Capability Maturity Model Integration

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Capability Maturity Model Integration (CMMI) เป็น Model สำหรับวัดระดับวุฒิภาวะขององค์กร เหมาะแก่การนำไปใช้งานด้านการปรับปรุงกระบวนการการทำงานในองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์ สร้างโดย Carnegie Mellon University ประเทศสหรัฐอเมริกา เวอร์ชันปัจจุบันคือ 1.3 [1]

ภาพรวม[แก้]

CMMI แบ่งตามประเภทของงานได้ 3 กลุ่มคือ

  1. CMMI for Acquisition (CMMI-ACQ) ครอบคลุมกระบวนการด้านการจัดซื้อจัดจ้าง [2]
  2. CMMI for Development (CMMI-DEV) ครอบคลุมกระบวนการด้านการพัฒนา [3]
  3. CMMI for Services (CMMI-SVC) ครอบคลุมกระบนการด้านการให้บริการ [4]


การประเมินระดับของ CMMI มีอยู่ 5 ระดับ โดยในแต่ละระดับ มีความหมายดังนี้

  • ระดับ 1 มีการทำงานเกิดขึ้นในองค์กร
  • ระดับ 2 มีการใช้งานกระบวนการในระดับโครงการ
  • ระดับ 3 มีการใช้งานในระดับองค์กร
  • ระดับ 4 มีการวัดและประเมินการใช้กระบวนการ
  • ระดับ 5 มีการปรับปรุงกระบวนการ

กระบวนการ[แก้]

กระบวนการหลัก คือกระบวนการที่ใช้ในทั้ง CMMI-ACQ, CMMI-DEV, CMMI-SVC มีอยู่ทั้งหมด 16 กระบวนการได้แก่ [5]

ชื่อย่อ ชื่อเต็ม งานที่ครอบคลุม เป็นกระบวนการในระดับ
REQM Requirements Management การจัดการความต้องการ 2
PMC, WMC Project Monitoring and Control

Work Monitoring and Control

การติดตามแผนงาน 2
PP, WP Project Planning

Work Planning

การวางแผนโครงการ 2
CM Configuration Management การควบคุมความสอดคล้องกันขององค์ประกอบต่างๆ ในโครงการ 2
MA Measurement and Analysis การวัดและประเมินผล 2
PPQA Process and Product Quality Assurance การประกันคุณภาพ 2
OPD Organizational Process Definition การกำหนดกระบวนการ 3
OPF Organizational Process Focus การนำกระบวนการไปใช้งาน 3
OT Organizational Training การฝึกอบรม 3
IPM, IWM Integrated Project Management

Integrated Work Management

การบูรณาการแผนงานต่างๆ ในโครงการ 3
RSKM Risk Management การจัดการความเสี่ยง 3
DAR Decision Analysis and Resolution การตัดสินใจ 3
OPP Organizational Process Performance การวัดประสิทธิภาพของกระบวนการ 4
QPMQWM Quantitative Project Management

Quantitative Work Management

การเก็บรวบรวมค่าต่างๆ จากโครงการ 4
OPM Organizational Performance Management การจัดการด้านประสิทธิภาพ 5
CAR Causal Analysis and Resolution การหาสาเหตุและปรับปรุงกระบวนการ 5


กระบวนการเฉพาะของ CMMI-ACQ

  • Acquisition Requirements Development (ARD)
  • Acquisition Technical Management (ATM)
  • Acquisition Validation (AVAL)
  • Acquisition Verification (AVER)
  • Agreement Management (AM)
  • Solicitation and Supplier Agreement Development (SSAD)


กระบวนการเฉพาะของ CMMI-DEV

  • Product Integration (PI)
  • Requirements Development (RD)
  • Technical Solution (TS)
  • Validation (VAL)
  • Verification (VER)


กระบวนการเฉพาะของ CMMI-SVC

  • Capacity and Availability Management (CAM)
  • Incident Resolution and Prevention (IRP)
  • Service Continuity (SCON)
  • Service Delivery (SD)
  • Service System Development (SSD)
  • Service System Transition (SST)
  • Strategic Service Management (STSM)


อ้างอิง[แก้]