ข้ามไปเนื้อหา

1มาเลเซีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นมโรงเรียน 1มาเลเซีย
คลินิก 1มาเลเซีย แห่งหนึ่ง
ตัวอย่างโครงการภายใต้นโยบาย 1มาเลเซีย

1มาเลเซีย (อักษรโรมัน: 1Malaysia; วันมาเลเซีย ในภาษาอังกฤษ หรือ ซาตูมาเลเซีย; Satu Malaysia ในภาษามาเลย์) เป็นโครงการที่ออกแบบและเสนอโดยนายกรัฐมนตรีมาเลเซียคนที่ 6 นาจิบ ตุน ราซัก ครั้งแรกในช่วงฤดูร้อนของปี 2009[1] แนวคิดของ 1มาเลเซีย คือการสนับสนุนความสามัคคีของคนในชาติ ราซักระบุว่า ค่านิยมแปดประการของ 1มาเลเซีย คือ "วัฒนธรรมที่มีประสิทธิภาพสูง, ความแม่นยำ, ความรู้, นวัตกรรม, ความร่วมแรงร่วมใจ, แรงปราถนาที่มั่นคง, ความซื่อสัตย์ และ ปัญญา"[2][3] 1มาเลเซีย ถูกนำมาใช้ในรูปของนโยบายรัฐที่พัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวมาเลเซียในรัฐบาลของนาจิบ ราซัก เช่น โครงการไวไฟชุมชนในชนบท, คลินิก 1มาเลเซีย จำนวน 50 แห่ง, โครงการลงทุนเบอร์ฮัดการพัฒนา, ตลาด KR1M และ อีเมล 1มาเลเซีย

หนึ่งปีหลังแนวคิดนี้ถูกนำเสนอ มาฮาตีร์ โมฮามัด อดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซียคนที่ 4 และคนที่ 7 ในอนาคต และอดีตที่ปรึกษาของนาจิบ ราซัก เคยกล่าวถึงแนวคิดนี้ว่า เขา "masih tidak faham" ("ยังคงไม่เข้าใจ[ว่าคืออะไร]")[4] ราวสองปีถัดมา ผลการสำรวจความคิดเห็นสาธารณะในปี 2010 พบว่าชาวมาเลเซียไม่เข้าใจแนวคิดนี้เช่นกัน มาเลเชียนอินไซเดอร์ (Malaysian Inside) ระบุว่า ในบรรดาคนมาเลเซียที่ไม่ใช่ชาวมลายูที่สำรวจ "แทบจะแบ่งกันเป็นสองขั้วในประเด็นเรื่องความสามัคคีระดับชาติของนาจิบ คนที่สำรวจ 46 % เชื่อว่า 1มาเลเซีย เป็นแค่วาทกรรมทางการเมืองที่มีไว้เพื่อชนะคะแนนเสียงจากคนที่ไม่ใช่มลายู" และ "เพียง 39 % ของคนที่ไม่ใช่มลายูเชื่อว่าแนวคิดนี้เกิดขึ้นด้วยความตั้งใจจริงที่จะสร้างความปรองดองในคนทุกเชื้อชาติของมาเลเซีย"[5]

โครงการคลินิก 1มาเลเซีย ถูกวิพากษ์วิจารณ์สำหรับการให้บริการ โดยเฉพาะการขาดแคลนอุปกรณ์, ยาหมดอายุ, บุคลากรการแพทย์ที่ไม่ได้คุณภาพ และความไร้มารยาทของพยาบาลต่อผู้ป่วย[6][7][8][9] เช่นเดียวกันกับโครงการ หมู่บ้านไร้สาย 1มาเลเซีย (Kampung Tanpa Wayar - KTW) ซึ่งติดตั้งไวไฟในชุมชน ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากชุมชนในชนบทที่เรียกโครงการนี้ว่า "ล้มเหลว" เนื่องจากบริการไวไฟเหล่านี้ช้าและเสียบ่อย[10][11][12] ส่วนโครงการลงทุน 1MDB เต็มไปด้วยเรื่องอื้อฉาวทางการเงินและข้อกล่าวหาฉ้อโกงอย่างหนัก[13][14]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "The 1Malaysia Concept Part 1". NajibRazak.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-17. สืบค้นเมื่อ 7 July 2018.
  2. "Cabinet agrees to revamp Biro Tata Negara curriculum". The Sun Daily. 1 December 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2018. สืบค้นเมื่อ 8 July 2018.
  3. "1Malaysia Concept In Local Drama Series, Bernama, 14 December 2009". Bernama.com.my. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 May 2012. สืบค้นเมื่อ 12 January 2012.
  4. [1] Mingguan Malaysia. 2 August 2009
  5. Poll Shows Divided Malays เก็บถาวร 15 กันยายน 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The Malaysian Insider. 9 July 2010
  6. Bavani M; Sheila Sri Priya (26 May 2014). "Public shy away from 1Malaysia clinics". The Star. สืบค้นเมื่อ 26 May 2014.
  7. P. Chandra Sagaran (19 February 2014). "Sick girl claims 1Malaysia clinic dispenses expired medicine". The Malay Mail. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-09. สืบค้นเมื่อ 19 February 2014.
  8. "Two-year-old toddler denied treatment as his mother's pants was apparently too short". The Rakyat Post. 6 November 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 November 2015. สืบค้นเมื่อ 6 November 2015.
  9. "Parents fume after baby having asthma attack rejected by clinic in Malaysia as it was near closing time". The Straits Times. 6 April 2016. สืบค้นเมื่อ 7 April 2016.
  10. Rintos Mail (18 July 2013). "Penrissen folk complain about frequent disruptions to Kampung Tanpa Wayar initiative". The Star Online. สืบค้นเมื่อ 15 April 2016.
  11. "Projek Kampung Tanpa Wayar gagal" (ภาษามาเลย์). Sinar Harian. 22 April 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 September 2016. สืบค้นเมื่อ 15 April 2016.
  12. "Penduduk kecewa masalah internet" (ภาษามาเลย์). Sinar Harian. 22 December 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 September 2016. สืบค้นเมื่อ 15 April 2016.
  13. "DAP Questions 1MDB's 'bailout'". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 March 2014. สืบค้นเมื่อ 25 February 2014.
  14. "1MDB buys Tadmax land for RM317mil - Business News | the Star Online".