บีเซรีกาเนอาเกรอ

พิกัด: 45°38′28″N 25°35′17″E / 45.64101°N 25.58803°E / 45.64101; 25.58803
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Biserica Neagră)
โบสถ์ดำ
Biserica Neagră  (โรมาเนีย)
โบสถ์ดำในทิวนครบราชอฟ
แผนที่
ที่ตั้งบราชอฟ ภูมิภาคทรานซิลเวเนีย
ประเทศประเทศโรมาเนีย
นิกายลูเธอรัน
นิกายเดิมโรมันคาทอลิก
เว็บไซต์https://bisericaneagra.ro/
ประวัติ
อุทิศแก่นักบุญมารีย์
สถาปัตยกรรม
รูปแบบสถาปัตย์กอธิกตอนปลาย
งานฐานราก1383
แล้วเสร็จ1476

บีเซรีกาเนอาเกรอ (โรมาเนีย: Biserica Neagră) หรือที่รู้จักในชื่อ โบสถ์ดำ (อังกฤษ: Black Church, เยอรมัน: Schwarze Kirche, ฮังการี: Fekete templom) เป็นโบสถ์คริสต์นิกายลูเธอรันในนครบราชอฟ ทรานซิลเวเนีย ประเทศโรมาเนีย สร้างขึ้นครั้งแรกโดยชุมชนชาวซักซอนและเป็นตัวแทนสำคัญของสถาปัตยกรรมกอธิกในโรมาเนีย รวมถึงยังเป็นหนึ่งในศาสนสถานของลูเธอรันที่ใหญ่ที่สุดของภูมิภาคนี้ ปัจจุบันโบสถ์อยู่ใต้สังกัดคริสต์จักรอีวันเจลิคัลคำสารภาพของออกัสตันในโรมาเนีย และเป็นหนึ่งในจุดหมายตาและสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของนครบราชอฟ

นักเขียน Judit Petki ระบุไว้ว่า ถึงแม้จะเป็นที่เชื่อกันอย่างแพร่หลายว่าโบสถ์กลายมาเป็นสีดำเป็นผลจากเหตุเพลิงไหม้ในบราชอฟเมื่อปี 1689 แต่จริง ๆ แล้ว สีดำนี้มาจากมลพิษในยุคหลัง[1] และชื่อ "โบสถ์ดำ" นี้ก็พึ่งกำเนิดขึ้นในศตวรรษที่ 19[2]

ชื่อ[แก้]

นักเขียน Petki ระบุว่าความเชื่อที่ว่าชื่อโบสถ์ดำนั้นเป็นผลมาจากเหตุเพลิงไหม้นครในปี 1689 นั้นไม่เป็นเรื่องจริง ผลการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ไม่พบหลักฐานว่าโบสถ์ได้รับอันตรายหรือถูกทำลายจากไฟ และสีดำนี้มาจากมลภาวะในบราชอฟหลังเมืองกลายเป็นเมืองอุตสาหกรรมในศตวรรษที่ 19[1] เช่นเดียวกับว่าไม่ปรากฏหลักฐานการเรียกชื่อว่า "โบสถ์ดำ" มาก่อนศตวรรษที่ 19 เลย[2]

ประวัติศาสตร์[แก้]

การก่อสร้าง[แก้]

เดิมทีโบสถ์นี้เป็นศาสนสถานของนิกายโรมันคาทอลิก ในชื่อโบสถ์นักบุญมารีย์ สร้างขึ้นทดแทนโบสถ์หลังเก่าที่สร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ใช้สอยเดียวกัน[3] การก่อสร้างเริ่มต้นขึ้นในปลายศตวรรษที่ 14 ไม่ปรากฏว่าเมื่อใดเป็นเฉพาะ แต่จากการศึกษาหลักฐานที่เกี่ยวข้องทำให้นักวิจัยได้ข้อสรุปว่าน่าจะเริ่มก่อสร้างในราวปี 1383 ถึง 1385[4] โดยใช้แรงงานชาวบัลกาเรีย กับช่างฝีมือที่ต่อมาได้ตั้งอาณานิคมชาวบัลกาเรียในบราชอฟอยู่ที่ Șcheii Brașovului[5][6] ตำนานภาคประชาชนเรื่องหนึ่งเล่าว่ามีเด็กชาวเยอรมันคนหนึ่งมารบกวนช่างก่อสร้างชาวบัลกาเรีย หรือมาบอกว่ามีผนังหนึ่งที่เอียง ทำให้ช่างคนนั้นบันดาลโทสะ ผลักเด็กคนนั้นลงจากหอคอยของโบสถ์จนเสียชีวิต จากนั้นจึงก่ออิฐปิดรอบศพเด็กคนนั้นเข้ากับโบสถ์เพื่อปกปิดความผิดของตน[7]

การปฏิรูป[แก้]

พิธีกรรมคาทอลิกได้ถูกแทนที่ด้วยจารีตแบบลูเธอรันในสมัยการปฏิรูปโปรเตสแตนต์ ซึ่งประจวบเหมาะกับอิทธิพลของ Johannes Honter (1498–1549) ผู้ซึ่งมีรูปปั้นตั้งอยู่ที่ทิศใต้ของโบสถ์โดย Harro Magnussen (1861-1908) ว่ากันว่าโบสถ์ถูกทำลายไปบางส่วนในระหว่างอัคคีภัยใหญ่ของบราชอฟที่เกิดจากกองกำลังฮับส์บูร์กจุดไฟเผาในวันที่ 21 เมษายน 1689 ในระหว่างช่วงสงครามเติร์กใหญ่[8] แต่เรื่องเล่านี้ได้รับการพอสูจน์แล้วว่าไม่เป็นความจริง[1]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 Petki (2019)
  2. 2.0 2.1 Roth (2010)
  3. Vătăşianu, p.69, 228–229
  4. Vătășianu, p.228
  5. Heltmann & Servatius (1993)
  6. Miletich (1896), p. 16. Original text in German:
    "Den ersten Anfang des Anbanes [Anbaues?] dieser Vorstadt setzen alle Nachrichten, die ich finde, in die Zeit des 14 Seculi, in welchem die hiesige Stadkirche 1385 gebauet zu werden anfing. Da es nämlich bei diesem wichtigen Bau an genugsamen (genügsamen?) Handleuthen aus iler (?) Ursache (?) fehlte … waren die Kronstädter genöthigt, sich aus den benachbarten Provinzen Arbeitsleute kommen zu lassen. Auf diese Veranlassung kammen aus Bulgarien die von uns sogenannten Belger hieher, welche … an diesem Orte, welchen wir noch die Belgerey nennen, mit Vergünstigung des löblichen Magistrates sich wohnhaft niederzulassen." (Faulty transcription of German Text.)
  7. Balkanski (1996)
  8. Vătășianu, p.228, 526

บรรณานุกรม[แก้]

  • Balkanski, Todor [bg] (1996). "Окръг Брашов" ('Brașov County'), in Трансилванските (седмиградските) българи. Етнос. Език. Етнонимия. Ономастика. Просопографии ('The Transylvanian (seven-city [cf. Siebenbürgen#Etymology]) Bulgarians. Ethnos. Language. Ethnonymy. Onomastics. Prosopography'), IK "Znak '94", Veliko Tarnovo, p. 44. Via macedonia.kroraina.com, re-accessed 19 Oct 2021.
  • Heltmann, Heinz & Servatius, Gustav (1993). Reiseführer Siebenbürgen. Wort und Welt Verlag, Thaur bei Innsbruck, p.365.
  • Kotzan, Anne (2013). Rumänien. Baedeker. p. 187. ISBN 3829714475. สืบค้นเมื่อ 19 October 2021.
  • Miletich, Lyubomir (1896). "Дако-ромънитѣ и тѣхната славянска писменость. Часть II. Нови влахо-български грамоти отъ Брашовъ: Брашов и брашовските българите („шкеи”, bolgárszeg)" (based on Google translation: "Daco-Romanian[s?] and their Slavic [documents?]. Part II. New Vlacho-Bulgarian diplomas from Braşov: Braşov and the Bulgarians of Braşov ("Șkei", bolgárszeg)"), in Сборникъ за Народни Умотворения, Наука и Книжнина ('Collection of Folk Tales, Science and Literature'), Vol. XIII, 1896, Sofia.
  • Petki, Judit. Kulcskérdések a Nagy tűzről, 'Key questions about the Great Fire' (in Hungarian). Brassói Lapok, 5 September 2019, p. 4.
  • Roth, Harald (2010). Kronstadt in Siebenbürgen – Eine kleine Stadtgeschichte. pp. 162–164, ISBN 9783412206024.
  • Vătășianu, Virgil (1959). Istoria artei feudale în țările romîne ('History of feudalistic [i.e. medieval] art in the Romanian lands'), Vol. I. Editura Academiei RPR, Bucharest. OCLC 536121
  • Ziegler, Ágnes; Ziegler, Frank-Thomas (2019). Gott zu Ehren und der löblichen Zunft zur Zierde und Gebrauch [In honour of God, for adornment and use by the honourable guild] (ภาษาเยอรมัน). Brasov. ISBN 9786068582559.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

45°38′28″N 25°35′17″E / 45.64101°N 25.58803°E / 45.64101; 25.58803