ข้ามไปเนื้อหา

ไปซา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปซาซึ่งมีจารึกภาษามองโกล อักษรพักสปา เขียนว่า "ด้วยอำนาจของสวรรค์อันมิสิ้นสุด นี่เป็นคำสั่งของจักรพรรดิ ผู้ใดที่ไม่แสดงความเคารพแก่ผู่ถือสิ่งนี้ จะมีความผิด

ไปซา (อักษรโรมัน: paiza), ไปซือ (อักษรโรมัน: paizi) หรือ เกเรเก (มองโกลยุคกลาง: Гэрэгэ, มองโกเลีย: Пайз, เปอร์เซีย: پایزه pāiza, จีน: 牌子 páizi) เป็นแผ่นป้ายที่เจ้าพนักงานชาวมองโกลและคณะถือเพื่อแสดงสิทธิพิเศษและอำนาจของตน รวมถึงสามารถใช้เรียกร้องสินค้าและบริการจากพลเมือง

กระนั้น มีการออกไปซามใช้อำนาจในทางที่ผิดต่อพลเมือง กระทั่งอือเกเดย์ ข่าน (ครองราชย์ 1229–1241) สั่งห้ามไม่ให้ขุนนางออกไปซาและยาร์ลิก

พ่อค้าและผู้มีความสามารถจากต่างแดนอาจได้รับมอบไปซาจากข่านเพื่อใช้สำหรับยกเว้นภาษี[1] ส่วนใหญ่เป็นคู่คัาของชาวมองโกล ซึ่งเรียกว่าโอร์ต็อก (ortoq)[2] กระทั่ง มืงเก ข่าน (ครองราชย์ 1251–1259) ออกคำสั่งจำกัดการใช้ไปซาในกรณีนี้

มีการบรรยายเกี่ยวกับไปซาไว้โดยละเอียดในบันทึกของมาร์โก โปโล ซึ่งเดินทางไปยังจักรวรรดิหยวน ใในรัชสมัยของกุบไล ข่าน (ครองราชย์ 1260–1294)[3]

ไปซาไม่ได้เป็นประดิษฐกรรมของชาวมองโกล แต่ชาวมองโกลเป็นผู้ทำให้ไปซาเป็นที่นิยมขึ้นมา มีเอกสารลักษณะคล้ายกันสำหรับพกพาใช้งานอยู่แล้วในตอนเหนือของจีน ในสมัยจักรวรรดิเลียว และมีใช้เรื่อยมาในจักรวรรดิจิน และตังกุตของซีเซีย[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Ata Malik Juvaini, trans. and ed. John Andrew Boyle, David Morgan-Genghis Khan: the history of the world conqueror, p.29
  2. Enerelt Enkhbold (2019) The role of the ortoq in the Mongol Empire in forming business partnerships, Central Asian Survey, DOI: 10.1080/02634937.2019.1652799
  3. Laurence Bergreen Marco Polo: from Venice to Xanadu, p.341
  4. John Man Xanadu: Marco Polo and Europe's Discovery of the East, p.36