ภาง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Bhang)
ร้านจำหน่ายภางแห่งหนึ่งในไชสัลเมร์ รัฐราชสถาน ประเทศอินเดีย

ภาง (IAST: Bhāṅg) เป็นใบกัญชาสำหรับรับประทาน มีที่มาจากอนุทวีปอินเดีย[1][2] มีปรากฏการใช้เป็นส่วนผสมของอาหารและเครื่องดื่มมาตั้งแต่ 1000 ปีก่อนคริสต์กาลในอินเดียโบราณ[3][4] ตามธรรมเนียมแล้วนิยมแจกจ่ายภางกันในช่วงเทศกาลมหาศิวราตรีและโหลี[5][6] นิยมนำภางมาผสมกับเครื่องดื่มลัสซี กับทานดาอี[7]

ในบันทึกของตะวันตก[แก้]

กราเซีย เด ออร์ตา แพทย์ชาวยิวโปรตุเกสที่อาศัยในกัว ได้เขียนบันทึกเกี่ยวกับ bangue อย่างละเอียดไว้ในหนังสือ Colóquios dos simples e drogas da India (1563) ของเขา[8] ในนี้เขายังได้เขียนถึงการใช้ภางเพื่อประโยชน์เชิงนันทนาการโดยทั้ง บะฮาดูร ชาห์ แห่งคุชราต และชาวโปรตุเกสหลายคน[9] ในบันทึกเขายังเขียนปฏิเสธไว้อย่างเด็ดขาดว่าพืชอินเดียที่นำมาใช้ผลิต bangue นั้นเป็นพืชคนละชนิดกับ European hemp plant (alcanave)[10]

ในปี 1596 Jan Huyghen van Linschoten ชาวดัตช์ เขียนถึง "Bangue" ไว้สามหน้าในบันทึกการเดินทางไปตะวันออกของเขา นอกจากนี้เขายังพูดถึง hashish ของอียิปต์, boza ของตุรกี, และ bursj ของอาหรับที่นำมาบริโภคกัน[11][12][13]

การเตรียม[แก้]

เปดาที่ทำมาจากใบภาง

ใบกัญชาจะถูกนำมาตำด้วยครกจนมีลักษณะเป็นเหมือนเนื้อน้ำพริก ซึ่งนำมาใส่อาหารได้ ในเครื่องดื่มจะนำไปผสมนมและกรอง ในมถุรา สามารถพบภางในรูป ตันดาอี และลัสซี นอกจากนี้ยังมีรูปแบบภางที่นำไปผสมกับฆีและน้ำตาล ได้เป็นหัลวาสีม่วง หรือนำมาปั้นเป็นก้อนเคี้ยวหนึบเล็ก ๆ ที่เรีกยว่า goli (แปลว่าเม็ดยา) ส่วนภางในรูป ชัตนีย์ ยังสามารถพบได้ในอาหารกูมาโอนีของอุตตราขัณฑ์

วัฒนธรรม[แก้]

ภางเป็นส่วนหนึ่งของธรรมเนียมฮินดูโบราณ และในธรรมเนียมของอนุทวีปอินเดีย ในแถบชนทบทของอินเดียยังคงใช้ภางหรือกัญชาในฐานะยา เชื่อกันว่าหากบริโภคในปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยรักษาไข้, ท้องร่วงบิด และ ลมแดด, ใช้ขับเสลด, ช่วยย่อย, เพิ่มความอยากอาหาร, รักษาความผิดปกติในการพูด และ ช่วยให้ร่างกายตื่นตัวดี[14]

สถานะทางกฎหมาย[แก้]

ในการประชุม Single Convention on Narcotic Drugs ปี 1961 เป็นการลงนามระหว่างประเทศครั้งแรกที่จะให้กัญชาทั้งปวงเป็นสิ่งผิดกฎหมาย ยกเว้นเพียงเพื่อการวิจัยและการแพทย์[15] แต่นิยามของกัญชาในการลงนามครั้งนั้นไม่ได้ระบุรวมถึงใบ จึงทำให้พางยังคงสถานะที่ถูกกฎหมายในอินเดีย[16] อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน การเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวกัญชาในอินเดียถูกควบคุมอย่างหนักโดยรัฐ[17]

อ้างอิง[แก้]

  1. Torkelson, Anthony R. (1996). The Cross Name Index to Medicinal Plants, Vol. IV: Plants in Indian medicine, p. 1674, ISBN 9780849326356, OCLC 34038712. CRC Press. ISBN 9780849326356.
  2. Helen Schreider; Frank Schreider (October 1960). "From The Hair of Siva". National Geographic. 118 (4): 445–503.
  3. Staelens, Stefanie. "The Bhang Lassi Is How Hindus Drink Themselves High for Shiva". Vice.com. สืบค้นเมื่อ 10 August 2017.
  4. Courtwright, David T. (2009). Forces of Habit. Harvard University Press. ISBN 978-0-674029-90-3.
  5. "Right kick for day-long masti". The Times of India. 16 March 2014. สืบค้นเมื่อ 7 April 2019.
  6. "Holi 2014: Festival Of Colors Celebrates Spring (SONGS, PHOTOS)". Huffington Post. 16 March 2014. สืบค้นเมื่อ 17 March 2014.
  7. "Thandai in Mumbai: 12 bars in the city to get more bhang for your buck". GQ India (ภาษาIndian English). 9 March 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-08-05.
  8. "GARCIA DA ORTA". antiquecannabisbook.com. สืบค้นเมื่อ 2020-08-05.
  9. Ball, V. (1889). "A Commentary on the Colloquies of Garcia de Orta, on the Simples, Drugs, and Medicinal Substances of India: Part I". Proceedings of the Royal Irish Academy. 1: 381–415. ISSN 0301-7400. JSTOR 20503854.
  10. "GARCIA DA ORTA". reefermadnessmuseum.org. สืบค้นเมื่อ 2020-08-05.
  11. Booth, Martin (2011-09-30). Cannabis: A History (ภาษาอังกฤษ). Random House. p. 95. ISBN 978-1-4090-8489-1.
  12. "Voyage of Huyghen Van Linschoten to the East Indies". gexabo.yn.fanypy.pw. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-27. สืบค้นเมื่อ 2020-08-05.
  13. Burnell, Arthur Coke & Tiele, P.A. (1885). The voyage of John Huyghen van Linschoten to the East Indies. from the old English translation of 1598: the first book, containing his description of the East. London: The Hakluyt Society. pp. 115–117. Full text at Internet Archive. Chapter on Bangue.
  14. Holi Festival, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 October 2016, สืบค้นเมื่อ 8 June 2019 Tradition of Bhang
  15. "Recreational use of marijuana: Of highs and laws". The Times of India (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 1 March 2018.
  16. Boister, Neil; Jelsma, Martin (2018). "Inter se modification of the UN drug control conventions: An exploration of its applicability to legitimise the legal regulation of cannabis markets". International Community Law Review (ภาษาอังกฤษ). 20: 472. doi:10.1163/18719732-12341385. hdl:10092/101255. ISSN 1388-9036. S2CID 150161293.
  17. "India's Cannabis Market: Examining Regulatory Frameworks then & Now". 5 March 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]