ข้ามไปเนื้อหา

ไคเซ็ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ไคเซ็น (ญี่ปุ่น: 改善โรมาจิKaizen) เป็นภาษาญี่ปุ่น แปลว่า การเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ดีขึ้น หรือปรับปรุงให้ดีขึ้น หรือการปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง หรือการปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ไคเซ็นโดยความหมายทั่วๆไปแล้วจะหมายความว่า สภาพสิ่งที่ไม่ดีปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นใหม่ ซึ่งเป็นคำศัพท์ที่ใช้ในวงการอุตสาหกรรมการผลิตไคเซ็นที่ใช้ในโรงงานผู้ปฏิบัติงานจะเป็นแกนกลางในการปฏิบัติในกิจกรรมนี้ (Bottom up)

คำจำกัดความ

[แก้]

เนื้อหาของกิจกรรมไคเซ็นคือ การปรับปรุงแก้ไขอุปกรณ์เครื่องจักร และการสร้างเครื่องมือใหม่ๆPokayokeขึ้นมาเป็นต้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้ก้าวหน้าและ รักษาความปลอดภัยในการทำงาน, ป้องกันการเกิดคุณภาพที่ไม่ดีขึ้น ในสิ่งเหล่านี้ที่เกี่ยวข้องกับการผลิต ไคเซ็น(การปรับปรุงให้ดีขึ้น) เป็นการปฏิบัติงานโดยใช้สติปัญญาของคนงานในการทำกิจกรรมเองซึ่งไม่ได้เป็นคำสั่งจากเบื้องบน จึงเป็นลักษณะเฉพาะพิเศษของกิจกรรมนี้ ทางฝ่ายโรงงานหรือกิจการ ส่วนใหญ่ก็ได้คอยช่วยเหลือรองรับทางกิจกรรมที่เป็นรูปแบบของQC circleเป็นต้นเสียส่วนใหญ่ หรือ ไคเซ็นคือไม่ใช่เป็นการกิจกรรมที่เสร็จสิ้นแค่ครั้งเดียวแต่จะทำอย่างต่อเนื่องและไม่มีที่สิ้นสุด

กิจกรรมไคเซ็น กับกิจกรรม QC circle นั้นในวงการอุตสาหกรรมการผลิตของญี่ปุ่นแล้วส่วนใหญ่จะใช้ร่วมกันหรือทำร่วมกัน

ไคเซ็นได้ถูกนับรวมในคำจำกัดความพื้นฐานของระบบการผลิตแบบโตโยต้า เข้าไปด้วย ตัวอย่างเช่น การใช้สติปัญญาของพนักงานในการปรับปรุงงานด้านทอผ้าของอุปกรณ์การผลิตโดยใช้ของจากบริษัทอื่นแทนบ้าง และของที่ไม่เพียงพอหรือขาดจะไม่ซื้อแต่พวกตนเองจะทำการสร้างและปรับปรุงขึ้นมา และการสร้างแก้ไขนั้นจะอยู่ในระบบไม่เกินงบประมาณที่วางไว้ เป็นต้น ในการผลิตแบบระบบโตโยต้านั้นจะมีเกร็ดสาระที่ลึกๆในหลายอย่าง

วงการอุตสาหกรรมและโรงงานของญี่ปุ่นได้ขยายและพัฒนาไปในต่างประเทศ ในขณะเดียวกันก็ได้ส่งผู้ชำนาญงานไปฝึกอบรมพนักงานในท้องถิ่น และในปีค.ศ. 1980MITเป็นแกนนำในการทำวิจัยความแข็งแกร่งของวงการอุตสาหกรรมญี่ปุ่น เป็นต้น สิ่งนี้เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดของวงการการผลิตของญี่ปุ่นจึงทำให้ขยายไปยังต่างประเทศ