BYOD

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Bring Your Own Device (BYOD) (แปลตามอักษร: "นำอุปกรณ์ของคุณมาเอง") อธิบายถึงแนวโน้มทางเทคโนโลยี ที่พนักงานนำอุปกรณ์พกพาของตัวเองมาที่ที่ทำงาน และใช้อุปกรณ์ดังกล่าวเพื่อใช้ทรัพยากรที่มีการควบคุมการเข้าถึงของบริษัท เช่น อีเมล ไฟล์เซิร์ฟเวอร์ และฐานข้อมูล[1] บางคนใช้คำว่า Bring Your Own Technology (BYOT) เนื่องจากมันมีความหมายกว้างกว่า ไม่จำกัดอยู่เฉพาะฮาร์ดแวร์เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงซอฟต์แวร์บนอุปกรณ์ด้วย[2] (เช่น เว็บเบราว์เซอร์, โปรแกรมเล่นสื่อ, แอนตี้ไวรัส, โปรแกรมประมวลคำ)

BYOD มีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ ในโลกธุรกิจที่ประมาณ 90% ของพนักงาน ใช้อุปกรณ์ของตัวเองอยู่แล้วในที่ทำงาน (แม้จะใช้อย่างจำกัดก็ตาม) ส่วนใหญ่แล้ว ธุรกิจต่าง ๆ ไม่สามารถห้ามแนวโน้มดังกล่าวได้ บางคนเชื่อว่า BYOD อาจช่วยให้พนักงานมีผลิตภาพมากขึ้น[3]

หากปล่อยไว้โดยไม่บริหารจัดการ วิธีปฏิบัติดังกล่าวอาจนำไปสู่การรั่วไหลของข้อมูล[4] ตัวอย่างเช่น ถ้าพนักงานคนหนึ่งใช้สมาร์ตโฟนของเขาเพื่อเข้าถึงเครือข่ายของบริษัท และต่อมาทำโทรศัพท์ดังกล่าวหาย ข้อมูลที่เป็นความลับของบริษัทที่เก็บอยู่ในโทรศัพท์ดังกล่าว ก็อาจจะถูกอ่านได้โดยคนที่ไม่อาจไว้ใจได้[5]

ประเด็นปัญหาที่ใหญ่ที่สุดประการหนึ่ง ซึ่งตัดสินใจได้ยากในการบริหารจัดการ BYOD ก็คือการติดตามและควบคุมการเข้าถึงเครือข่ายของบริษัทและเครือข่ายส่วนตัว

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Tony Bradley (21 ธันวาคม 2011). "Pros and Cons of Bringing Your Own Device to Work". PCWorld. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 สิงหาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 4 กรกฎาคม 2012.
  2. "BYOD: The Complete Guide". hysolate.com.
  3. Gina Smith (16 กุมภาพันธ์ 2012). "10 myths of BYOD in the enterprise". TechRepublic.
  4. Brian Bergstein (21 พฤษภาคม 2012). "IBM Faces the Perils of "Bring Your Own Device"". Technology Review. MIT. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 มิถุนายน 2012.
  5. Paul Rubens (9 เมษายน 2012). "4 Steps to Securing Mobile Devices and Apps in the Workplace". eSecurity Planet.