ไทยฮอนด้า แมนูแฟคเจอริ่ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไทยฮอนด้า
Thai Honda Co., Ltd.
ประเภทบริษัทเอกชนขนาดใหญ่
อุตสาหกรรมอุตสาหกรรมยานยนต์ Edit this on Wikidata
ก่อตั้งพ.ศ. 2508
สำนักงานใหญ่
พื้นที่ให้บริการ
ประเทศไทย
บุคลากรหลัก
ดร.อารักษ์ พรประภา
ประธานบริษัท
มร.ชิเกโตะ คิมูระ
ประธานกรรมการบริหาร
ผลิตภัณฑ์รถจักรยานยนต์
เว็บไซต์www.thaihonda.co.th

บริษัท ไทยฮอนด้า จำกัด (อังกฤษ: Thai Honda Co., Ltd.) เป็นบริษัทที่อยู่ในเครือฮอนด้าในประเทศไทย โดยประกอบธุรกิจเกี่ยวกับรถจักรยานยนต์ และเครื่องยนต์เอนกประสงค์ มีสำนักงานใหญ่และโรงงานผลิตอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง และสำนักงานฝ่ายขายและการตลาดอยู่ที่ถนนทางรถไฟสายเก่าปากน้ำ จังหวัดสมุทรปราการ โดยบริษัทฯทำหน้าที่เป็นทั้งผู้ผลิต และผู้จัดจำหน่าย

ประวัติ[แก้]

ธุรกิจรถจักรยานยนต์ฮอนด้าในประเทศไทย เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2507 โดยการนำเข้าของ บริษัท เอเชี่ยน ฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด ซึ่งเป็นตัวแทนของสำนักงานใหญ่จาก บริษัท ฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด ประเทศญี่ปุ่น ต่อมาฮอนด้าได้ตัดสินใจก่อสร้างโรงงานประกอบรถจักรยานยนต์ฮอนด้าขึ้นในประเทศไทย ควบคู่ไปกับการก่อตั้ง บริษัท ไทยฮอนด้า แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ในปี พ.ศ. 2508

ในช่วงแรกของการประกอบกิจการรถจักรยานยนต์ในประเทศไทย ฮอนด้าต้องประสบปัญหาไม่น้อยในการจัดจำหน่าย เนื่องจากการแข่งขันกันเองระหว่างผู้จัดจำหน่าย 3 ราย ซึ่งต่างก็มีหุ้นส่วนในบริษัท ไทยฮอนด้า แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ซึ่งได้สิทธิในการจำหน่ายรถที่ผลิตจากโรงงานแห่งนี้เหมือนกัน จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2529 ได้มีนโยบายจากฮอนด้า มอเตอร์ ประเทศญี่ปุ่น ให้ยุบรวมฝ่ายขายรวมกับ บริษัท พี.ไทยแลนด์ แมชินเนอรี่ จำกัด ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้จัดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ฮอนด้ารายใหญ่ในขณะนั้น เพื่อจัดช่องทางการจำหน่ายใหม่ จึงก่อให้เกิด บริษัท เอ.พี.ฮอนด้า จำกัด ขึ้นมา เพื่อเป็นผู้จัดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ฮอนด้าแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย ตลอดระยะเวลา 35 ปี

ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2555 เอ.พี.ฮอนด้า ได้เริ่มต้นธุรกิจบิ๊กไบค์ในประเทศไทย โดยการเปิดศูนย์ ฮอนด้าบิ๊กวิง (Honda BigWing)[1] เพื่อจัดจำหน่ายรถฮอนด้าบิ๊กไบค์ที่นำเข้ามาจากญี่ปุ่น ก่อนที่ฮอนด้าจะขึ้นไลน์ผลิตรถบิ๊กไบค์ขนาดกลางในเมืองไทย ในเวลาต่อมา[2] และได้นำมาจำหน่ายที่ศูนย์นี้ด้วยเช่นกัน

ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2561 เอ.พี.ฮอนด้า ได้เปิดตัว คับเฮ้าส์ (Cub House)[3] เพื่อจัดจำหน่ายรถกลุ่มพิเศษที่ฮอนด้าเรียกว่า รถมูลค่าเพิ่ม แยกออกจากการจำหน่ายรถทั่วไป และรถบิ๊กไบค์ เนื่องจากมีกลุ่มฐานลูกค้าที่แตกต่างกัน

ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2564 เอ.พี.ฮอนด้า ได้ควบรวมกิจการกับ บริษัท ไทยฮอนด้า แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด เกิดเป็นบริษัท ไทยฮอนด้่า จำกัด กลายเป็นบริษัทผู้ผลิต และผู้จัดจำหน่ายจักรยานยนต์ฮอนด้า ในประเทศไทย[4]

รูปแบบการดำเนินธุรกิจ[แก้]

ไทยฮอนด้า ผลิตและจัดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ และเครื่องยนต์เอนกประสงค์ฮอนด้าในประเทศไทย และได้มีการนำเข้ารถจักรยานยนต์ฮอนด้าบางรุ่น จากประเทศญี่ปุ่น โดยในส่วนของรถจักรยานยนต์ทั่วไป จะถูกจัดจำหน่ายผ่านศูนย์ฮอนด้าวิงเซ็นเตอร์ (Honda Wing Center) ในขณะที่รถกลุ่มพิเศษจำหน่ายผ่านร้านคับเฮ้าส์ (CUB House) ในขณะที่รถบิ๊กไบค์ จะถูกจัดจำหน่ายผ่านศูนย์ฮอนด้าบิ๊กวิง (Honda BigWing) ซึ่งปัจจุบันมีสาขาอยู่ทั่วประเทศ

ประเภทของรถจักรยานยนต์ฮอนด้า ที่ผลิตในประเทศไทยในปัจจุบัน[แก้]

ประเทศไทยถือเป็นฐานผลิตรถจักรยานยนต์ฮอนด้ารายใหญ่ของโลก เพื่อจำหน่ายทั้งในประเทศ และส่งออกไปจำหน่ายในต่างประเทศ

  • Underbone : Wave, Dream, Super Cub
  • Minibike : MSX, Monkey
  • Scooter : Scoopy, Giorno+, PCX, ADV, Click, Forza
  • Sport bike : CBR, CB
  • Cruiser : Rebel

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่นๆ[แก้]