โลตัส อีลิส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โลตัส อีลิส
โลตัส อีลิส โฉมที่ 2
ภาพรวม
บริษัทผู้ผลิตโลตัส
เริ่มผลิตเมื่อค.ศ. 1996 - 2021 (35,124 คัน; ทั่วโลก)
แหล่งผลิตเฮเทล, นอร์ฟอล์ก, สหราชอาณาจักร
ชาห์อาลัม, ประเทศมาเลเซีย (Lotus Cars Malaysia: โฉมแรก, ค.ศ. 1997 - 2000)[1][2][3]
ตัวถังและช่วงล่าง
ประเภทรถยนต์นั่งสมรรถนะสูง (Sports car)
รูปแบบตัวถัง2 ประตู 2ที่นั่ง ทาร์กา ท็อป โรดสเตอร์
โครงสร้างเครื่องยนต์กลางลำหลัง ขับเคลื่อนสองล้อท้าย (RMR)
จำนวนประตู2 แบบบานเปิดธรรมดา
ระยะเหตุการณ์
รุ่นก่อนหน้าโลตัส อีลาน[4]
รุ่นต่อไปโลตัส เอมิรา

โลตัส อีลิส (อังกฤษ: Lotus Elise) เป็นรถยนต์นั่งสมรรถนะสูง เครื่องยนต์กลางลำหลัง ขับเคลื่อนสองล้อท้าย (RMR) 2 ประตู 2 ที่นั่ง ผลิตโดยบริษัท โลตัสจากอังกฤษ เริ่มออกแบบและพัฒนาในปี ค.ศ. 1994 และเปิดตัวครั้งแรกในฐานะรถโรดสเตอร์หลังคาผ้าใบในเดือนกันยายน ค.ศ. 1996 ส่วนรุ่นคูเปใช้ชื่อใหม่ว่า เอ็กซิจ เปิดตัวในปี ค.ศ. 2000

อีลิส ประกอบด้วยโครงไฟเบอร์กราส (fibreglass) ผสมกับอะลูมิเนียม ซึ่งช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับระบบกันสั่นสะเทือน (Suspension) อีกทั้งยังช่วยลดน้ำหนักและลดต้นทุนของรถอีกด้วย อีลิสสามารถทำความเร็วสูงสุดได้ที่ 240 กม./ชม. (150 ไมล์/ชม.)[5] อีลิส จึงเปรียบเสมือนตัวแทนของรถยนต์นั่งสมรรถนะสูงน้ำหนักเบา ซึ่งเป็นสัญลักษณ์เด่นของรถโลตัสจนถึงทุกวันนี้

อีลิส มาจากคำว่า "อีลิซ่า" (Elisa) ซึ่งเป็นชื่อของหลานสาวประธานบริษัทโลตัสขณะนั้น คือนายโรมานา อาร์ติโอลิ (Romano Artioli) ซึ่งก็ได้ตั้งชื่อก่อนการล้มละลายและขายให้กับบริษัทเครือโปรตอนของมาเลเซียในเวลาต่อมา[6]

โฉมที่ 1[แก้]

โลตัสอีลิส โฉมที่ 1

โลตัสอีลิส โฉมปี ค.ศ. 1996 ใช้เครื่องยนต์ 1.8 ลิตรของ Rover K-series I4 รถมีน้ำหนักรวมเพียง 725 กิโลกรัม (1,598 lb) เพราะเหตุนี้เองจึงช่วยให้ทำอัตราเร่ง 0-100 กม./ชม. ได้ที่ 5.8 วินาที ทั้งๆที่เป็นที่มีกำลังไม่สูงมากเพียง 118 แรงม้า (88 kW; 120 PS) อีลิสใช้ระบบส่งกำลังเป็นเกียร์ธรรมดา 5 จังหวะ

อีลิสโฉมแรกได้รับการออกแบบโดนนายจูเลียน ทอมสัน (Julian Thomson) หัวหน้าฝ่ายการออกแบบของโลตัส และมีวิศวกรใหญ่คือนายริชาร์ด แร็คแฮม (Richard Rackham)[7]

รุ่นย่อย[แก้]

  • 111เอส (111S) : เป็นรุ่นปรับแต่งเพิ่มกำลังเป็น 143 แรงม้า (107 kW; 145 PS)
  • 340อาร์ (340R) : เป็นรุ่นพิเศษที่ไม่มีหลังคาผ้าใบครอบและประตูข้าง มีเพียง 340 คันเท่านั้นที่ผลิตออกมา รุ่นนี้แตกต่างจากหลายๆคัน เนื่องจากมีการออกแบบให้ล้อยื่นออกมาอย่างโดดเด่น
โลตัส 340อาร์

ขนาด[แก้]

ช่วงฐานล้อ ยาว กว้าง สูง น้ำหนักเปล่า
2,300 mm (90.6 นิ้ว) 3,726 mm (146.7 นิ้ว) 1,719 mm (67.7 นิ้ว) 1,202 mm (47.3 นิ้ว) 725 kg (1,598.4 lb) ~ 755 kg (1,664 lb)[8]

โฉมที่ 2[แก้]

โลตัสอีลิส โฉมที่ 2
โลตัสอีลิส (US-Spec)

โฉมที่ 2 ของออีลิส เปิดตัวในวันที่ 9 ตุลาคม ค.ศ. 2000 มีการปรับแต่งหลายส่วนจากโฉมแรกทั้งไฟหน้าและโครงรถ แต่ยังคงใช้เครื่องยนต์ K-series ของโรเวอร์เช่นเดิม และนับเป็นรถคันแรกของโลตัสที่ออกแบบด้วยคอมพิวเตอร์

รุ่นย่อย[แก้]

  • โฉมย่อยปี ค.ศ. 2008 : เป็นรุ่นปรับแต่งพาร์ทและเครื่องยนต์ เพิ่มแรงม้า
2008 โลตัสอีลิส R in Western Australia, Australia.
โลตัสอีลิส California Edition near Tuscaloosa รุ่นหายาก, อลาบามา, สหรัฐอเมริกา.
  • โฉมย่อยปี ค.ศ. 2011 : เป็นรุ่นเสริมมีการเปลี่ยนไฟหน้าที่เป็นตาคู่ เป็นตาเดียวในทรงวงรีขอบมุมแหลม ใช้เครื่องยนต์ แบ่งเป็นมาตรฐานที่ 1.6 ลิตรจนถึง 1.8 ลิตร ที่ให้กำลัง 134 แรงม้า (136 PS; 100 kW)[9]

ขนาด[แก้]

ช่วงฐานล้อ ยาว กว้าง สูง น้ำหนักเปล่า
2,300 mm (90.6 in) 3,785 mm (149.0 นิ้ว) 1,719 mm (67.7 นิ้ว) 2002–07: 45.0 นิ้ว (1,143 mm)
2008–2011: 1,117 mm (44.0 นิ้ว)
860 kg (1,896 lb)
910 kg (2,006 lb)[10]

โฉมที่ 3[แก้]

โฉมที่ 3
ภาพรวม
เริ่มผลิตเมื่อพ.ศ. 2554 - 2564
ระบบส่งกำลัง
เครื่องยนต์1.6 L โตโยต้า 1ZR-FAE I4
1.8 L โตโยต้า 2ZZ-GE I4 (2011 US Models)
1.8 L โตโยต้า 2ZR-FE I4[11]
ระบบเกียร์เกียร์ธรรมดาของโตโยต้า อีซี60 6 จังหวะ[12]
เกียร์ธรรมดาของโตโยต้า อีซี64 6 จังหวะ (2011 US Models)
มิติ
ระยะฐานล้อ2,300 mm (90.6 in)
ความยาว3,824 mm (150.6 in)
ความกว้าง1,719 mm (67.7 in)
ความสูง1,117 mm (44.0 in)
น้ำหนัก866 kg (1,909 lb)
914 kg (2,015 lb)
โลตัส อีลิส โฉมที่ 3

โฉมที่ 3 ของอีลิส เปิดตัวในเดือน กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2010 มีการปรับแต่งหลายส่วนจากโฉมแรกทั้งไฟหน้าและโครงรถ แต่ใช้เครื่องยนต์ Z-series ของโยโยต้า และนับเป็นรถคันแรกของโลตัสที่ออกแบบด้วยคอมพิวเตอร์

คัพ 220[แก้]

โลตัสเปิดตัว อีลีส คัพ 220 (Lotus Elise Cup 220) มาพร้อมเครื่องยนต์นั้นนำของ Elise 220 Cup แบบเบนซิน 4 สูบ 1.8 ลิตร Supercharger Toyota 2ZR-FE 220 แรงม้า ส่งกำลังผ่านเกียร์ธรรมดา 6 จังหวะ Toyota EC60 manual with sport ratios ลงล้อคู่หลัง มีเฉพาะตลาดสหรัฐฯเท่านั้น

คัพ 250[แก้]

โลตัส อีลิส คัพ 250

โลตัสเปิดตัว อีลีส คัพ 250 (Lotus Elise Cup 250) มาพร้อมคำนิยามว่าเป็นรถตระกูลอีลีสที่แรงที่สุดเท่าที่เคยผลิตมา อีลีส คัพ250 จะมาแทนที่อีลีส คัพ 220 เพียบพร้อมแพ็คเกจแอโรไดนามิกรอบคัน ล้ออัลลอยฟอร์จน้ำหนักเบามีทั้งขนาด 16 นิ้วและ 17 นิ้ว รวมถึงการติดตั้งแบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออน และเบาะที่นั่งคาร์บอนไฟเบอร์ ลูกค้าทีต้องการลดน้ำหนักเพิ่มเติมก็สามารถสั่ง Carbon Aero Pack ที่จะเปลี่ยนกันชนหน้า สปอยเลอร์หลัง ดิฟฟิวเซอร์และสเกิร์ตด้านข้างให้เป็นวัสดุคาร์บอนไฟเบอร์ซึ่งจะลดน้ำหนักลงได้อีกเกือบ 10 กก. ทำให้น้ำหนักรวมทั้งหมดอยู่ที่เพียง 920 กก. เท่านั้น Read more at https://www.autospinn.com/2016/02/lotus-elise-cup-250-unveiled/#aACxoEUtb8Rzv2oV.99

คัพ 260[แก้]

โลตัส อีลิส คัพ 260

โลตัสเปิดตัว อีลีส คัพ 260 (Lotus Elise Cup 260) รุ่นฉลอง 70 ปี !!! Lotus Elise Cup 260 หายากยิ่งกว่าสิ่งใด ของจำนวนน้อยไม่ใช่ว่าของไม่ดี และที่สำคัญของดี มีจำนวนน้อยนั้นมีคุณค่าเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในวงการยานยนต์ เมื่อค่ายรถยนต์สัญชาติอังกฤษได้สร้างสรรค์ Lotus Elise Cup 260 สปอร์ตคาร์รุ่นพิเศษที่จะมีจำหน่ายบนโลกใบนี้เพียง 30 คันเท่านั้น

Elise Sprint[แก้]

โลตัส อีลิส Sprint 220

Lotus Elise Sprint สปอร์ตโรสเตอร์หุ่นเฟิร์ม เพิ่มรุ่นพิเศษลดน้ำหนักลงต่ำกว่าอีโค่คาร์ แม้จะมีอายุ 7 ปีแล้ว แต่ทรงยังสวยเป๊ะ ล่าสุดไปฟิตหุ่นให้เฟิร์มไปอีกด้วยการออกรุ่นพิเศษชื่อว่า Sprint ชูจุดเด่นน้ำหนักตัวที่เบาหวิว อันเป็นเอกลักษณ์ประจำแบรนด์โลตัส และเป็นคุณสมบัติที่รถโรสเตอร์ที่ดีควรมี โดยรุ่นนี้มีน้ำหนักเพียง 798 กก.ซึ่งเบากว่ารถอีโค่คาร์ด้วยซ้ำ โดยแนวคิดเกิดขึ้นเพื่อฉลองยอดขาย 33,000 คัน ของรุ่นนี้ ที่ขายมา 3 เจเนอร์เรชั่นตั้งแต่ปี 1996 โดยใช้หลักปรัชญาความเบาเข้าสู้กับคู่แข่งโรสเตอร์รายอื่นๆ การทำให้เบานี้เกิดจากการลดน้ำหนักทุกชิ้นส่วน เช่น แบตเตอร์รี่ลิเธียมไอออนที่ลดลง 9 กก. เบาะนั่งโครงสร้างคาร์บอนไฟเบอร์ลดลง 6 กก. ล้อแม็กแบบฟอร์จลดลง 5 กก. ชิ้นส่วนย่อยๆ อย่างกาบข้าง, โรลบาร์ และฝาครอบเครื่อง ทำจากคาร์บอนไฟเบอร์ รวมถึงกระจกหลังแบบโพลีคาร์บอนเนต ช่วยลดน้ำหนักได้อีก 6 กก. นอกจากนี้ยังมีดิสก์เบรกแบบแยกชิ้นช่วยลดน้ำหนักไปอีก 4 กก. แม้แต่ไฟท้ายก็ยังลดขนาดลงไปอีก เพื่อความเบาขึ้นในทุกกรัม ความเบาของ Lotus Elise Sprint รุ่นนี้ ส่งผลให้มีอัตราส่วนแรงม้า/น้ำหนักดีขึ้นมาก โดยรุ่นล่างสุดใช้เครื่องโตโยต้า 1ZR เบนซิน 1.6 ลิตร 134 แรงม้า มีอัตราส่วนเพียง 5.94 กก./แรงม้า หากยังไม่สะใจยังมีรุ่นแรงกว่านั่นใช้เครื่องโตโยต้า 2ZR เบนซิน 1.8 ลิตร 217 แรงม้า มีอัตราส่วนเพียง 3.67 กก./แรงม้า เท่านั้น ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่รถค่ายนี้ทำอัตราส่วนได้ดีเท่านี้ ซึ่งใกล้เคียงกับ Nissan GT-R รุ่นปกติเลยทีเดียว เปิดตัวพร้อมวางขายแล้วในอังกฤษ

ขนาด[แก้]

ช่วงฐานล้อ ยาว กว้าง สูง น้ำหนักเปล่า
2,300 mm (90.6 นิ้ว) 3,824 mm (150.6 นิ้ว) 1,719 mm (67.7 นิ้ว) 1,117 mm (44.0 นิ้ว) 866 kg (1,909 lb)
914 kg (2,015 lb)[10]

Elise Sport 240, Cup 250 Final Edition[แก้]

ทาง Lotus ได้ประกาศอย่างเป็นทางการออกมาว่าปีนี้จะมีการผลิตรถสปอร์ต 3 รุ่นของตนคือ Elise, Exige และ Evora เป็นปีสุดท้าย ทางผู้ผลิตรถสปอร์ตจากสหราชอาณาจักรจึงเตรียมบอกลา Elise และ Exige ด้วยรุ่นพิเศษในชื่อ Final Edition ก่อนที่จะเตรียมเปิดทางให้กับการผลิตรถสปอร์ตรุ่นใหม่ในช่วงปลายปีนี้

โดยในส่วนของ Elise Final Edition จะประกอบด้วย Elise Sport 240 Final Edition ที่มาพร้อมกับเครื่องยนต์ 4 สูบ 1.8 ลิตร ซูเปอร์ชาร์จ 240 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 244 นิวตัน-เมตร และมีอัตราเร่งจาก 0-96 กม./ชม. ด้วยเวลา 4.1 วินาที โดยนอกจากการปรับเปลี่ยนในส่วนที่มองเห็นทั้งภายนอกและภายในแล้ว ผู้ซื้อยังสามารถเลือกลดน้ำหนักของรถลงด้วยการใช้อุปกร์เสริมซึ่งเป็นแผงคาร์บอนไฟเบอร์ทั้งบริเวณคิ้วบันได ฝาครอบเครื่องยนต์ ใช้แบตเตอรีลิเธียมไอออน และใช้กระจกหลังเป็นโพลีคาร์บอเนต ซึ่งทั้งหมดนี้ส่งผลให้น้ำหนักของรถลดลงจาก 922 กิโลกรัมเหลือ 898 กิโลกรัม

ขณะที่อีกรุ่นของ Elise Final Edition คือ Elise Cup 250 Final Edition ซึ่งจะแตกต่างในจากรุ่นแรกในเรื่องแอโรไดนามิกโดยมาพร้อมกับชุดแอโรพาร์ตที่ดุดันขึ้น สามารถสร้างแรงกดได้ 66 กิโลกรัมที่ความเร็ว 160 กม./ชม. และสามารถสร้างแรงกดได้ถึง 155 กิโลกรัมที่ความเร็วสูงสุดของรถ 248 กม./ชม. นอกจากนี้ Elise Cup 250 Final Edition ยังใช้โช๊ก Bilstein Sport กันโคลงปรับได้ และล้อฟอร์จน้ำหนักเบาเป็นพิเศษ โดยหากเลือกเพิ่มออฟชั่นเสริมคาร์บอนไฟเบอร์เพื่อลดน้ำหนักของรถจะทำให้น้ำหนักของรถลดลงเหลือ 931 กิโลกรัม

อ้างอิง[แก้]

  1. Ben D'Cunha (1998-06-28). "Malaysian Lotus". New Straits Times. สืบค้นเมื่อ 2016-02-12.
  2. "Lotus Elise assembly at Proton terminated". autoworld.com.my. 2000-11-14. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-16. สืบค้นเมื่อ 2015-05-16.
  3. "Last 'Malaysian' Elise To Be Delivered This Month". autoworld.com.my. 2002-12-09. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-16. สืบค้นเมื่อ 2015-05-16.
  4. "Lotus Elise S1 1995 - 2001 Series 1 1.8". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-13. สืบค้นเมื่อ 2008-03-06.
  5. "Lotus Cars USA: 2008 Lotus Elise". Group Lotus PLC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-04. สืบค้นเมื่อ 2008-12-12.
  6. Walton, Jeremy (2003). Lotus Elise: The Official Story. Motorbooks Intl. pp. 7, 95. ISBN 1-902351-05-3.
  7. "My Other Design is a Lotus". สืบค้นเมื่อ 2008-08-14.
  8. "Lotus Elise Model Comparison, Handling, Power". Sands Mechanical Museum. สืบค้นเมื่อ 2009-03-03.
  9. "Lotus Elise Club Racer Revealed With Less Weight, New 1.6L Engine [Geneva Preview]". AutoGuide.com News. 18 February 2011. สืบค้นเมื่อ 4 October 2014.
  10. 10.0 10.1 "2008 Lotus Elise SC". Group Lotus PLC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-13. สืบค้นเมื่อ 2008-03-19. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "LotusCarsEliseSC" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  11. "Lotus Elise S - Vehicle Description". Group Lotus PLC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-17. สืบค้นเมื่อ 2008-03-19.
  12. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ GroupLotusEliseRDescription