ไอดอลมาสเตอร์ เซโนกลอสเซีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


ไอดอลมาสเตอร์ เซโนกลอสเซีย
アイドルマスター ゼノグラシア
ชื่อภาษาอังกฤษIdolmaster Xenoglossia
แนวไซไฟ, หุ่นยนต์
อนิเมะ
กำกับโดยทัตสึยูกิ นางาอิ
สตูดิโอซันไรส์

ไอดอลมาสเตอร์ เซโนกลอสเซีย (ญี่ปุ่น: アイドルマスター XENOGLOSSIAโรมาจิAidorumasutā: XENOGLOSSIA) เป็นอนิเมะแนวไซไฟ, หุ่นยนต์ เป็นส่วนหนึ่งของโปรเจ็กไอมาส (IM@S) ของ บันไดนัมโกะเกมส์ โดยมีพื้นฐานตัวละครเบื้องต้นมาจากเกม ไอดอลมาสเตอร์ บนเครื่องเอกซ์บอกซ์ 360 จัดสร้างเป็นแอนิเมชั่นโดยซันไรส์ ด้วยคำขวัญที่ว่า "อยากจะเป็นไอดอลของเธอ" (ญี่ปุ่น: あなたのアイドルになりたい…)

ไอดอลมาสเตอร์ เซโนกลอสเซีย นอกจากจะฉายในโทรทัศน์แล้ว ยังฉายผ่านทางเว็บไซต์ @nifty เก็บถาวร 2007-06-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ในประเทศญี่ปุ่น[1] และยังมีการให้ตัวละครหลักโต้ตอบกับแฟนๆ ผ่านทางบล็อกในเว็บไซต์ Presepe เก็บถาวร 2007-06-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน โดยจำเป็นต้องให้คนที่มีสิทธิ์อยู่แล้ว เป็นผู้เชิญเข้าไปเท่านั้น[2]

โครงเรื่อง[แก้]

เนื้อเรื่อง[แก้]

ใน 107 ปีหลังจากดวงจันทร์ของโลกถูกทำลาย ("ลอสท์อาร์ทีมิส") มนุษย์ต้องประสบกับการรับมืออุกกาบาตที่เหลือจากการพังทลายของดวงจันทร์ ("ดรอป") ด้วยวิธีการต่างๆ หนึ่งในวิธีการนั้นก็คือการใช้หุ่นที่มีชื่อว่า "ไอดอล" บินออกนอกชั้นบรรยากาศออกไปเพื่อทำลายดรอป นี่คือเรื่องราวของเหล่าเด็กผู้หญิงไพลอท ที่มีชื่อเรียกว่า "ไอดอลมาสเตอร์"

อามามิ ฮารุกะ เด็กผู้หญิงธรรมดาคนหนึ่ง วันหนึ่งได้ตัดสินใจไปออดิชั่นเพื่อที่จะก้าวสู่การเป็นไอดอล เธอที่ไม่รู้ถึงเบื้องหลังการออดิชั่นในครั้งนั้น ก็ได้รับเลือกให้เข้าไปทำงานในโตเกียว และสิ่งที่เธอค้นพบ ไม่ใช่การได้เป็นไอดอลอย่างที่เธอหวัง -- เธอมีทางหน้าที่ ที่จะเป็น "ไอดอลมาสเตอร์" เพื่อช่วยเหลือโลกจากดรอป

ตัวละคร[แก้]

มอนเดนคินด์[แก้]

ไอดอลทีม[แก้]

ไอดอลมาสเตอร์[แก้]
ผู้รับผิดชอบ[แก้]
แผนกควบคุมการบิน[แก้]
แผนกพยาบาล[แก้]
แผนกซ่อมบำรุง[แก้]

ชื่อของเจ้าหน้าที่ในแผนกซ่อมบำรุง นอกจากริทสึโกะและชิคะโกะ ทั้งหมดนำมาจากเทศกาล Nanakusa no Sekku ของญี่ปุ่น

มอนเดนคินด์ญี่ปุ่น[แก้]

มอนเดนคินด์สำนักงานใหญ่[แก้]

ทูเรียวิตา[แก้]

อื่นๆ[แก้]

ไอดอล[แก้]

ไอดอล (iDOL) คือหุ่นสำหรับการทำลายดรอป โดยเกิดหลังจากการแตกสลายของดวงจันทร์เมื่อ 107 ปีก่อน ในเหตุการณ์ลอสท์อาร์ทีมิส และไม่ใช่สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมา มนุษย์ได้ค้นพบก้อนซีลีโคนตกลงมาบนโลกและได้ทำการค้นคว้าวิจัย จนกลายเป็นคอร์ของไอดอล "โปรเมเทอุส" โดยซิลิกอนเหล่านั้น มีด้วยกันทั้งหมด 5 ก้อน

ในขณะที่ประเทศอื่นใช้จรวดมิสไซล์ในการทำลายดรอป แต่สำหรับประเทศญี่ปุ่นไม่สามารถทำได้ เนื่องจากกฎสามข้อว่าด้วยการไม่ใช้หัวรบนิวเคลียร์ จึงได้รับอนุญาตให้นำไอดอลมาเพื่อใช้ในการทำลาย โดยผู้ที่จะมีสิทธิ์ขับไอดอลได้นั้น ต้องเป็นผู้หญิงและถูกเลือกโดยไอดอลเท่านั้น และพวกเธอเหล่านั้นจะถูกเรียกว่าไอดอลมาสเตอร์

มอนเดนคินด์ญี่ปุ่น[แก้]

มอนเดนคินด์ญี่ปุ่น (Mondenkind Japan) คือหน่วยงานของมอนเดนคินด์หน่วยงานเดียวในโลกที่มีไอดอลใช้งาน ในปัจจุบันมีไอดอลในครอบครองทั้งหมด 2 ตัว (และสูญหาย 1) มีไพลอทรวม 3 คน หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบส่วนของไอดอล จะถูกแยกไปอยู่ในส่วนของไอดอลทีม (Mondenkind Japan IDOL Team) โดยมี โจเซฟ ชินเกทสึ เป็นผู้ดูแล

มอนเดนคินด์มาจากภาษาเยอรมันแปลว่า บุตรแห่งดวงจันทร์ และชื่อของไอดอลมีรากฐานมาจากมาเร (ทะเล) ของดวงจันทร์

โปรเมเทอุส 1 อิมเบล (PROMETHEUS1 IMBER)
  • มาสเตอร์: (1st) จิฮาระ คาซารากิ (2nd) ฮารุกะ อามามิ
  • สี: (1-7) ขาว/น้ำเงินเข้ม, (8~) ขาว/ชมพู
  • รากฐานของชื่อ: Mare Imbrium
เป็นไอดอลที่ถูกยกเลิกการใช้งาน เก็บไว้ในโรงเก็บหมายเลข 7 เป็นเวลากว่า 16 ปี แต่ได้ตอบสนองต่อเสียงเรียกของ อามามิ ฮารุกะ ในที่สุด อิมเบลเองนั้นจับตาดูและเก็บภาพของฮารุกะมาตลอดตั้งแต่การออดิชั่น และยังสามารถเริ่มต้นการทำงานของตัวเอง เคลื่อนไหวตัวเองได้ถึงแม้มาสเตอร์จะไม่ขึ้นขับ ในภายหลัง ไอดอลทีมได้ตัดสินใจเปลี่ยนสีส่วนเกราะของอิมเบล ให้กลายเป็นสีชมพูที่ฮารุกะชอบ
โปรเมเทอุส 2 เนบิวล่า (PROMETHEUS2 NEBULA)
  • มาสเตอร์: มาโกโตะ คิคุจิ (#1~13) , อิโอริ มินะเสะ (#14~)
  • สี: เหลือง/ส้ม
  • รากฐานของชื่อ: Palus Nebularum
เป็นไอดอลเดียวของมอนเดนคินด์ญี่ปุ่นที่ถูกใช้งาน ก่อนที่ ฮารุกะ อามามิ จะเป็นมาสเตอร์ของอิมเบล มีมาสเตอร์สำรองคือ อิโอริ มินะเสะ ในภายหลังคิคุจิ มาโกโตะถูกปลดออกจากการเป็นไอดอลมาสเตอร์ และย้ายเข้าไปอยู่ในฝั่งของทูเรียวิตา อิโอริ มินะเสะ รับหน้าที่ไอดอลมาสเตอร์ของเนบูลาแทน
โปรเมเทอุส 4 เทมเปสตัส (PROMETHEUS4 TEMPESTUS)
  • มาสเตอร์: มามิ ฟุตะมิ , อามิ ฟุตะมิ
  • สี: แดง
เป็นไอดอลที่หายสาบสูญไปพร้อมกับ มามิ ฟุตะมิ เมื่อ 7 ปีก่อนจะเริ่มเหตุการณ์ใน ไอดอลมาสเตอร์ เซโนกลอสเซีย

ทูเรียวิตา[แก้]

ทูเรียวิตา (Turiavita) เดิมเป็นหน่วยงานวิจัยของมอนเดนคินด์ แต่แยกตัวออกไปเนื่องจากความไม่ลงรอยกันของแนวคิดการใช้งานไอดอลเมื่อ 16 ปีก่อน ในเหตุการณ์ Dawn of the Purple Moon และได้นำไอดอลตัวหนึ่งไป

โพรเมเทอุส 3 นูเบรียม (PROMETHEUS3 NUBILUM)
  • มาสเตอร์: จิฮายะ คิซารากิ
  • สี: ดำ/แดง
  • รากฐานของชื่อ: Mare Nubium
โพรเมเทอุส 5 ฮิเอม (PROMETHEUS5 HIEMS)
  • มาสเตอร์: ?
  • สี: ?
  • รากฐานของชื่อ: Mare Hiemis
เป็นคอร์ของไอดอลตัวสุดท้ายที่หลับใหลอยู่ภายในภูเขาคริมส์ของไอซ์แลนด์ ได้ถูกกู้ไปโดยทูเรียวิตา
เอปิเมเทอุส 1 "เอบิจัง" (EPIMETHEUS1)
  • มาสเตอร์: ริฟฟา
  • สี: น้ำเงิน
"เอปิจัง" คือชื่อที่ถูกตั้งขึ้นโดยริฟฟา
เอปิเมเทอุสคือไอดอลที่ถูกมนุษย์สร้างขึ้น

คำศัพท์เฉพาะ[แก้]

ไอดอลมาสเตอร์ (Idolmaster)
คือชื่อที่ใช้เรียกเหล่าผู้ขับไอดอล และต้องเป็นเด็กผู้หญิงเท่านั้น เนื่องจากไอดอลจะถูกปล่อยออกจากประเทศญี่ปุ่นเพียงที่เดียว ดังนั้นในปัจจุบันไอดอลมาสเตอร์ทั้งหมดจึงเป็นคนญี่ปุ่นเท่านั้น ในการค้นหาผู้ที่จะมาเป็นไอดอลมาสเตอร์ มอนเดนคินด์ญี่ปุ่นค้นหาพวกเธอเหล่านั้นด้วยการจัดออดิชั่นบังหน้าอย่างลับๆ โดยไม่ให้เจ้าตัวผู้มาสมัครรู้ถึงความเป็นจริงของการออดิชั่น
ลอสท์อาร์ทีมิส (Lost Artemis)
คือชื่อเรียกของเหตุการณ์แตกสลายของดวงจันทร์เมื่อ 107 ปีก่อน จากเหตุการณ์นั้น ทำให้มีอุกกาบาตจำนวนมากตกลงสู่โลก มีคนตายกว่า 1 ใน 4 ส่วนของประชากรทั้งหมดในโลก
คอนเฟย์โต (Confeito)
ชื่อเรียกของเศษอุกกาบาตที่เหลือจากการแตกสลายของดวงจันทร์ ที่ยังคงจับกลุ่มรวมกันโคจรอยู่รอบๆ โลก
ดรอป (Drop)
คืออุกกาบาติที่เกิดจากการแตกสลายของดวงจันทร์ ที่ตกลงสู่โลก โดยจะดรอปขนาดใหญ่จะมีชื่อเรียกว่า มินท์ดรอป และ เลมอนดรอป ทางด้านของมอนเดนคินด์มีหน้าที่ในการจัดการดรอปที่มีขนาดจัดเป็นเลมอนดรอปขึ้นไป ในขณะที่ประเทศอื่นๆ ในโลกใช้มิสไซล์ในการทำลาย ประเทศญี่ปุ่นจะใช้การส่งไอดอลขึ้นไปทำลายดรอปเหล่านั้น

รายชื่อตอน[แก้]

เพลง[แก้]

เพลงเปิด
(ญี่ปุ่น: Binetsu S.O.S!!โรมาจิ微熱 S.O.S!!)
เพลงปิด
(ญี่ปุ่น: Yūkyū no Tabibito: ~Dear boyโรมาจิ悠久の旅人~Dear boy)

สื่ออื่นๆ[แก้]

วิทยุทางอินเทอร์เน็ต
ในชื่อรายการ ฮารุกะและยาโยยในแบบของฤดูใบไม้ผลิ (ญี่ปุ่น: 春香とやよいの弥生式らじおโรมาจิHaruka to Yayoi no Yayoishiki Rajio) โดยเริ่มออกอากาศตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม 2550 ทาง Lantis Web Radio, BEAT Net Radio! และ nifty
ไลท์โนเวล
ไอดอลมาสเตอร์ เซโนกลอสเซีย ได้ถูกเขียนเป็นไลท์โนเวลลงในนิตยสารรายเดือน มีด้วยกันทั้งหมดสองภาค
  • ไอดอลมาสเตอร์ เซโนกลอสเซีย ~ผูกมัด~ (ญี่ปุ่น: アイドルマスター XENOGLOSSIA ~絆~โรมาจิAidorumasutā: XENOGLOSSIA ~Kizuna~) ตีพิมพ์ลงในนิตยสาร Gekkan Dragon Magazine ตั้งแต่ฉบับเดือน 7
  • ไอดอลมาสเตอร์ เซโนกลอสเซีย อิโอริซันไชน์! (ญี่ปุ่น: アイドルマスター XENOGLOSSIA 伊織サンシャイン!โรมาจิAidorumasutā: XENOGLOSSIA Iori Sanshain) ตีพิมพ์ลงในนิตยสาร Gyarano! ของ Hobby Japan ตั้งแต่ฉบับเดือน 8
หนังสือการ์ตูน
ตีพิมพ์ลงในนิตยสาร Comp Ace เริ่มตั้งแต่ฉบับที่ 12 เมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2550 โดยเนื้อหาค่อนข้างจะแตกต่างกับฉบับอนิเมะ

อ้างอิง[แก้]

  1. เว็บไซต์ข่าวบน @nifty เก็บถาวร 2007-04-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ญี่ปุ่น). เรียกข้อมูลวันที่ 13 มิถุนายน 2550
  2. เว็บไซต์ข่าวของ Mainichi[ลิงก์เสีย] (ญี่ปุ่น). เรียกข้อมูลวันที่ 13 มิถุนายน 2550

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]