เบเร็ตตา 92
เบเร็ตตา 92 | |
---|---|
รุ่น 92 เอ 1 | |
ชนิด | ปืนสั้นกึ่งอัติโนมัติ |
แหล่งกำเนิด | อิตาลี |
บทบาท | |
ประจำการ | พ.ศ. 2519–ปัจจุบัน |
ผู้ใช้งาน | ดูที่ ประเทศผู้ใช้งานและประเทศผู้ผลิตออกมาในลักษณะเดียวกัน |
ประวัติการผลิต | |
ช่วงการออกแบบ | พ.ศ. 2518 |
บริษัทผู้ผลิต | เบเร็ตตา |
ช่วงการผลิต | พ.ศ. 2519–ปัจจุบัน |
จำนวนที่ผลิต | 3,500,000 [1] |
ข้อมูลจำเพาะ | |
มวล | 950 กรัม (34 ออนซ์) |
ความยาว | 217 มิลลิเมตร (8.5 นิ้ว) |
ความยาวลำกล้อง | 125 มิลลิเมตร (4.9 นิ้ว) |
กระสุน | กระสุนขนาด 9×19 มิลลิเมตร |
ความเร็วปากกระบอก | 381 m/s (1,250 ft/s) |
ระยะหวังผล | 50 m (160 ft) |
ระบบป้อนกระสุน | บรรจุกระสุนในแม็กกาซีนได้:
|
เบเร็ตตา 92 (อังกฤษ: Beretta 92) เป็นปืนสั้นกึ่งอัตโนมัติชนิดหนึ่ง ผลิตโดยบริษัทเบเร็ตตาสัญชาติอิตาลี เริ่มออกแบบในปี พ.ศ. 2518 และผลิตออกมาในปี พ.ศ. 2519 เป็นปืนสั้นกึ่งอัตโนมัติอีกชนิดหนึ่งที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน และยังมีหลายประเทศนำไปผลิตในลักษณะเดียวกันกับปืนสั้นรุ่นนี้ อาทิ ประเทศบราซิลผลิตในชื่อเทอร์ราส พีที92, สหรัฐผลิตในชื่อเบเร็ตตา เอ็ม9, ประเทศตุรกี ผลิตในชื่อวายุส16 เป็นต้น
ปืนสั้นชนิดนี้มีหลายรุ่น[2] ได้แก่ 92, 92D, 92เอฟเอส[3], เซ็นทรัลนิออล, อีลีท แอลทีที ฯลฯ เบเร็ตตา 92 บรรจุกระสุนขนาด 9×19 มิลลิเมตร บรรจุในแม็กกาซีนได้ 13 นัด[4]
ประวัติ
[แก้]เบเร็ตตา 92 ได้แรงบันดาลใจมาจากปืนพกหลายชนิด โดยลำกล้อง ไกปืน และส่วนประกอบต่างๆ ได้แรงบันดาลใจมาจากวอลเทอร์ พี38[4] และมีการทำงานและตัวปืนบางส่วนที่ยังคล้ายคลึงกับบราวนิง ไฮ-พาวเวอร์ อีกด้วย[5]
การ์โล บาเร็ตตา, กียูเซปเป เมซเซสตี และวิคตอริโอ วาเลได้ร่วมกันออกแบบปืนสั้นชนิดนี้ และออกแบบเสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2518[6]
ประเทศผู้ใช้งานและประเทศผู้ผลิตออกมาในลักษณะเดียวกัน
[แก้]- สหรัฐ: ผลิตในชื่อ "เบเร็ตตา เอ็ม9" และใช้ในกองทัพสหรัฐ[7] แทนปืนพกเอ็ม 1911
- อิตาลี
- บราซิล: ผลิตออกมาในชื่อ "เทอร์ราส พีที92" (Taurus PT 92) โดยบริษัทเทอร์ราส และใช้กันในกองทัพบราซิล[8]
- ตุรกี: ผลิตออกมาในชื่อ "วายุส 16" โดยบริษัทกรีซาน[9] และใช้กันในกองทัพตุรกี[10][11]
- แอฟริกาใต้: ผลิตออกมาในชื่อ "เวกตอร์ เอส16" โดยบริษัทเวกตอร์[8]
- อียิปต์: ผลิตออกมาในชื่อ "เฮลวาน 920"[8][12]
- ไทย: ใช้ประจำการในกองทัพบกไทย[13]
- มาเลเซีย: ใช้ในกองทัพมาเลเซียและตำรวจมาเลเซีย[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Excellence N0.10". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-17. สืบค้นเมื่อ 2020-06-18.
- ↑ Wilson, Robert Lawrence (2000). The World of Beretta: An International Legend. New York: Random House. pp. 207, 234. ISBN 978-0-375-50149-4.
- ↑ Lawrence, Erik; Pannone, Mike (19 February 2015). Beretta 92FS/M9 Handbook. Erik Lawrence Publications. p. 10. ISBN 978-1-941998-55-7.
- ↑ 4.0 4.1 ตำนาน BERETTA สุดยอดปืนพก
- ↑ Gangarosa, Gene Jr., "Modern Beretta Firearms", Stoeger Publishing (1994)
- ↑ "Beretta Web - 92FS 15 years of evolution and success". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 August 2017. สืบค้นเมื่อ 25 December 2014.
- ↑ "Beretta Web – M9A1". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-12. สืบค้นเมื่อ 2010-03-06.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 8.3 Diez, Octavio (2000). Armament and Technology. Lema Publications, S.L. ISBN 84-8463-013-7.
- ↑ "References". Girsan. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 May 2014. สืบค้นเมื่อ 6 May 2014.
- ↑ "REGARD MC - Girsan". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 April 2015. สืบค้นเมื่อ 25 December 2014.
- ↑ "Modern Firearms". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 December 2014. สืบค้นเมื่อ 25 December 2014.
- ↑ Alberts, Kristin (5 February 2013). "The Helwan 920: Cheap Knock-Off or Beretta-Quality?". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 June 2015. สืบค้นเมื่อ 14 June 2015.
- ↑ "อาวุธประจำกาย และอาวุธธประจำกายทหารราบ" [Body armor and weapons for the infantry]. Thai Army. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-24. สืบค้นเมื่อ 2019-03-24.