โรคเก็บสะสมของ
โรคเก็บสะสมของ (Compulsive hoarding disorder) | |
---|---|
อาการเก็บสะสมของในอพาร์ทเมนท์แห่งหนึ่ง | |
สาขาวิชา | จิตเวช |
โรคเก็บสะสมของ (อังกฤษ: compulsive hoarding; hoarding disorder)[1] เป็นรูปแบบทางพฤติกรรมที่มีการะเก็บสะสมของมากเกินปกติ และไม่สามารถหรือไม่ประสงค์จะทิ้งหรือทำลายข้าวของจำนวนมากที่กระจัดกระจายอยู่ตามพื้นห้อง การบังคับให้ต้องทิ้งสิ่งของอาจทำให้ผู้ป่วยเกิดความเครียด หรือ อาการซึมเศร้าได้[2]
อาการต่าง ๆ นั้นมักเกี่ยวข้องกับความผิดปกติทางจิต, ปัญหาทางเศรษฐกิจของบุคคลหรือความทรงจำฝังใจกับวัตถุที่มีมากเกินปกติ[3] ในบางกรณีที่มีความผิดปกติอย่างมีนัยสำคัญทางคลินิก ผู้ป่วยมักมีปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวันโดยเฉพาะการจำกัดพื้นที่ในที่อยู่อาศัย ทำให้ไม่สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ตามปกติ เพราะข้าวของที่ไม่คิดจะทิ้งนั้นกองระเกะระกะเต็มพื้นไปทั้ว ผลที่ตามมาคือความสกปรก, โอกาสที่อาจเกิดอัคคีภัย, การสะดุดล้มข้าวของ ซึ่งล้วนเป็นอันตรายในเชิงสุขภาพทั้งสิ้น[4] ผู้ป่วยมักรู้ดีว่าตนเองมีพฤติกรรมที่ผิดปกติ แต่ความรู้สึกที่ฝังกับวัตถุ (emotional attachment to the hoarded objects) มีมากเกินพอดี จนทำให้ยากที่จะทิ้งข้าวของหลายอย่าง
โรคนี้ยังถือเป็นโรคที่นักวิจัยพึ่งเริ่มศึกษากันได้ไม่นาน[5] และพึ่งถูกบัญญัติเป็นโรคความผิดปกติทางจิตในคู่มือ DSM ฉบับที่ 5 ในปี พ.ศ. 2554[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Epidemiology of hoarding disorder". Bjp.rcpsych.org. 2013-10-24. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-16. สืบค้นเมื่อ 2014-05-01.
- ↑ Frost R.; Hartl T. (1996). "A cognitive-behavioral model of compulsive hoarding". Behaviour Research and Therapy. 34 (4): 341–350. doi:10.1016/0005-7967(95)00071-2.
- ↑ Tolin D.F.; และคณะ (2008). "Family burden of compulsive hoarding: Results of an internet survey". Behaviour Research and Therapy. 46 (3): 334–344. doi:10.1016/j.brat.2007.12.008. PMC 3018822. PMID 18275935.
- ↑ Tolin D.F.; Frost R.O.; Steketee G. (2007). "An open trial of cognitive-behavioral therapy for compulsive hoarding". Behaviour Research and Therapy. 45 (7): 1461–1470. doi:10.1016/j.brat.2007.01.001. PMC 1950337. PMID 17306221.
- ↑ "Hoarding: Risk factors – MayoClinic.com". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-24.
- ↑ "Hoarding Disorder". American Psychiatric Association. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-11. สืบค้นเมื่อ 2013-10-16.