Hormone เก็บถาวร 2015-03-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  83. Charlotte P. Brennand. "Bovine Somatotropin in Milk" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2011-03-06.
  84. Greg Cima, November for JAVMA News. November 18, 2010. Appellate court gives mixed ruling on Ohio rBST labeling rules
  85. 85.0 85.1 "INTERNATIONAL DAIRY FOODS ASS'N v. BOGGS – Argued: June 10, 2010". Leagle.com.
  86. Rick MacInnes-Rae for CBC News. November 27, 2013 GMO salmon firm clears one hurdle but still waits for key OKs AquaBounty began seeking American approval in 1995
  87. Andrew Pollack for the New York Times. "An Entrepreneur Bankrolls a Genetically Engineered Salmon" Published: May 21, 2012. Accessed September 3, 2012
  88. Staff (26 December 2012) Draft Environmental Assessment and Preliminary Finding of No Significant Impact Concerning a Genetically Engineered Atlantic Salmon; Availability Federal Register / Vol. 77, No. 247 / Wednesday, December 26, 2012 / Notices, Retrieved 2 January 2013
  89. Andre Pollack for the New York Times. February 6, 2009 F.D.A. Approves Drug From Gene-Altered Goats
  90. "Goat-produced antithombin official website". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-13. สืบค้นเมื่อ 2015-03-23.
  91. Bett, Charles; Ouma, James Okuro; Groote, Hugo De (August 2010). "Perspectives of gatekeepers in the Kenyan food industry towards genetically modified food". Food Policy. 35 (4): 332–340. doi:10.1016/j.foodpol.2010.01.003.
  92. Key S, Ma JK, Drake PM (June 2008). "Genetically modified plants and human health". J R Soc Med. 101 (6): 290–8. doi:10.1258/jrsm.2008.070372. PMC 2408621. PMID 18515776.
  93. Hallenbeck, Terri (2014-04-27). "How GMO labeling came to pass in Vermont". Burlington Free Press. สืบค้นเมื่อ 2014-05-28.
  94. Van Eenennaam, Alison; Chassy, Bruce; Kalaitzandonakes, Nicholas; Redick, Thomas (2014). "The Potential Impacts of Mandatory Labeling for Genetically Engineered Food in the United States" (PDF). Council for Agricultural Science and Technology (CAST). 54 (April 2014). ISSN 1070-0021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-05-29. สืบค้นเมื่อ 2014-05-28. จนถึงวันนี้ ยังไม่มีความแตกต่างในวัสดุของส่วนผสมหรือความปลอดภัยของพืชตัดแต่งพันธุกรรมที่วางขายอยู่ในตลาดที่สามารถระบุได้ว่าจะมีความจำเป็นที่จะต้องติดฉลากตามพื้นฐานของธรรมชาติของพันธุวิศวกรรมของผลิตภัณฑ์
  95. British Medical Association Board of Science and Education (2004). Genetically modified food and health: A second interim statement. March.
  96. Public Health Association of Australia (2007) GENETICALLY MODIFIED FOODS เก็บถาวร 2014-01-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน PHAA AGM 2007
  97. 97.0 97.1 97.2 Canadian Association of Physicians for the Environment (2013) Statement on Genetically Modified Organisms in the Environment and the Marketplace. เก็บถาวร 2014-03-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน October, 2013
  98. 98.0 98.1 Irish Doctors’ Environmental Association IDEA Position on Genetically Modified Foods. Retrieved 3/25/14
  99. 99.0 99.1 PR Newswire Genetically Modified Maize: Doctors' Chamber Warns of "Unpredictable Results" to Humans. November 11, 2013
  100. Chartered Institute of Environmental Health (2006) Proposals for managing the coexistence of GM, conventional and organic crops Response to the Department for Environment, Food and Rural Affairs consultation paper. เก็บถาวร 2017-05-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน October 2006
  101. American Medical Association (2012). Report 2 of the Council on Science and Public Health: Labeling of Bioengineered Foods. เก็บถาวร 2012-09-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน "เพื่อตรวจพบที่ดีขึ้นสำหรับภัยที่อาจเกิดขึ้นจากอาหารที่ผ่านขบวนการวิศวกรรมชีวภาพ คณะกรรมการเชื่อว่าการประเมินด้านความปลอดภัยก่อนนำเข้าสู่ตลาดควรจะเปลี่ยนจากกระบวนการแจ้งเตือนแบบสมัครใจไปเป็นข้อกำหนดที่บังคับต้องทำ" page 7
  102. Botha, Gerda M.; Viljoen, Christopher D. (2009). "South Africa: A case study for voluntary GM labelling". Food Chemistry. 112 (4): 1060–4. doi:10.1016/j.foodchem.2008.06.050.
  103. "The Regulation of Genetically Modified Food". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-10. สืบค้นเมื่อ 2015-03-24.
  104. Davison, John (2010). "GM plants: Science, politics and EC regulations". Plant Science. 178 (2): 94–8. doi:10.1016/j.plantsci.2009.12.005.
  105. Center for Food Safety International Labeling Laws
  106. "BGMO.jrc.ec.europa.eu". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-28. สืบค้นเมื่อ 2015-03-24.
  107. Costa, Joana; Mafra, Isabel; Amaral, Joana S.; Oliveira, M.B.P.P. (2010). "Monitoring genetically modified soybean along the industrial soybean oil extraction and refining processes by polymerase chain reaction techniques". Food Research International. 43: 301. doi:10.1016/j.foodres.2009.10.003.