ไอน์ชไตน์ทวร์ม
หอคอยไอน์สไตน์ หรือ ไอน์ชไตน์ทวร์ม (เยอรมัน: Einsteinturm) เป็นหออดูดาวทางดาราศาสตร์ตั้งอยู่ในอุทยานวิทยาศาสตร์อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ตั้งอยู่ในพ็อทซ์ดัม ประเทศเยอรมนี ผลงานออกแบบโดยสถาปนิกเอริช เม็นเดิลโซน[1] ตั้งอยู่บนยอดเขา เทเลอกราเฟินแบร์ค ในพ็อทซ์ดัม เพื่อใช้สำหรับตั้งกล้องดูดาวดวงอาทิตย์ ผลงานออกแบบโดยแอร์วีน ฟินเลย์-ฟร็อยนท์ลิช กล้องดูดาวนี้สนับสนุนการทดลองและการสำรวจเพื่อสนับสนุนทฤษฎีสัมพันธภาพของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ อาคารเริ่มออกแบบตั้งแต่ปี 1917, ก่อสร้างระหว่างปี 1919 ถึง 1921 ภายใต้เงินสนับสนุนจากการระดมทุน และเปิดใช้งานในปี 1924[2] แม้ว่าไอน์สไตน์จะไม่เคยทำงานที่นี่ แต่เขาก็สนับสนุนการก่อสร้างและการทำงานของกล้องดูดาวที่นี่ ปัจจุบันยังคงใช้งานดูดวงอาทิตย์สำหรับสถาบันฟิสิกส์ดาราศาสตร์ไลบ์นิทซ์ พ็อทซ์ดัม
หอคอยถูกถล่มอย่างหนักจากการทิ้งระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง บล็อกสถาปัตยกรรม A456 ชี้ให้เห็นว่าในตอนนั้นซากของอาคารดูแล้วจะใกล้เคียงกับภาพร่างแนวคิดของเม็นเดิลโซนมากกว่าหอคอยเดิมก่อนถูกถล่ม[3] หอคอยนี้มักถูกยอมรับว่าเป็นจุดหมายตาสำคัญของสถาปัตยกรรมสำแดงพลังอารมณ์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Wolfschmidt & Cotte 2010.
- ↑ Michio Kaku (2004). "New Copernicus". Einstein's Cosmos.
- ↑ "The Legibility of Destruction". Aggregat456.com. 25 January 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-19. สืบค้นเมื่อ 18 October 2018.
บรรณานุกรม
[แก้]- Klaus Hentschel: The Einstein Tower An Intertexture of Dynamic Construction, Relativity Theory, and Astronomy, Stanford University Press, Stanford 1997.
- Paul Sigel, Silke Dähmlow, Frank Seehausen and Lucas Elmenhorst: Architekturführer Potsdam - Architectural Guide, Dietrich Reimer Verlag, Berlin 2006, ISBN 3-496-01325-7.
- Wolfschmidt, Gudrun; Cotte, Michel (2010). "Case Study 12.5: The Einstein Tower, Potsdam, Germany". ใน Ruggles, Clive; Cotte, Michel (บ.ก.). Heritage Sites of Astronomy and Archaeoastronomy in the context of the UNESCO World Heritage Convention: A Thematic Study (PDF). Paris: ICOMOS and International Astronomical Union. pp. 209–212. ISBN 978-2-918086-01-7.
- Vaughan Hart, 'Erich Mendelsohn and the Fourth Dimension', ARQ, 2.1, 1995, pp. 50–59