ข้ามไปเนื้อหา

ไซท์เกเบอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ไซท์เกเบอร์ (เยอรมัน: Zeitgeber แปลว่า "ผู้ให้เวลา" หรือ "ผู้กำหนดจังหวะ") เป็นสัญญาณภายนอกที่ส่งนัยกำหนดจังหวะแก่นาฬิกาภายในสิ่งมีชีวิต ให้เดินสอดคล้องกับวงรอบกลางวัน/กลางคืน ใน 24 ชั่วโมงของโลก ไซท์เกเบอร์ที่แรงที่สุดสำหรับทั้งพืชและสัตว์คือ แสง ไซท์เกเบอร์ชนิดที่ไม่ใช่แสงมีทั้ง อุณหภูมิ ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม แบบแผนการกิน-ดื่ม เป็นต้น[1]

คำเยอรมัน "ไซท์เกเบอร์" ถูกนำมาใช้ในภาษาอังกฤษ เมื่อเยือร์เกน อัสชอฟฟ์ หนึ่งในผู้ก่อตั้งสาขากลไกเวลาทางชีวภาพ ใช้มันในทศวรรษ 1960 ปัจจุบันมันถูกใช้โดยทั่วไปในวรรณกรรมวิทยาศาสตร์ของสาขานี้

อ้างอิง

[แก้]
  1. Toh, Kong Leong (August 2008). "Basic Science Review on Circadian Rhythm Biology and Circadian Sleep Disorders" (PDF). Annals Academy Med Singapore. 37 (8): 662–8. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (Review, Full Text, PDF)เมื่อ 2009-10-07. สืบค้นเมื่อ 2009-08-15.

วรรณกรรม

[แก้]
  • Aschoff J (1965) The phase-angle difference in circadian periodicity.In "Circadian Clocks" (J. Aschoff, ed.). North Holland Press, Amsterdam, p. 262–278.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]