แอฟริกัน ทริปาโนโซมิเอซิส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก โรคเหงาหลับ)
African trypanosomiasis
Trypanosoma forms in a blood smear
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10 B56
ICD-9 086.5
DiseasesDB29277  13400
MedlinePlus001362
eMedicinemed/2140
MeSHD014353

แอฟริกัน ทริปาโนโซมิเอซิส (ภาษาอังกฤษ African trypanosomiasis) หรือ โรคเหงาหลับ[1] เป็นโรคที่เกิดจากปรสิตในคนหรือสัตว์อื่น ๆ โรคนี้เกิดจากปรสิตชนิด ทริปาโนโซมา บรูเซีย[2] ซึ่งมีอยู่สองชนิดที่สามารถก่อให้เกิดการติดเชื้อในมนุษย์ ได้แก่ ทริปาโนโซมา บรูเซีย แกมเบียนส์ (T.b.g) และ ทริปาโนโซมา บรูเซีย โรดเซียนส์ (T.b.r.).[1] T.b.g เป็นสาเหตุของผู้ป่วยที่ได้รับรายงานกว่า 98%[1] โรคเหงาหลับทั้งสองชนิดมักถูกส่งผ่านโดยการกัดของแมลงวันเซตซีที่ติดเชื้อและมักจะแพร่หลายในพื้นที่ชนบท[1] 

ในขั้นต้น ในระยะแรกของโรค ผู้ป่วยมักมีอาการไข้ ปวดศีรษะ มีอาการคันและปวดตามข้อ[1] อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นในช่วงหนึ่งถึงสามสัปดาห์หลังถูกกัด[3] หลายสัปดาห์ถึงหลายเดือนต่อมา ระยะที่สองของโรคเริ่มขึ้นด้วยอาการสับสน มือไม้ทำงานไม่ประสานกัน อาการชา และปัญหาในการนอนหลับ[1][3] การวินิจฉัยทำได้โดยการหาพยาธิในสเมียร์เลือด หรือในของเหลวในต่อมน้ำเหลือง[3] มักมีความจำเป็นต้องใช้การเจาะน้ำไขสันหลังเพื่อบอกความแตกต่างระหว่างระยะแรกและระยะที่สองของโรค[3]

การป้องกันโรคที่รุนแรงทำได้โดยการตรวจคัดประชากรที่มีความเสี่ยงโดยการตรวจเลือดเพื่อหา T.b.g.[1] การรักษาสามารถทำได้ง่ายกว่าหากสามารถตรวจพบโรคอย่างรวดเร็วก่อนที่จะเกิดอาการทางระบบประสาท[1] การรักษาอาการระยะแรกทำได้โดยการใช้ยาเพนทามิดินหรือซูรามิน[1] ส่วนการรักษาอาการระยะที่สองทำได้โดยการใช้อีฟลอนิธินหรือส่วนผสมของไนเฟอไทมอกกับ อีฟลอนิธิน สำหรับ T.b.g.[3] แม้ว่าเมลาร์โซโพรลจะใช้ได้กับเชื้อทั้งสองชนิด ยานี้มักถูกใช้เฉพาะกับผู้ป่วยที่ติดเชื้อ T.b.r. เนื่องจากมีผลข้างเคียงที่รุนแรง [1]

โรคนี้เกิดขึ้นเป็นประจำในบางพื้นที่ของแอฟริกาใต้สะฮารา โดยมีประชากรที่มีความเสี่ยงประมาณ 70 ล้านคนใน 36 ประเทศ[4] ในปี 2553 โรคนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 9,000 ราย ซึ่งถือว่าลดน้อยลงจากจำนวน 34,000 รายในปี 2533[5] ปัจจุบันคาดว่ามีผู้ติดเชื้อประมาณ 30,000 ราย โดยเป็นผู้ติดเชื้อใหม่ 7,000 รายในปี 2555[1] กว่า 80% ของผู้ติดเชื้ออาศัยอยู่ใน สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก[1] เกิดการระบาดครั้งใหญ่ขึ้นสามครั้งในประวัติศาสตร์: ครั้งแรกในปี 2439 ถึงปี 2449 โดยเริ่มในประเทศยูกันดาและลุ่มแม่น้ำคองโก และอีกสองครั้งในปี 2463 และปี 2513 ในหลายประเทศในทวีปแอฟริกา[1] สัตว์อื่น ๆ เช่น โค สามารถเป็นพาหะของโรคและติดเชื้อได้[1]

References[แก้]

  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 1.13 WHO Media centre (June 2013). "Fact sheet N°259: Trypanosomiasis, Human African (sleeping sickness)". {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  2. MedlinePlus Encyclopedia Sleeping sickness
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 Kennedy, PG (Feb 2013). "Clinical features, diagnosis, and treatment of human African trypanosomiasis (sleeping sickness)". Lancet neurology. 12 (2): 186–94. PMID 23260189.
  4. Simarro PP, Cecchi G, Franco JR, Paone M, Diarra A, Ruiz-Postigo JA, Fèvre EM, Mattioli RC, Jannin JG (2012). "Estimating and Mapping the Population at Risk of Sleeping Sickness". PLoS Negl Trop Dis. 6 (10): e1859. doi:10.1371/journal.pntd.0001859.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  5. Lozano, R (Dec 15, 2012). "Global and regional mortality from 235 causes of death for 20 age groups in 1990 and 2010: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2010". Lancet. 380 (9859): 2095–128. doi:10.1016/S0140-6736(12)61728-0. PMID 23245604.