ไคร้หางนาค

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไคร้หางนาค
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Malpighiales
วงศ์: Phyllanthaceae
สกุล: Phyllanthus
สปีชีส์: P.  taxodiifolius
ชื่อทวินาม
Phyllanthus taxodiifolius
Beille

ไคร้หางนาค ตะไคร้หางสิงห์ เสียวใหญ่ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Phyllanthus taxodiifolius) เป็นพืชสกุลมะขามป้อม ลักษณะเป็นไม้พุ่มรอเลื้อย สูง 2 เมตร เปลือกลำต้นสีน้ำตาล ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับในระนาบเดียวกัน ใบย่อยขนาดเล็กรูปขอบขนาน ขนาด 1 × 5 มิลลิเมตร ปลายใบมนและมีติ่ง โคนใบมน เส้นแขนงใบย่อยข้างละ 3–4 เส้น ดอกเป็นดอกแยกเพศอยู่ร่วมต้น ดอกย่อยสีขาวนวล ดอกเพศผู้มีกลีบรวมรูปไข่หรือรูปไข่กลับ 4 กลีบ ยาว 0.5 มิลลิเมตร ฐานรองดอก เป็นตุ่ม เกสรตัวผู้ 2 อัน ก้านชูอับเรณูเชื่อมติดกันที่โคน ดอกเพศเมียมีกลีบรวมรูปรีหรือรูปไข่ 6 กลีบ ยาว 1.5 มิลลิเมตร ฐานรองดอกเป็นกาบรูปถ้วย ก้านเกสรเพศเมียปลายแยกเป็น 3 อัน ออกดอกราวเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน ผลแห้งแตกออกเดี่ยวหรือเป็นกระจุก ทรงกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 4 มิลลิเมตร ภายในมีเมล็ดขนาดเล็ก 8–10 เมล็ด ขนาด 1 × 2.5 มิลลิเมตร ติดผลราวเดือนกันยายนถึงธันวาคม[1]

ไคร้หางนาคมีถิ่นกำเนิดในจีนถึงอินโดจีน[2] มีสรรพคุณเป็นยาขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ แก้ไตพิการ[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. "เสียวใหญ่ - ฐานข้อมูลสมุนไพร". คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. สืบค้นเมื่อ July 22, 2021.
  2. "Phyllanthus taxodiifolius Beille - Plants of the World Online". Kew Science. สืบค้นเมื่อ July 22, 2021.
  3. ความหลากหลายทางชีวภาพพืชสมุนไพรในประเทศไทย เล่ม 1, พงษ์ศักดิ์ พลเสนา และคณะ, หน้า 64, พ.ศ. 2559, สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรุงเทพฯ