ข้ามไปเนื้อหา

โยฮัน วิลเลิม ฟรีโซ เจ้าชายแห่งออเรนจ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โยฮัน วิลเลิม ฟรีโซ
เจ้าชายแห่งออเรนจ์
พระรูปเหมือนราวปีค.ศ. 1710
โดยจิตรกร ลานสลอต โวลเดอร์
เจ้าชายแห่งออเรนจ์
ครองราชย์19 มีนาคม 1702 –
14 กรกฎาคม 1711
ก่อนหน้าวิลเลิมที่ 3
ถัดไปวิลเลิมที่ 4
เจ้าชายแห่งนัสเซา-ดีเอซ
ครองราชย์25 มีนาคม 1696 – ราวปี 1702
ก่อนหน้าเฮนรี คาสิมีร์ที่ 2
เจ้าชายแห่งออเรนจ์-นัสเซา
ครองราชย์ราวปี 1702 – 14 กรกฎาคม 1711
ถัดไปวิลเลิมที่ 4
สตัดเฮาเดอร์แห่งฟรีสลันด์และโกรนิงเงิน
ครองราชย์25 มีนาคม 1696 – 14 กรกฎาคม 1711
ก่อนหน้าเฮนรี คาสิมีร์ที่ 2
ถัดไปวิลเลิมที่ 4
ประสูติ14 สิงหาคม 1687
เดสเซา, อันฮัลท์
สิ้นพระชนม์14 กรกฎาคม ค.ศ. 1711(1711-07-14) (23 ปี)
ลุ่มแม่น้ำฮอลแลนด์ ระหว่างดอร์เดรชท์ และโมเดร์ก
ฝังพระศพ25 กุมภาพันธ์ 1712
โบสถ์จาโคบินแกร์ก เลวาร์เดิน
คู่อภิเษกมารี ลุยเซอแห่งเฮ็สเซิน-คัสเซิล
พระราชบุตรอะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งบาเดิน-เดอร์ลัค
วิลเลิมที่ 4 เจ้าชายแห่งออเรนจ์
ราชวงศ์ออเรนจ์-นัสเซา
พระราชบิดาเฮนรี คาสิมีร์ที่ 2 เจ้าชายแห่งนัสเซา-ดีเอซ
พระราชมารดาเจ้าหญิงเฮนรีเอ็ต อะมาเลียแห่งอันฮัลท์-เดสเซา

เจ้าชายโยฮัน วิลเลิม ฟรีโซ (ดัตช์: Johan Willem Friso; 14 สิงหาคม ค.ศ. 1687 - 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1711) ได้รับสถาปนาบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าชายแห่งออเรนจ์ในปีค.ศ. 1702 ดำรงตำแหน่งเป็นสตัดเฮาเดอร์แห่งมณฑลฟรีสลันด์และโกรนิงเงินในสาธารณรัฐดัตช์จนกระทั่งสิ้นพระชนม์โดยอุบัติเหตุจมน้ำในแถบลุ่มแม่น้ำฮอลแลนด์ (Hollands Diep) พระองค์ และพระชายามารีย์ หลุยส์แห่งเฮ็สเซิน-คัสเซิลทรงเป็นพระบรรพบุรุษของทุกราชสำนักยุโรปในปัจจุบัน

บรรดาศักดิ์

[แก้]

ภายหลังจากการสวรรคตของพระเจ้าวิลเลียมที่ 3 แห่งอังกฤษ ผู้ครองบรรดาศักดิ์เจ้าชายแห่งออเรนจ์ มีผลให้รัชทายาทชายที่สืบสายตรงจากวิลเลิมวิลเลิมผู้เงียบขรึม (จากราชวงศ์ออเรนจ์ สมัยที่ 2) สิ้นสุดลง ทำให้จอห์น วิลเลิม ฟริโซ เป็นผู้สืบสายตระกูลจากน้องชายของวิลเลิมผู้เงียบขรึม และยังเป็นผู้สืบสายตระกูลจากเฟรเดอริก เฮนรี (พระอัยกาในพระเจ้าวิลเลียมที่ 3 แห่งอังกฤษ) โดยด้วยคุณสมบัติเหล่านี้จึงทำให้เขาอ้างสิทธิ์ในตำแหน่งสตัดเฮาเดอร์ของทุกมณฑลที่เคยอยู่ใต้การปกครองของพระเจ้าวิลเลียมที่ 3 แห่งอังกฤษ แต่ก็ถูกปฏิเสธโดยกลุ่มรีพับลิกันในเนเธอร์แลนด์[1]

โดยมณฑลทั้ง 5 ที่พระเจ้าวิลเลียมที่ 3 เคยปกครองได้แก่ ฮอลแลนด์ เซลันด์ ยูเทรกต์ เกลเดอร์แลนด์ และโอเฟอไรส์เซิล ทั้งหมดได้ยุติบทบาทของสตัดเฮาเดอร์ลงภายหลังจากการสวรรคต ในขณะที่อีกสองมณฑลที่เหลือ ได้แก่ ฟรีสลันด์ และโกรนิงเงิน ที่ปกครองโดยสตัดเฮาเดอร์อีกคน ซึ่งคือ จอห์น วิลเลิม ฟริโซ โดยภายหลังจากที่เถลิงราชวงศ์ออเรนจ์สมัยที่ 3 แล้ว (ซึ่งต่อมาสิ้นสุดลงในปีค.ศ. 1890) บุตรชายของเขา วิลเลิมที่ 4 ได้กลายเป็นสตัดเฮาเดอร์ของมณฑลทั้งเจ็ด[2]

ฐานะของผู้สืบบรรดาศักดิ์ของจอห์น วิลเลิม ฟริโซ ต่อจากพระเจ้าวิลเลียมที่ 3 นั้นถูกต่อต้านโดยพระเจ้าฟรีดริชที่ 1 แห่งปรัสเซีย ผู้อ้างสิทธิ์ในบรรดาศักดิ์และยังอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนบางส่วนด้วย (เช่น ลิงเงิน) ในพระราชพินัยกรรมระบุว่าพระราชทานดินแดนราชรัฐออเรนจ์ให้แก่จอห์น วิลเลิม ฟริโซ แต่อย่างไรก็ตามพระเจ้าฟรีดริชที่ 1 แห่งปรัสเซีย ก็ยังทรงดึงดันในสิทธิเหนือดินแดนนี้ ซึ่งต่อมาได้ตกเป็นดินแดนของฝรั่งเศสในที่สุด[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. State, P. F. (2008). A Brief History of the Netherlands. New York: Facts On File.
  2. State, P. F. (2008). A Brief History of the Netherlands. New York: Facts On File.
  3. John William Friso. (2014). Encyclopædia Britannica
ก่อนหน้า โยฮัน วิลเลิม ฟรีโซ เจ้าชายแห่งออเรนจ์ ถัดไป
วิลเลิมที่ 3 เจ้าชายแห่งออเรนจ์
(1702–1711)
วิลเลิมที่ 4
เฮนรี คาสิมีร์ที่ 2 เจ้าชายแห่งนัสเซา-ดีเอซ
(1696–1702)
ยกเลิกบรรดาศักดิ์
(ผนวกเข้ากับราชรัฐออเรนจ์-นัสเซา)
ประเดิมบรรดาศักดิ์ เจ้าชายแห่งออเรนจ์-นัสเซา
(1702–1711)
วิลเลิมที่ 4
วิลเลิมที่ 3 บารอนแห่งเบรดา
(1702–1711)


เฮนรี คาสิมีร์ที่ 2 สตัดเฮาเดอร์
แห่งฟรีสลันด์และโกรนิงเงิน

(1696–1711)
วิลเลิมที่ 4