โสรัน สิงห์
โสรัน สิงห์ | |
---|---|
ผู้ช่วยพิเศษกรมกิจการชนกลุ่มน้อยประจำแคว้นแคบาร์ปัคตูนควา[2] | |
ดำรงตำแหน่ง 3 กันยายน 2013[1] – 22 เมษายน 2016 | |
สมาชิกสภานิติบัญญัติแคว้นแคบาร์ปัคตูนควา | |
ดำรงตำแหน่ง พฤษภาคม 2013 – 22 เมษายน 2016 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เสียชีวิต | 22 เมษายน 2016 ปีรบาบา อำเภอบูเนร์ ประเทศปากีสถาน |
เชื้อชาติ | ปากีสถาน |
ที่อยู่อาศัย | ปีรบาบา อำเภอบูเนร์ ประเทศปากีสถาน |
วิชาชีพ | แพทย์ พิธีกรโทรทัศน์ นักการเมือง |
โสรัน สิงห์ (อักษรโรมัน: Soran Singh, เสียชีวิต 22 เมษายน 2016) เป็นแพทย์, พิธีกรโทรทัศน์ และนักการเมือง ชาวปากีสถานที่นับถือศาสนาซิกข์[3] อธิการบดีกระทรวงกิจการชนกลุ่มน้อยแคว้นแคบาร์ปัคตูนควา[4][5] ก่อนจะเข้าร่วมปากีสตานเตหรีเกอินซัฟในปี 2011 เขาเคยเป็นสมาชิกของจมาเตอิสลามีปากีสตานเป็นเวลาเก้าปี สิงห์ยังเป็นสมาชิกของคณะกรรมการคุรุทวาราประพันธักสิกข์ปากีสถาน และ คณะกรรมการทรัพย์สินทรัสต์ผู้ลี้ภัย เขาเคยเป็นพิธีกรรายการ Za Hum Pakistani Yam เป็นเวลาสามปีครึ่งให้กับไคเบอร์นิวส์[6]
การลอบสังหาร
[แก้]โสรัน สิงห์ ถูกยิงเสียชีวิตในการโจมตีที่มุ่งเป้าไปที่เขา ใกล้กับบ้านของเขาในวันที่ 22 เมษายน 2016[7][8][9][10] ต่อมาตำรวจแคว้นแคบาร์ปัคตูนควาได้จับกุม พลเทพ กุมาร (Baldev Kumar) ผู้วางแผนการฆาตกรรมสิงห์ด้วยเหตุจูงใจจากสถานะคู่แข่งทางการเมือง และจ้างวานฆาตกรมาก่อการฆาตกรรมสิงห์ กุมารต้องการที่จะชนะการเลือกตั้งในพรรคเดียวกันกับสิงห์ในที่นั่งพิเศษที่สำรองไว้สำหรับชนกลุ่มน้อย เขาไม่ถูกใจกับสิงห์กลหลังสิงห์ได้รับที่นั่งนั้นไป[11][12] กุมารถูกศาลต่อต้านการก่อการร้ายตัดสินว่าบริสุทธิ์ในปี 2018 เนื่องจาก "ขาดหลักฐานที่แน่ชัด"[13] บุตรชายของสิงห์ อาชัย สิงห์ (Ajay Singh) ต่อมาได้ออกมาแสดงไม่พึงพอใจกับคำตัดสินอย่างมาก[13] ในขณะที่กุมารระบุว่าเขาถูกกล่าวหาเช่นนั้นเป็นเพราะจากศาสนาที่เขานับถือ[14]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Mr. Soran Singh". KP Assembly. 1 December 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-25. สืบค้นเมื่อ 3 December 2015.
- ↑ "Covering issues: Politicos, bureaucrats part of Ehtesab's 100 hit list". The Express Tribune. 31 July 2015.
- ↑ Arshad, Sameer (October 21, 2012). "For this Singh, Khan is king". The Times of India. สืบค้นเมื่อ May 26, 2020.
- ↑ Ammara, Ahmad (September 30, 2014). "The Killing of the Sikhs". The Diplomat. สืบค้นเมื่อ May 26, 2020.
- ↑ "KPK govt great move this time to attract world community". 2 January 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-16. สืบค้นเมื่อ 2022-03-27.
- ↑ "Minority representation: Sikh assembly aspirant lays bare his plans". The Express Tribune. 20 May 2013.
- ↑ AFP (22 April 2016). "TTP claims assassination of PTI minority MPA in Buner". dawn.com. สืบค้นเมื่อ 23 April 2016.
- ↑ Serjeant, Jill (23 April 2016). "Prominent figure in Pakistan's Sikh minority killed by Taliban gunmen". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 April 2016. สืบค้นเมื่อ 23 April 2016.
- ↑ "Funeral prayers of PTI leader Soran Singh offered". Geo.tv. 23 April 2016. สืบค้นเมื่อ 23 April 2016.
- ↑ "PTI MPA Sardar Soran Singh Shot Dead in Buner". Daily Pakistan Global. 23 April 2016. สืบค้นเมื่อ 23 April 2016.
- ↑ "K-P police arrests PTI minority leader over Soran Singh's killing". The Express Tribune. 25 April 2016.
- ↑ Shah, Waseem Ahmad (2 May 2016). "Soran Singh's murder uncovers flaws in election laws". dawn.com.
- ↑ 13.0 13.1 Shahid, Shamim (26 April 2018). "Baldev Kumar, five others acquitted in Sardar Soran Singh's murder case". Pakistan Today. สืบค้นเมื่อ 11 September 2019.
- ↑ "Ex-MLA of Imran Khan's PTI Wants Political Asylum in India, Says 'Hindus, Sikhs Being Killed' in Pakistan". News18.