ข้ามไปเนื้อหา

โอเทลโล (วรรณกรรม)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โอเทลโล  
ผู้ประพันธ์วิลเลียม เชกสเปียร์
ชื่อเรื่องต้นฉบับOthello
ผู้วาดภาพประกอบThéodore Chassériau
ประเทศอังกฤษ
ภาษาภาษาอังกฤษ
ประเภทRenaissance
สำนักพิมพ์Reclam
วันที่พิมพ์ค.ศ. 1622
ISBN3-15-009830-0

โอเทลโล (อังกฤษ: Othello) เป็นนาฏกรรมอังกฤษที่มีชื่อเสียง ซึ่งประพันธ์โดยนักเขียนอังกฤษ นามว่า วิลเลียม เชกสเปียร์นำแสดงครั้งแรกวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1604 เนื้อเรื่องเกี่ยวกับแม่ทัพโอเทลโล ซึ่งถูกลูกน้องเป่าหู จึงทำให้อิจฉามาก จนกระทั่งฆ่าภรรยาตัวเองตาย [1]

เนื้อเรื่อง

[แก้]

โอเทลโล (Othello) เป็นแม่ทัพของแคว้นเวนิส ซึ่งเป็นชาวมัวร์ ซึ่งทำให้ดูแตกต่างกับประชากรมาก จึงทำให้คนรอบข้างมองเห็นว่าเขาเป็นคนน่าเกลียด อย่างไรก็ตามก็ได้หลงรัก เดสเดโมนา (Desdemona) ซึ่งเป็นลูกของแบรบานซิโอ้ (Brabantio) ซึ่งเป็นสมาชิกสภา เนื่องจากกลัวว่าแบรบานซิโอ้จะกีดกัน โอเทลโลจึงแอบพบเดสเดโมนาและรักกัน

ขณะเดียวกันอิอาโก(Iago)นายธง ซึ่งสามีของสาวรับใช้ของโอเทลโล หวังที่จะให้โอเทลโลขึ้นยศ แต่โอเทลโลกลับขึ้นยศให้กับคาสิโอ(Cassio) ซึ่งเป็นคนที่โอเทลโลไว้ใจ จึงทำให้อิอาโกเคืองมากจนกระทั่งสาบานที่จะล้างแค้น โรดริโก้ (Rodrigo) ชายคนหนึ่งหลงรักเดสเดโมนาเช่นกัน จึงถูกอิอาโกหลอกใช้และถูกฆ่าในภายหลัง

ไม่นานต่อมาอิอาโกบอกเรื่องราวของโอเทลโลให้แบรบานซิโอ้ฟัง ซึ่งทำให้เขาโกรธมาก เนื่องจากเขาไม่เชื่อว่าลูกสาวเขาจะรักโอเทลโลด้วยความสมัครใจ คิดว่าจะต้องเป็นไสยศาสตร์ จึงฟ้องที่ศาลหาว่าโอเทลโลใช้ไสยศาสตร์ทำเสน่ห์ลูกสาวเขา เนื่องจากโอเทลโลเป็นนายทหารใหญ่ ดยุคแห่งเวนิสจึงเป็นผู้พิพากษา ซึ่งเดสเดโมนาก็ยืนยันความรักของเธอต่อโอเทลโลอีกครั้ง จึงทำให้แบรบานซิโอ้ต้องกัดฟันรับโอเทลโลเป็นลูกเขย

ต่อมาโอเทลโลถูกส่งไปไซปรัส เพื่อตั้งรับการรุกของจักรวรรดิออตโตมัน ซึ่งเดสเดโมนา โรดริโก้ อิอาโกและภรรยา คาสิโอ ติดตามมาด้วย เมื่อถึงไซปรัสแล้ว โรดริโก้ได้ทำให้คาสิโอทะเลาะกับโอเทลโล หลังจากทะเลาะแล้วอิอาโกแนะนำให้คาสิโอไปปรึกษากับเดสเดโมนา เพื่อที่จะให้เดสเดโมนาช่วยพูดให้ จะไม่ได้กินใจกัน คาสิโอทำตามคำแนะนำ โดยไม่รู้ว่าตัวเองถูกหลอกใช้

ต่อมาโอเทลโลเห็นแดสเดโมด้าคุยกับคาสิโอ้คุยกันลำพัง และเนื่องจากโดนอิอาโกเป่าหูว่าทั้งสองมีความสัมพันธ์ลับอันลึกซึ้ง จึงทำให้โอเทลโลอิจฉามาก เพื่อที่จะทำให้โอเทลโลเชื่อคำพูดของอิอาโก อิอาโกแอบเอาผ้าเช็ดหน้าที่เดสเดโมนาเคยทำตกไว้โดยบังเอิญ แอบใส่ให้คาสิโอ้โดยเจ้าตัวไม่รู้ตัว ซึ่งผ้าเช็ดหน้านี้โอเทลโลพบเจอในมือของคาสิโอ้ จึงทำให้โอเทลโลเชื่อว่าพบหลักฐานที่ภรรยาไม่ซื่อแล้ว

แม้ว่าเดสเดโมนาจะปฏิเสธและบอกว่าถูกปรักปรัม แต่โอเทลโลอิจฉามาก จึงไม่เชื่อเธอและฆ่าเธอบนเตียงนอน ถึงแม้ว่าภรรยาของอิอาโกจะเปิดโปรงแผนชั่วร้ายได้และถูกสามีฆ่าตาย แต่ทุกอย่างก็สายไปแล้ว

อิอาโกถูกจับคุม ส่วนโอเทลโลฆ่าตัวตายเพื่อชดใช้ความผิดที่กระทำลงไป ส่วนชะตากรรมของอิอาโกนั้น ตกอยู่ในมือของคาสิโอ้ ผู้ว่าคนใหม่หลังจากการตายของโอเทลโล[2]

ตัวละครหลัก

[แก้]
  • Othello เป็นพระเอกเป็นชาวมัวร์ (ชนมุสลิมที่อาศัยอยู่ที่คาบสมุทรไอบีเรียที่มีผิวคล้ำกว่าชาวยุโรป) สามีของ Desdemona และเป็นนายพล
  • Desdemona เป็นนางเอกซึ่งแต่งงานกับโอเทลโลและเป็นลูกสาวของ Brabantio
  • Iago เป็นนายธงของ Othello และเป็นสามีของ Emilia
  • Emilia เป็นสาวรับใช้ของOthello และเป็นภรรยาของ Iago
  • Cassio เป็นนายร้อยของ Othello
  • Bianca เป็นแฟนของ Cassio
  • Brabantio เป็นพ่อของ Desdemona และพี่น้องกับ Gratiano
  • Roderigo เป็นคนเกเรและหลงรัก Desdemona
  • Duke of Venice เป็นดยุคแห่งเวนิส
  • Gratiano เป็นพี่น้องกับ Brabantion
  • Lodovico เป็นญาติพี่น้องกับ Brabantio และเป็นลูกพี่ลูกน้องกับ Desdemona
  • Montano เป็นบรรพบุรุษของ Othello ที่เคยรับราชการที่ Cyprus

ความหมายและบทบาทของตัวละคร

[แก้]

โอเทลโล เป็นคนที่มีจิตใจดี แต่เป็นคนที่ผิวดำ ซึ่งมีความแตกต่างกับชาวเวนิสมาก จึงทำให้ถูกมองว่าเป็นตัวประหลาด การวิจัยเชกสเปียรมีข้อสงสัยว่าโอเทลโลนั้นเป็นชาวมูร อย่างคำที่ใช้หรือไม่ เนื่องจากว่าเชกสเปียรไม่กล่าวถึงศาสนามุสลิมในละครเลย แต่กลับให้ความรู้สึกว่าโอเทลโลจะเป็นชาวคริส

เดสเดโมด้า เป็นนางเอก ซึ่งมีความคล้ายกับตัวละครในนวนิยายแฮคทาโทมิริ (Hecatommithi) ซึ่งเขียนโดยจิรันโด ชินทิโอ (Girandio Cinthio) ณ ปีค.ศ. 1565 จึงสันนิษฐานว่าเชกสเปียร์ได้บทแปลมาเป็นตัวอย่าง เนื่องจากตัวละครคล้ายกันมาก อย่างเช่น ในนวนิยายนั้นมีตัวละคร นายธง กัปตันและมีชาวมูร ซึ่งนายธงหลงรักเดสเดโมด้า แต่ไม่ได้รับตอบสนอง จึงแค้นมาก ในนวนิยายของชินทิโอ ต่างกับเชกสเปีย ชาวมูรไม่เสียใจที่ฆ่าภรรยาตัวเอง ชาวมูรกับนายธงต่างพากันหนีและโดนคนอื่นฆ่าทีหลัง ซึ่งนักประพันธ์ต้องการให้เห็นว่าการแต่งงานระหว่างผู้หญิงยุโรปกับต่างชาตินั้น มีข้อสงสัยอีกว่าเดสโดโมด้ามาจากภาษาอิตาลี่ซึ่งเป็นคำว่า disdemona แปลว่าคนโชคร้าย

อีอาโก ซึ่งชื่อคล้ายกับฆาตกรชาวมูร สันทิอาโก (Santiago) มีบทสนทนาที่มากที่สุดในละครนี้ ความแค้นที่มีต่อโอเทลโลถูกอธิบายอย่างละเอียด เช่นการไม่ได้ขึ้นยศ หรือข้อสงสัยว่าภรรยาเป็นชู้กับโอเทลโล ตัวละครนี้เป็นสัญลักษณ์แห่งความชั่ว

ละครชิ้นนี้เป็นละครได้รับความนิยมมากในศตวรรตที่ 17 และ 18 เริ่มต้นศตวรรตที่ 19 ถูกแปลเป็นภาษาฝรั่งเศส ซึ่งดัดแปลงให้ตอนจบเป็นแฮปปี้เอนด์ แต่ไม่ได้รับความนิยมจากฝรั่งเศส ภายหลังในสมัยโรแมนติกกลับได้รับความนิยมอีกครั้ง

วาทะคำคม

[แก้]

Iago: "This is the night / That either makes me, or undoes me quite"
(คืนนี้นี่แหละ คือคืนที่จะสร้างหรือทำลายฉันเลยทีเดียว)

Iago: I am not what I am
(ฉันไม่ได้เป็นอย่างที่ฉันเป็น)

Othello: “He that is robb'd, not wanting what is stol'n, Let him not know't, and he's not robb'd at all.”
(ถ้าเขาถูกปล้นและไม่รู้ว่ากำลังถูกปล้น จงอย่าให้เขาได้รู้และเขาก็จะเหมือนไม่ได้ถูกปล้นเลย)

Othello: Trifles light as air are to the jealous confirmations strong

as proofs of holy writ

(สิ่งที่มีความสำคัญเพียงเล็กน้อยหรือบางเบาดังเช่นอากาศนั้น สำหรับผู้ที่มีความอิจฉาริษยาแล้ว เป็นเครื่องยืนยันที่หนักแน่นดังบทพิสูจน์การมีอยู่ของพระคัมภีร์)

โอเปร่า

[แก้]
  • Otello, ossia Il moro di Venezia นำแสดงครั้งแรกวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 1816 โดย Gioacchino Rossini
  • Otello นำแสดงครั้งแรกวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1887 โดยจูเซปเป แวร์ดี

บัลเลต์

[แก้]
  • 1985 โดย John Neumeier: Othello
  • 1998 Elliot Goldenthal: Othello นำแสดงที่นิวยอร์กและปารีส
  • 2004 Tarek Assam: Jagos Frau นำแสดงที่กีเซ้น ครั้งแรกวันที่ 18 ธันวาคม

อ้างอิง

[แก้]
  1. Gustave Flaubert, Sir Frank Thomas Marzials, ISBN 978-2-07-041311-9
  2. Shakespearean Tragedy Lectures on Hamlet, Othello, King Lear & Macbeth , ISBN 978-1487028518

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]