ปลาสีขน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Caranx sexfasciatus)
ปลาสีขน
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Perciformes
วงศ์: Carangidae
สกุล: Caranx
สปีชีส์: C.  sexfasciatus
ชื่อทวินาม
Caranx sexfasciatus
Quoy & Gaimard, 1825
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์
ชื่อพ้อง
  • Carangus marginatus Gill, 1863
  • Carangus rhabdotus Jenkins, 1903
  • Caranx belengerii Cuvier, 1833
  • Caranx butuanensis Seale, 1910
  • Caranx elacate
    Jordan & Evermann, 1903
  • Caranx flavocoeruleus
    Temminck & Schlegel, 1844
  • Caranx forsteri Cuvier, 1833
  • Caranx fosteri Cuvier, 1833
  • Caranx marginatus (Gill, 1863)
  • Caranx oshimai Wakiya, 1924
  • Caranx paraspistes Richardson, 1848
  • Caranx peronii Cuvier, 1833
  • Caranx tapeinosoma Bleeker, 1856
  • Caranx thompsoni Seale, 1910
  • Caranx xanthopygus Cuvier, 1833
  • Caranx sexfaciatus elacate
    (Jordan & Evermann, 1903)
  • Caranx sexfaciatus marginatus
    (Gill, 1863)

ปลาสีขน[1] หรือ ปลาหางกิ่วหม้อ หรือ ปลากะมงตาแดง หรือ ปลากะมงตาโต [2] (อังกฤษ: Bigeye trevally, Dusky jack, Great trevally; ชื่อวิทยาศาสตร์: Caranx sexfasciatus) เป็นปลาทะเลกระดูกแข็งชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหางแข็ง (Carangidae)

มีลำตัวค่อนข้างอ้วน ยาวเรียว หัวมีขนาดใหญ่และป้อม ปากกว้าง เกล็ดมีขนาดปานกลางบริเวณเส้นข้างลำตัวมีเกล็ดขนาดใหญ่แข็งคม โดยเฉพาะบริเวณโคนหาง ตามีขนาดใหญ่อยู่เกือบสุดปลายจะงอยปาก ครีบอกยาวเรียวแหลม ครีบหลังยาวแยกเป็นสองอัน อันที่เป็นก้านครีบแข็งสั้น อันอ่อนส่วนหน้ายกสูงขึ้นและมีขนาดใกล้เคียงกับครีบก้น ครีบท้องมีขนาดเล็กอยู่ใต้ครีบอก ครีบหางปลายเป็นแฉกลึก พื้นลำตัวด้านบนเป็นสีน้ำเงินปนเขียว

จัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่อีกชนิดหนึ่งของวงศ์นี้ มีขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 120 เซนติเมตร หนัก 18 กิโลกรัม แต่ขนาดโดยเฉลี่ยราว 40-60 เซนติเมตร มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูง พบกระจายพันธุ์ในมหาสมุทรเขตร้อน ได้แก่ มหาสมุทรแปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย อย่างกว้างขวาง ตั้งแต่แคลิฟอร์เนีย, เอกวาดอร์, แอฟริกาใต้, ญี่ปุ่นทางตอนเหนือ จนถึงออสเตรเลียด้วย สำหรับในน่านน้ำไทยจะพบชุกชุมบริเวณช่องเกาะคราม, แสมสาร, เกาะเต่า ในฝั่งอ่าวไทย และฝั่งทะเลอันดามัน โดยมักจะอยู่รวมกันบางครั้งอาจพบได้ใต้โป๊ะ เป็นต้น และพบได้ถึงแหล่งน้ำจืด[3]

เป็นปลาที่มีรสชาติดี จึงนิยมบริโภคเป็นอาหาร และตกเป็นเกมกีฬา[4] และเลี้ยงเป็นปลาสวยงามในน้ำจืด หรือน้ำกร่อย โดยเลี้ยงกันตั้งแต่ยังเล็ก ๆ เหมือนเช่นปลากะมงพร้าว (C. ignobilis) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน แต่มีขนาดใหญ่กว่า [2]

อ้างอิง[แก้]

  1. หางกิ่ว ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
  2. 2.0 2.1 หน้า 123-128, Amphidromous story สุดยอดนักล่า ปลาสองน้ำ คอลัมน์ Wild Ambition โดย ชวิน ตันพิทยคุปต์, กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์, นันทวัฒน์ โชติสุวรรณ. นิตยสาร Aquarium Biz ปีที่ 3 ฉบับที่ 35: พฤษภาคม 2013
  3. Checklist of Freshwater Fishes of Thailand
  4. หางกิ่วหม้อ จากสนุกดอตคอม

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Caranx sexfasciatus ที่วิกิสปีชีส์