ทองสัมฤทธิ์เบนิน
ทองสัมฤทธิ์เบนิน หรือ เบนินบรอนซ์ (อังกฤษ: Benin Bronzes) เป็นกลุ่มของแผ่นโลหะประดับบางและประติมากรรมโลหะจำนวนมากกว่าหนึ่งพันชิ้น[a] ที่เคยประดับพระราชวังของราชอาณาจักรเบนินที่ซ่งปัจจุบันอยู่ในพื้นที่ของประเทศไนจีเรีย เบนินบรอนซ์เป็นหนึ่งในกลุ่มของตัวอย่างที่ดีที่สุดของศิลปะเบนิน สร้างขึ้นตั้งแต่ในศตวรรษที่สิบสามเป็นต้นมาโดยชาวเอโด
ในปี 1897 แผ่นโลหะเบนินและวัตถุอื่น ๆ ได้ถูกปล้นไปจากราชอาณาจักรเบนินโดยกองกำลังอังกฤษระหว่างการเดินทางลงโทษราชอาณาจักรเบนิน[3] วัตถุจำนวนสองร้อยชิ้นได้ถูกนำไปส่งมอบให้กับบริติชมิวเซียมในกรุงลอนดอน ในขณะที่ที่เหลือถูกขโมยและอยู่ภายใต้ครอบครองของพิพิธภัณฑ์อื่น ๆ ในทวีปยุโรป[4] ในปัจจุบันชิ้นงานส่วนใหญ่อยู่ภายใต้การดูแลของบริติชมิวเซียม[3] เช่นเดียวกับพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ ในเยอรมนีและสหรัฐอเมริกา[5]
เบนินบรอนซ์ได้นำไปสู่การยอมรับวัฒนธรรมแอฟริกาและศิลปะแอฟริกาในยุโรปที่มากขึ้น แรกเริ่มเดิมทีเป็นเรื่องที่ดูเป็นไปไม่ได้ที่จะค้นพบว่ากลุ่มคนที่ "ควรจะป่าเถื่อนและใช้ชีวิตแบบบรรพกาล" จะสามารถรังสรรค์ชิ้นงานที่มีความสวยงามและซับซ้อนเช่นนี้ได้[6] บางส่วนถึงกับเข้าใจผิดว่าการทำเหล็กในเบนินนั้นได้รับมาจากพ่อค้าชาวโปรตุเกสที่เดินทางเข้ามาติดต่อกับชาวเบนินในยุคสมัยใหม่ตอนต้น[6] แต่ในความเป็นจริงแล้วอาณาจักรเบนินเคยเป็นศูนย์กลางของอารยธรรมแอฟริกามายาวนานก่อนการเข้ามาของชาวโปรตุเกสเสียอีก[7] และเป็นที่ประจักษ์ว่างานบรอนซ์เหล่านี้สร้างสรรค์ขึ้นในเบนินด้วยวัฒนธรรมพื้นถิ่น ชิ้นงานหลายชิ้นมีอายุเก่าแก่ถึงศตวรรษที่ 13 ซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนการติดต่อกับชาวโปรตุเกส ส่วนชิ้นงานส่วนมากอายุราวศตวรรษที่สิบห้าและสิบหก เชื่อกันว่า "ยุคทอง" ของหัตถกรรมลมโลหะเบนินนั้นอยู่ในรัชสมัยของเอซีกี (ราว 1550) และเอเรโซเยน (1735–50) ที่ซึ่งงานหัตถกรรมเหล่านี้มีคุณภาพสูงสุด[8]
ชิ้นงานโลหะเหล่านี้หล่อขึ้นด้วยวิธีลอสท์-แวกซ์ และยอมรับกันว่าเป็นหนึ่งในบรรดาประติมากรรมที่ดีที่สุดที่สร้างสรรค์ขึ้นด้วยวิธีนี้[9]
อ้างอิง
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Dohlvik 2006, p. 7.
- ↑ Nevadomsky 2005, p. 66.
- ↑ 3.0 3.1 "British museums may loan Nigeria bronzes that were stolen from Nigeria by British imperialists". The Independent. 24 June 2018. สืบค้นเมื่อ 14 December 2018.
- ↑ Greenfield 2007, p. 124.
- ↑ Benin Diplomatic Handbook, p. 23.
- ↑ 6.0 6.1 Meyerowitz, Eva L. R. (1943). "Ancient Bronzes in the Royal Palace at Benin". The Burlington Magazine for Connoisseurs. The Burlington Magazine Publications, Ltd. 83 (487): 248–253. JSTOR 868735.
- ↑ "Benin and the Portuguese". Khan Academy. สืบค้นเมื่อ 26 November 2018.
- ↑ Greenfield 2007, p. 122.
- ↑ Nevadomsky 2004, pp. 1, 4, 86–8, 95–6.
บรรณานุกรม
[แก้]- Phillips, Barnaby (2022). LOOT: Britain and the Benin Bronzes. Oneworld Publications. ISBN 9780861543137.
- Beretta, Alcides; Rodenas, María Dolores (1983). Historia del Arte: La escultura del África negra (ภาษาสเปน). Vol. II. Barcelona: Carroggio. ISBN 978-84-7254-313-3.
- Docherty, Paddy (2021). Blood and Bronze: The British Empire and the Sack of Benin. London: Hurst. ISBN 978-1-787-38456-9.
- Dohlvik, Charlotta (May 2006). Museums and Their Voices: A Contemporary Study of the Benin Bronzes (PDF). International Museum Studies. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-10-19. สืบค้นเมื่อ 2021-01-07.
- Gowing, Lawrence, บ.ก. (1984). Historia Universal del Arte (ภาษาสเปน). Vol. IV. Madrid: SARPE. ISBN 978-84-7291-592-3.
- Greenfield, Janette (2007). The Return of Cultural Treasures. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-80216-1.
- Hicks, Dan (2020). The Brutish Museums. The Benin Bronzes, Colonial Violence and Cultural Restitution. Pluto Press. ISBN 9780745341767.
- Huera, Carmen (1988). Historia Universal del Arte: África, América y Asia, Arte Primitivo. Barcelona: Planeta. ISBN 978-8432066900.
- Leuzinger, Elsy (1976). Arte del África negra (ภาษาสเปน). Barcelona: Ediciones Polígrafa. ISBN 978-84-343-0176-4.
- Lundén, Staffan (2016). Displaying Loot. The Benin objects and the British Museum. Gotark Series B, Göteborgs Universitet.
- Nevadomsky, Joseph (Spring 2004). "Art and Science in Benin Bronzes". African Arts. 37 (1): 1, 4, 86–88, 95–96. doi:10.1162/afar.2004.37.1.1. JSTOR 3338001.
- Nevadomsky, Joseph (2005). "Casting in Contemporary Benin Art". African Arts. 38 (2): 66–96. doi:10.1162/afar.2005.38.2.66.
- Pijoan (1966). Pijoan-Historia del Arte. Vol. I. Barcelona: Salvat Editores.
- Titi, Catharine (2023). The Parthenon Marbles and International Law. Springer. ISBN 978-3-031-26356-9.
- Willett, Frank (1985). African Art: An Introduction (Reprint. ed.). New York: Thames and Hudson. ISBN 978-0-500-20103-9.
- Benin Diplomatic Handbook. International Business Publications. 2005. ISBN 978-0-7397-5745-1.[ลิงก์เสีย]